วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

KM : การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยนางอัชมาภรณ์ วิริยะ


1. ชื่อองค์ความรู้          การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
2. ชื่อเจ้าของความรู้       นางสาวอัชมาภรณ์   วิริยะ  นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
                             สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
3. องค์ความรู้ที่บ่งชี้       เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
4. ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
          กรมการพัฒนาชุมชน ถือเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากกระบวนการพัฒนาชุมชนมีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสร้างกระบวนการ    พัฒนาชุมชนในหมู่บ้านด้วยหลักการพึ่งตนเองและหลักการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความเข้าใจให้เกิดความตระหนัก      ในการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต และแก้ไขปัญหา พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เกิดความเข้มแข็งสอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
          การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกระบวนการจัดการพัฒนาประชาชน พัฒนาหมู่บ้านหรือชุมชน ให้มีวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นสังคม “อยู่เย็น เป็นสุข” ด้วยการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาในการเสริมสร้างชุมชนให้แข็งแรง เพื่อเป็นแนวทางให้กับชุมชน ประชาชน นำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินงานในพื้นที่
5. ปัญหาที่พบและแนวทางการแก้ไขปัญหา

          ปัญหาที่พบ
§  คนในชุมชน ยังมีความเข้าใจแบบผิดๆว่าการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะ   ทำให้ชีวิตมีแต่ความจน
§  คนในชุมชน เมื่อได้รับการพัฒนาเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
§  กิจกรรมที่เป็นการอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ คนในชุมชนไม่เห็นความสำคัญ รู้สึกเบื่อหน่าย
แนวทางการแก้ไขปัญหา
§  สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้คนในชุมชนได้เรียนรู้ถึงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   ไปปฏิบัติ โดยการศึกษาดูงานในครัวเรือนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จให้ครัวเรือนได้ถ่ายทอดจากประสบการณ์ตรงทำให้เกิดแรงบันดาลใจใหม่ๆ ให้กับคนในชุมชนครัวเรือนเป้าหมาย
§  สร้างแกนนำ หรือต้นแบบของหมู่บ้านให้เป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิตด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
§  ในการอบรมสร้างความรู้ ควรมีกิจกรรมที่หลากหลาย มากกว่าการนั่งฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว
  
6. ประโยชน์ขององค์ความรู้
§  เป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
§  เป็นการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติใช้
7. เทคนิคในการปฏิบัติงาน
§  คัดเลือกผู้นำที่มีความเข้มแข็ง มีความเสียสละ และเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน
§  ประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้แก่คนในชุมชนได้ตระหนักและรับรู้ถึงหลักการดำเนินงานของ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เห็นถึงคำสอนที่เน้นการพึ่งพาตนเองก่อนที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
§  ศึกษาดูงานนอกสถานที่ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากครัวเรือนต้นแบบที่มีการนำไปปฏิบัติจริง
§  ทำการประเมิน 4 ด้าน 32 ตัวชี้วัด และประเมินความอยู่เย็น เป็นสุข แล้วนำข้อมูลมาจัดทำแผนชีวิตและแผนชุมชน มาเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาให้ดีขึ้น โดยมุ่งเน้น   การพึ่งพาตนเอง
§  สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดกิจกรรมหรืออาชีพที่หมู่บ้านสามารถดำเนินการเองได้
         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น