วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

KM : Buddy Project เพื่อสนิทที่ปรึกษา โดยนางสาวปิยวรรณ ศรีมณี


ชื่อองค์ความรู้....Buddy...Project.....เพื่อนสนิทที่ปรึกษา.
ชื่อเจ้าของความรู้.......นางสาวปิยวรรณ....ศรีมณี.

ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้ (อธิบายโดยละเอียด) (คะแนนเต็ม 20 คะแนน)
          กรมการพัฒนาชุมชน  ได้ดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่ปี 2549  โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช มีพระราชดำรัส ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกระดับ  ตั้งแต่บุคคล ครอบครัว ชุมชน ตำบล อำเภอ จนถึงระดับประเทศ  ให้ดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข  อันได้แก่ หลักพอประมาณ  หลักมีเหตุผล  หลักมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  เงื่อนไขความรู้  และเงื่อนไขคุณธรรม  กรมการพัฒนาชุมชนได้นำปรัชญาดังกล่าวมาใช้ ในการนำไปสู่การดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  โดยเริ่มจากระดับครอบครัว จนถึงระดับหมู่บ้าน
          ทั้งนี้  การดำเนินการโครงการของกรมการพัฒนาชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเชื่อศักยภาพของคน ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนชุมชน รู้ปัญหาของตน และวิธีการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดที่สุด  กรมการพัฒนาชุมชนส่งเสริมให้ชาวบ้านรู้จักเรียนรู้ พัฒนา แก้ไขปัญหา สามารถพึ่งตนเองได้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

KM : ขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยนายธนโชติ จันทร์ดวง


1.      ความรู้ ขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
2.      ชื่อเจ้าของความรู้  นายธนโชติ  จันทร์ดวง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
3.      องค์ความรู้ที่บ่งชี้ เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
4.     ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
          การขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เป็นบันได ๓ ขั้นสู่ความสำเร็จ
F การเข้าใจ คือ การสร้างให้เกิดความเข้าใจในข้อมูลพื้นฐาน ด้วยการศึกษาข้อมูลทุกมิติของชุมชน ค้นหารากของปัญหา และรวบรวมองค์ความรู้ของโครงการพระราชดำริทั่วประเทศ
Fการเข้าถึง เป็นเรื่องการสื่อสารและสร้างการมีส่วนร่วม โดยมุ่งสื่อสารสร้างความเข้าใจและความมั่นใจกับชุมชน ร่วมกันวิเคราะห์ ปัญหาและความต้องการของชุมชน และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวน การพัฒนามากที่สุด
Fการพัฒนา เป็นเรื่องของการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชน สร้างทีมพี่เลี้ยง การออกแบบหลักสูตรและเมนูการพัฒนา การศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติของชุมชน รวมทั้งการให้ทีมพี่เลี้ยงให้คำแนะนำในชุมชน และติดตามสนับสนุนประเมินผล
          จะเห็นได้ว่า บันไดทั้ง 3 ขั้น ที่มุ่งไปสู่การพัฒนาให้ชุมชนมีความเป็นเจ้าของและนำไปสู่ความยั่งยืนในที่สุด ไม่เพียงแต่ปัจจัยภายในหมู่บ้านเท่านั้น ที่จะทำให้การพัฒนาหมู่บ้านไปสู่ความสำเร็จ ปัจจัยภายนอกมีส่วนสำคัญไม่แพ้กันกับภายในหมู่บ้าน/ชุมชน

KM : ขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนด้วยพลัง อช. โดยนางขวัญสุดา โลหะเวช


