วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

KM : ขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยนายธนโชติ จันทร์ดวง


1.      ความรู้ ขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
2.      ชื่อเจ้าของความรู้  นายธนโชติ  จันทร์ดวง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
3.      องค์ความรู้ที่บ่งชี้ เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
4.     ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
          การขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เป็นบันได ๓ ขั้นสู่ความสำเร็จ
F การเข้าใจ คือ การสร้างให้เกิดความเข้าใจในข้อมูลพื้นฐาน ด้วยการศึกษาข้อมูลทุกมิติของชุมชน ค้นหารากของปัญหา และรวบรวมองค์ความรู้ของโครงการพระราชดำริทั่วประเทศ
Fการเข้าถึง เป็นเรื่องการสื่อสารและสร้างการมีส่วนร่วม โดยมุ่งสื่อสารสร้างความเข้าใจและความมั่นใจกับชุมชน ร่วมกันวิเคราะห์ ปัญหาและความต้องการของชุมชน และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวน การพัฒนามากที่สุด
Fการพัฒนา เป็นเรื่องของการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชน สร้างทีมพี่เลี้ยง การออกแบบหลักสูตรและเมนูการพัฒนา การศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติของชุมชน รวมทั้งการให้ทีมพี่เลี้ยงให้คำแนะนำในชุมชน และติดตามสนับสนุนประเมินผล
          จะเห็นได้ว่า บันไดทั้ง 3 ขั้น ที่มุ่งไปสู่การพัฒนาให้ชุมชนมีความเป็นเจ้าของและนำไปสู่ความยั่งยืนในที่สุด ไม่เพียงแต่ปัจจัยภายในหมู่บ้านเท่านั้น ที่จะทำให้การพัฒนาหมู่บ้านไปสู่ความสำเร็จ ปัจจัยภายนอกมีส่วนสำคัญไม่แพ้กันกับภายในหมู่บ้าน/ชุมชน

5.      ปัญหาที่พบและแนวทางการแก้ไข

ปัญหา
1.    ราษฎรและครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียงขาดความเชื่อมั่นว่าการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะสามารถแก้ไขทุกข์ที่มีอยู่ในครัวเรือนและชุมชนได้

2.    ผู้นำชุมชน แกนนำ ตลอดจนเจ้าหน้าที่และผู้มีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาหมู่บ้าน ขาดความเข้าใจ จึงไม่สามารถเข้าถึง ที่จะนำไปสู่การพัฒนาหมู่บ้านฯ ได้
แนวทางแก้ไข

-   สร้างขวัญและกำลังใจให้ครัวเรือนที่ดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจริงๆ ด้วยการชมเชย ประกาศเกียรติคุณ เป็นต้น ถึงแม้จะยังไม่สำเร็จก็ตามแต่ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น (แต่ที่ผ่านมามักหยิบเอาครัวเรือนที่ประสบความสำเร็จด้วยปัจจัยอื่นขึ้นมายกย่อง จึงไม่สามารถเป็นต้นแบบของครัวเรือนในชุมชนได้)
-   สร้างผู้นำชุมชน แกนนำ ตลอดจนเจ้าหน้าที่และผู้มีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาหมู่บ้าน ให้สามารเป็นต้นแบบ หรือเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิต ด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถเป็นที่เรียนรู้ได้ (ทำให้เขาดู ดีกว่าพูดกรอกหูให้เขาฟัง) จึงจาสามารถ “เข้าถึง”
-   เมื่อสามารถเข้าถึงแล้วจึงทำการพัฒนาไปด้วยกันได้ ทั้งที่บริบทของฐานะและอาชีพที่แตกต่างกัน
1.      ประโยชน์ขององค์ความรู้
1)      เป็นการสร้างความเข้าใจแก่ครัวเรือน/หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
2)      สามารถปรับทัศนคติของ ผู้นำชุมชน แกนนำ ตลอดจนเจ้าหน้าที่และผู้มีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาหมู่บ้าน ให้
2.     เทคนิคในการปฏิบัติงาน
ใช้หลักธรรมคุ้มครองโลก  2 ประการได้แก่  หิริ โอตัปปะ
1) หิริ (อ่านว่า หิ-ริ, หิ-หริ) แปลว่า ความละอายแก่ใจ ความละอายต่อบาป หิริ หมายถึงความละอายใจตัวเองต่อการทำความชั่วความผิด ต่อการประพฤติทุจริตทั้งหลายและความละอายใจตัวเองที่จะละเว้นไม่ทำความดีซึ่งควรจะทำให้เกิดมีในตน นั่นหมายถึงผู้ผู้เขียนเองและผู้ที่จะไปทำหน้าที่ในการพัฒนาหมู่บ้าน เกิดความละอายที่จะไม่ปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2) โอตตัปปะ (อ่านว่า โอดตับปะ) แปลว่า ความเกรงกลัว หมายถึงความสะดุ้งกลัวต่อผลของความชั่ว ต่อผลของความทุจริตที่ทำไว้ โอตตัปปะ เป็นอาการของจิตที่หวั่นไหวเมื่อจะทำความชั่ว เพราะกลัวความผิดที่จะตามให้ผลในภายหลัง เกิดขึ้นได้เพราะคิดถึงโทษหรือความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นจากการทำชั่ว จากการประพฤติทุจริตของตน เช่น ตัวเองเองต้องเดือดร้อน เกิดความเสียหาย เสียทรัพย์สินเงินทอง เสียอิสรภาพ หรือถูกคนอื่นตำหนิติเตียน ถูกสังคมรังเกียจ เป็นต้น โอตตัปปะ เป็นธรรมคุ้มครองโลกคู่กับหิริ เพราะคนที่มีโอตตัปปะย่อมกลัวที่จะทำความผิด ทำให้งดเว้นจากการประพฤติต่างๆ ได้ อันเป็นเหตุให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข เกิดสันติภาพขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น