วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

KM : เทคนิคการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ โดยนางสาวลัดดาวัลย์ ยอดผกา


1. ชื่อองค์ความรู้            เทคนิคการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
2. ชื่อเจ้าของความรู้         นางสาวลัดดาวัลย์ ยอดผกา
3. องค์ความรู้ที่บ่งชี้         หมวด 2  เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
4. ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
                    การดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เป็นการพัฒนาชุมชนด้วยการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมสำหรับปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง ระบบการคิดเพื่อเสริมสร้างวิถีชีวิตที่เหมาะสมเป็นชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ ในการคัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายและขั้นตอนการดำเนินงานจัดกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ บ้านหนองเต่าเหนือ หมู่ที่ ๓ ตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ระดับ “พออยู่ พอกิน” ปีงบประมาณ ๒๕61 จากการค้นหาปัญหา อุปสรรค (SWOT) พบจุดเด่น จุดด้อยของชุมชน ยังขาดการเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืน โดยเฉพาะมิติทางสังคม วิธีการแก้ไขปัญหา โดยการน้อมนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประสานบูรณาการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากทุกภาคส่วน โดยใช้หลัก “บวร” คือ บ้าน วัด โรงเรียน ร่วมกันทำงานแบบบูรณาการ เป็นแนวคิดที่มุ่งพยายามที่จะนำเอา องค์กร และสถาบันหลักในชุมชนท้องถิ่นมาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนา และสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการพัฒนา ติดสินใจ แก้ปัญหาตนเอง และชุมชน กำหนดแผนชุมชนด้วยการร่วมกัน คิด สร้างและบริหารจัดการชุมชนของตนเอ          

5. ปัญหาที่พบและแนวทางการแก้ไขปัญหา
                   ๑. งบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานไม่เพียงพอโดยเฉพาะกิจกรรมด้านการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สนับสนุนศูนย์เรียนรู้ชุมชน
๒. การสร้างทัศนคติในการพึ่งพาตนเองและบริหารจัดการชีวิต ครอบครัว ชุมชน ภายในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยังมีคนที่ยังไม่เข้าใจ มักจะให้หน่วยงานราชการต้องช่วยสนับสนับสนุนอยู่ตลอดเวลา
๓. การปรับเปลี่ยนค่านิยม โดยเฉพาะการจัดงานต้องเลี้ยงเหล้า ต้องค่อยเป็นค่อยไป หากผู้นำชุมชนไม่เริ่มทำเป็นแบบอย่าง ค่านิยมก็จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้

6. ประโยชน์ขององค์ความรู้
          ๑. แสวงหางบประมาณจากภายนอกหมู่บ้าน และภายในหมู่บ้านเพื่อการต่อเนื่องของกิจกรรมโครงการในการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง
๒. คนในชุมชนร่วมคิด ร่วมรู้ ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์กับหน่วยงานทุกภาคส่วนที่ทำงานในพื้นที่หมู่บ้าน ตำบลอย่างบูรณาการ
๓. ส่งเสริมและยกระดับแหล่งเรียนรู้ จุดเรียนรู้ให้เป็นศูนย์เรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม
๔. ขยายผลครัวเรือนต้นแบบให้ครอบคลุมทั่วทุกครัวเรือนในระดับหมู่บ้าน
  
7. เทคนิคในการปฏิบัติงาน
๑. การคัดเลือกหมู่บ้านต้องเป็นความสมัครใจของชาวบ้านและผู้นำในหมู่บ้าน
๒. ควรยึดผลประโยชน์ของประชาชนและส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
๓. การกำหนดกิจกรรมอย่าให้มากเกินไป และควรมีงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นความต้องการของชุมชน
๔. อย่าเอาหลักเกณฑ์หรือความคาดหวังจากการดำเนินโครงการให้มากนัก
๕. การดำเนินการต้องทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
๖. ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน และให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง มีการติดตามผลการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น