1.ชื่อองค์ความรู้        ขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนด้วยพลัง อช.
2.ชื่อเจ้าของความรู้      นางขวัญสุดา โลหะเวช ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
          สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
3.องค์ความรู้ที่บ่งชี้       เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
4.ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกระบวนการจัดการพัฒนาประชาชน พัฒนาหมู่บ้าน หรือชุมชน ให้มีวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นสังคม“อยู่เย็น เป็นสุข” ด้วยการน้อมนำปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทาง ในการดำเนินงาน เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาในการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง เป็นการพัฒนาชนบท โดยนำแนวทางการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริมาใช้ เพื่อเป็นตัวแบบหรือแนวทางให้กับหน่วยงาน หมู่บ้าน หรือชุมชน ประชาชน นำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินงานในพื้นที่ ด้วยการประสานพลังระหว่างภาคี หรือพลัง ประชารัฐ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ ปราชญ์ชาวบ้าน องค์กรพัฒนาเอกชน เอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชน ในพื้นที่ ซึ่งเกิดจากแนวคิดการบูรณาการ ในด้านต่างๆ นำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ เพื่อช่วยเหลือตนเอง และพึ่งตนเองได้ ซึ่งในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับพื้นที่นั้น มีพัฒนากรทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดกลไก และกระบวนการพัฒนาให้เป็นรูปธรรม และเกิดผลสำเร็จอย่างยั่งยืนตามเป้าหมาย และตัวชี้วัดที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด ซึ่งสอดคล้องกับตัวชี้วัดของกระทรวงมหาดไทยที่มุ่งจะให้เกิดการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจ พอเพียงให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบ ที่มีศักยภาพใน 4 ด้าน 32 ตัวชี้วัด

KM : เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยนางสาวศรัณยา คำดี


1.ชื่อองค์ความรู้  เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
2.เจ้าของความรู้ นางสาวศรัณยา  คำดี
ตำแหน่ง/สังกัด   นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ  สังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองบัว
3.องค์ความรู้ที่บ่งชี้   หมวดที่ 2 เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
4.ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
          กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  และมีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคง เน้นการทำงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยใช้หลักการพัฒนาชุมชนซึ่งมีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน  เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างกลไกการจัดการปัญหา และสร้างกระบวนการพัฒนาชุมชนในหมู่บ้านด้วยหลัก”พึ่งตนเอง” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสุดท้ายของการบริหารจัดการชุมชน คือ เสริมสร้างพลังชุมชน เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาของชุมชน ประชาชนพึ่งตนเองได้

KM : การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยนางอัชมาภรณ์ วิริยะ


1. ชื่อองค์ความรู้          การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
2. ชื่อเจ้าของความรู้       นางสาวอัชมาภรณ์   วิริยะ  นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
                             สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
3. องค์ความรู้ที่บ่งชี้       เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
4. ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
          กรมการพัฒนาชุมชน ถือเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากกระบวนการพัฒนาชุมชนมีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสร้างกระบวนการ    พัฒนาชุมชนในหมู่บ้านด้วยหลักการพึ่งตนเองและหลักการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความเข้าใจให้เกิดความตระหนัก      ในการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต และแก้ไขปัญหา พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เกิดความเข้มแข็งสอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
          การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกระบวนการจัดการพัฒนาประชาชน พัฒนาหมู่บ้านหรือชุมชน ให้มีวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นสังคม “อยู่เย็น เป็นสุข” ด้วยการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาในการเสริมสร้างชุมชนให้แข็งแรง เพื่อเป็นแนวทางให้กับชุมชน ประชาชน นำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินงานในพื้นที่
5. ปัญหาที่พบและแนวทางการแก้ไขปัญหา

KM : กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยส.อ.อรุณ ช่วยอุระชน


1.      ความรู้  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
2.      ชื่อเจ้าของความรู้   ส.อ.อรุณ   ช่วยอุระชน  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
3.      องค์ความรู้ที่บ่งชี้ เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
4.     ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
          กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นวิธีการระดมเงินออมและทรัพยากรอื่นของแต่ละบุคคล เป็น “เงินทุนของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต” นำมาจัดสรรให้บริการกับสมาชิกในชุมชน เพื่อช่วยเหลือตนเองยามปกติ และช่วยเหลือซึ่งกันยามประสบปัญหา ด้วยความเอื่ออาทรโดยพฤติกรรมความมีวินัยในการออมและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างสมาชิก และเพื่อเป็นการพิทักษ์ปกป้องดูแลกันเองซึ่งจะลดโอกาสการถูกเอารัดเอาเปรียบจากภายนอกให้เหลือน้อยที่สุด เงินทุนของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมี 2 ประการ ดังนี้
1.      เงินทุนดำเนินการ
เป็นเงินทุนที่นำไปทำกิจกรรมของกลุ่ม เช่น การให้กู้ยืม การบริหารศูนย์สาธิตการตลาด ยุ้ง
ฉาง ธนาคารข้าว ฯลฯ เป็นต้น  เงินจำนวนนี้ได้มาจากเงินสะสมของสมาชิกเงินที่รับฝาก เงินอุดหนุนจากหน่วยงานต่างๆ หากสมาผู้ใดลาออกจะต้องคืนเงินสะสมแก่สมาขิกผู้นั้น  
2.      เงินทุนสำหรับใช้เป็นค่าใช้สอย
เป็นเงินทุนสำหรับใช้จ่ายในการบริหารงานของกลุ่ม เช่น ค่าสมุด ดินสอ ปากกา รวมถึง
ค่าใช้จ่ายในการติดต่อประสานงานต่างๆ เงินจำนวนนี้ได้มาจากค่าสมัคร ค่าธรรมเนียมแรกเข้า และเงินจากการจัดสรรผลกำไรบางส่วนที่ระบุให้นำมาใช้ในการบริหารจัดการ
                   กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กับ การขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เป็นบันได ๓ ขั้นสู่ความสำเร็จ

KM : เทคนิคการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ โดยนางสาวลัดดาวัลย์ ยอดผกา


1. ชื่อองค์ความรู้            เทคนิคการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
2. ชื่อเจ้าของความรู้         นางสาวลัดดาวัลย์ ยอดผกา
3. องค์ความรู้ที่บ่งชี้         หมวด 2  เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
4. ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
                    การดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เป็นการพัฒนาชุมชนด้วยการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมสำหรับปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง ระบบการคิดเพื่อเสริมสร้างวิถีชีวิตที่เหมาะสมเป็นชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ ในการคัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายและขั้นตอนการดำเนินงานจัดกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ บ้านหนองเต่าเหนือ หมู่ที่ ๓ ตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ระดับ “พออยู่ พอกิน” ปีงบประมาณ ๒๕61 จากการค้นหาปัญหา อุปสรรค (SWOT) พบจุดเด่น จุดด้อยของชุมชน ยังขาดการเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืน โดยเฉพาะมิติทางสังคม วิธีการแก้ไขปัญหา โดยการน้อมนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประสานบูรณาการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากทุกภาคส่วน โดยใช้หลัก “บวร” คือ บ้าน วัด โรงเรียน ร่วมกันทำงานแบบบูรณาการ เป็นแนวคิดที่มุ่งพยายามที่จะนำเอา องค์กร และสถาบันหลักในชุมชนท้องถิ่นมาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนา และสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการพัฒนา ติดสินใจ แก้ปัญหาตนเอง และชุมชน กำหนดแผนชุมชนด้วยการร่วมกัน คิด สร้างและบริหารจัดการชุมชนของตนเอ          

KM : เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยนางสาวศศิลักษณ์ คล้ายวิมุติ


1. ชื่อองค์ความรู้   เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
2. เจ้าของความรู้ ชื่อ  นางสาวศศิลักษณ์   คล้ายวิมุติ
   ตำแหน่ง       นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ 
   สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์  โทร. 0810373785
3. องค์ความรู้ที่บ่งชี้ หมวดที่ 2 เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
             กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินงานโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ตั้งแต่ปี 2552 -2562 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต และเป็นเป้าหมายของการพัฒนาหมู่บ้าน โดยจัดกระบวนการเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้าน ได้ใช้ความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ ตลอดจนนำแนวทางการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่มีความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์การดำเนินกิจกรรมต่างๆ พร้อมทั้งสนับสนุนให้หมู่บ้านสามารถเป็นต้นแบบในการส่งเสริมความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงสู่หมู่บ้านอื่นๆ
4. ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
              จากการปฏิบัติงานในเรื่องของการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เกิดการเรียนรู้การดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว นอกจากนั้นโครงการนี้ยังเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้หมู่บ้านเกิดการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ส่วนสำคัญที่ได้กับโครงการนี้ คือเกิดทีมนักพัฒนาขึ้น ในหมู่บ้าน  ผู้นำชุมชน  ซึ่งแกนนำหลักได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. ผู้นำอช. ผู้นำสตรี ประธานกลุ่ม/องค์กรหัวหน้าคุ้มบ้าน กรรมการหมู่บ้าน ปราชญ์  เป็นต้น บุคคลเหล่านี้จะเป็นแกนนำหลักในการพัฒนาหมู่บ้าน  การบริหารจัดการชุมชนที่ดีขึ้นภายใต้หลักการของการมีส่วนร่วมของชุมชนนั่นเอง ซึ่งให้ผู้นำแต่ละคนได้แสดงบทบาท และพัฒนาศักยภาพของตนเอง เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน 

KM : เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยนางสาวกมลนุช ดำประเสริฐ


1. ชื่อองค์ความรู้   เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
2. เจ้าของความรู้ ชื่อ นางสาวกมนนุช ดำประเสริฐ ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
    สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์  โทร. 086-9299560
3. องค์ความรู้ที่บ่งชี้ หมวดที่ 2 เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
                    เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนใน ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งจะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิต
                      กรมการพัฒนาชุมชน  ได้สนับสนุนงบประมาณพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ซึ่งได้พัฒนามุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาที่ ยั่งยืน การชับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่เป้าหมายตามหลักการพัฒนาชุมชนบนพื้นฐานของแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันจะนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของครัวเรือนเป้าหมาย และเพื่อสร้างชุมชนที่เข้มแข็งสามารถ  ใช้หมู่บ้านเป้าหมายเป็นต้นแบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้  ด้วยการสร้างและต่อยอดกิจกรรมของเป้าหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเป้าหมายให้มีองค์ประกอบการ พัฒนาครอบคลุมด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านจิตใจและสังคม

KM : เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยนางสาวรัชดาวรรณ หิรัญยวง


1.ชื่อองค์ความรู้   เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
2.ชื่อเจ้าของความรู้     นางสาวรัชดาวรรณ  หิรัญยวง  ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนชำนาญงาน
3.องค์ความรู้ที่บ่งชี้   หมวดที่ 2  เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
4.ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
            จากนโยบายของกรมการพัฒนาชุมชน พุ่งตรงลงมาให้พื้นที่ข้างล่างดำเนินการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เพื่อให้หมู่บ้านได้ดำเนินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในหลวงรัชกาล
ที่ 9 โดยมุ่งหวังให้ชาวบ้านอยู่ดีกินดี รู้จักการลดรายจ่าย และสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวตัวเอง เป็นภูมิคุ้มกันแบบยั่งยืนเรา ใน ฐานะพัฒนากรประจำ ตำบล ซึ่งชาวบ้านให้เกียรติและตำแหน่งใหม่ว่า “ซุปเปอร์วู๊แมน” เพราะ
ทำได้ทุกอย่าง ก็มีหน้าที่น้อมนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในหลวงรัชกาล  ที่ 9 มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของหมู่บ้านนั้น การปรับแนวคิดของชาวบ้านไม่ใช่เรื่องหมูๆ อย่างที่คิด เพราะเรามาหาแนวร่วม เป็นครัวเรือนต้นแบบ เราได้รับการปฏิเสธอย่างนุ่มนวลพร้อมรอยยิ้มว่า ไม่ค่อยมีเวลามาร่วมการอบรมค่ะ/ครับ เนื่องจากทุกคนเกิดความกลัว เกิดความคิดว่าชีวิต ส่วนตัวต้องเปลี่ยนแปลงไปเพราะความเข้าใจที่ผิด คิดว่าต้องลดรายจ่ายทุกอย่างและการดำเนินชีวิตประจำวันจะไม่เหมือนเดิม เราในฐานะผู้น้อมนำแนวคิดของพระองค์ฯท่าน ต้องมีการปรับแนวคิดและอธิบาย ถึงหลักการ และวิธีการต่าง ๆ ของโครงการ การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจ-พอเพียงต้นแบบ เป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาของพลังชุมชนผู้นำชุมชน องค์กรต่าง ๆ ภายในหมู่บ้าน พร้อมด้วยพลังของภาคีการพัฒนา พลังของครอบครัวพัฒนาและพลังของประชาชนในหมู่บ้าน

KM : เศรษฐกิจพอเพียงที่บ้านหนองกระทิง โดยนางหทัยรัตน์ ทิวงค์ษา


1. ชื่อองค์ความรู้      เศรษฐกิจพอเพียงที่บ้านหนองกระทิง
2. ชื่อเจ้าของความรู้  นางหทัยรัตน์ ทิวงค์ษา ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
3.  องค์ความรู้ที่บ่งชี้   หมวดที่ 2 เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
4.  ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
     บ้านหนองกระทิง  หมู่ที่  7  ตำบลวังม้า   อำเภอลาดยาว   จังหวัดนครสวรรค์   มีจำนวนครัวเรือน  103  ครัวเรือน  และ ประชากร  419 คน  บ้านหนองกระทิง  เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับ  6x2  ปี 2562  ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพ  เกษตรกรรม  มีการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง   มีการปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือน  การรณรงค์การลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้   การลด ละ เลิกอบายมุข  มีการเอื้ออาทรกันสูงในหมู่บ้าน   และอยู่กันอย่างพี่อย่างน้อง  มีกลุ่มอาชีพ  เช่น   กลุ่มทำปลาส้ม 
          ผู้นำชุมชน  ผู้นำสตรี  เป็นตัวขับเคลื่อนพัฒนาหมู่บ้าน  และประชาชนได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต  มีการจัดประชุมประชาคมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหมู่บ้านอื่น  มีการพัฒนาคน  พัฒนาแผนชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของหมู่บ้าน  ให้สมาชิกในหมู่บ้านพึ่งตนเองมากที่สุด

KM : การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงให้ประสบผลสำเร็จ โดยนายนิธิศ แสงทอง


1. ชื่อองค์ความรู้        การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงให้ประสบผลสำเร็จ
2. เจ้าของความรู้ ชื่อ  นายนิธิศ   แสงทอง  ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
   สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์  โทร. 091-3277401
3. องค์ความรู้ที่บ่งชี้ หมวดที่ 2 เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
                    เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนใน ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร  ตามหลักการพัฒนา 3 ห่วง 2 เงิอนไข    ที่จะมีผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งจะต้องอาศัย ความรับผิดชอบ ความเอาใจใส่ ความมุ่งมั่นในการดำเนินชีวิตอย่างจริงจัง
                      กรมการพัฒนาชุมชน  ได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ซึ่งได้พัฒนามุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมีภาคีการพัฒนาจากทุกภาคส่วน การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่เป้าหมายตามหลักการพัฒนาชุมชนบนพื้นฐานของแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อันจะนำไปสู่

KM : เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงให้ประสบผลสำเร็จ โดยนางสาวปิยะวัลย์ ใจสูงเนิน


1. ชื่อองค์ความรู้ เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงให้ประสบผลสำเร็จ
2. ชื่อเจ้าของความรู้ นางสาวปิยะวัลย์ ใจสูงเนิน นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ สังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่วงก์
3. องค์ความรู้ที่บ่งชี้ (เลือกได้จำนวน 1 หมวด)
          หมวดที่ 2 เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
4. ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้ (อธิบายโดยละเอียด) (คะแนนเต็ม 20 คะแนน)
         จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 9 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันประเทศไทยมุ่งเน้นให้พัฒนาโดยยึดหลักการพัฒนาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดและปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชายไทยโดยตลอด ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อให้สังคมไทยสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้โลกาภิวัฒน์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆของสังคม
         กรมการพัฒนาชุมชน ได้นำหลักคิดในการบูรณาการทำงานและตอบสนองนโยบายในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของรัฐบาล โดยเชื่อมโยงการทำงานของกรมการพัฒนาชุมชน เข้ากับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใน 2 ระดับ คือ ระดับพื้นฐานและระดับก้าวหน้า  การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกระบวนการจัดการพัฒนาประชาชน พัฒนาหมู่บ้านและชุมชน ให้มีวิถีชีเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นสังคม “อยู่เย็น เป็นสุข” ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน โดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาในการเสริมสร้างชุมชน ให้เข้มแข็ง ด้วยการประสานพลังระหว่างภาคี หรือพลังประชารัฐ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ ปราชญ์ ชาวบ้าน องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษาและประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเกิดจากแนวคิดการบูรณาการในด้านต่างๆ นำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ เพื่อช่วยเหลือตนเองและพึ่งตนเองได้

KM : การขับเคลื่อนกิจกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยนางสาวพัชชา เชิญขวัญ


1.ชื่อองค์ความรู้  การขับเคลื่อนกิจกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความเข้มแข็ง
                      ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.ชื่อเจ้าขององค์ความรู้   นางสาวพัชชา  เชิญขวัญ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
   สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่วงก์
3.องค์ความรู้ที่บ่งชี้ (เลือกได้จำนวน 1 หมวด)
          £ หมวดที่ 1 เทคนิคการสร้างและพัฒนาผู้นำในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน
          R หมวดที่ 2 เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
          £ หมวดที่ 3 เทคนิคการแก้ไขปัญหาความยากจน
          £ หมวดที่ 4 เทคนิคการเพิ่มศักยภาพผู้ผลิตผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
สู่การพัฒนายกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์
          £ หมวดที่ 5 เทคนิคการส่งเสริมช่องทางการตลาดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
          £ หมวดที่ 6 เทคนิคการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
          £ หมวดที่ 7 เทคนิคการส่งเสริมกองทุนชุมชนให้เกิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล
          £ หมวดที่ 8 เทคนิคการเสริมสร้างองค์กรให้มีสมรรถนะสูง (เป็นบุคลากรทันสมัย พัฒนาองค์กร)
4.ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
          กรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในการส่งเสริมการดำเนินชีวิต ทั้งในระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับหมู่บ้าน ทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ และสนับสนุนหมู่บ้านที่มีความพร้อมพัฒนาเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒  โดยมีหลักการให้หมู่บ้านและชุมชนสามารถบริหารจัดการตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นหมู่บ้านอยู่เย็น เป็นสุขตามยุทธศาสตร์ของกรมการพัฒนาชุมชน เมื่อดำเนินการแล้ว เป็นหมู่บ้านและชุมชน ๓ ไม่ ๒ มี (ไม่มียาเสพติด ไม่มีคนยากจน ไม่มีหนี้นอกระบบ มีสวัสดิการชุมชน และ มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้ด้วยเกณฑ์ประเมิน ๖ ด้าน ๑๒ ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ของกระทรวงมหาดไทย 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด ดัชนี ชี้วัดความ อยู่เย็น เป็นสุขหรือ ความสุขมวลรวมของหมู่ บ้าน/ชุมชน (Gross Village Happiness : GVH )

KM : เทคนิคการส่งเสริมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยว่าที่ร้อยตรีวินัย ดอกจอก


1.        ความรู้……… เทคนิคการส่งเสริมเสริมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง                       
ชื่อเจ้าของความรู้... ว่าที่ร้อยตรี วินัย  ดอกจอก ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนชำนาญงาน
เบอร์โทรศัพท์ 081-9535753   สังกัดสานักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่วงก์
2.       องค์ความรู้ที่บ่งชี้
         หมวดที่ 1 เทคนิคการสร้างและพัฒนาแกนนำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
4          ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้

          การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการส่งเสริมอาชีพของประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายด้วยกระบวนการให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านเพื่อให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้สามารถนาไปปฏิบัติประกอบเป็นอาชีพสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่ยั่งยืนต่อไปเพื่อเป็นการส่งเสริมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ให้ประสบผลสำเร็จตรงตามเป้าหมาย โดยไม่เบียดเบียน ตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายได้มากกว่ารายจ่ายตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง โดยเริ่มจากการแกนนำหมู่บ้าน ซึ่งพิจารณาจากจากผลงาน
การทำงานและประสบการณ์ในการประกอบอาชีพที่ประสบความสำเร็จสามารถเป็น
ต้นแบบในการประกอบอาชีพ เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มทักษะด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้แล้วจะเป็นผู้สร้างทีมวิทยากรแกนระดับหมู่บ้าน  และจัดการฝึกอบรมอาชีพให้กับผู้ที่สนใจอีกอย่างน้อย 3๐ คนต่อหมู่บ้าน