วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

KM : Buddy Project เพื่อสนิทที่ปรึกษา โดยนางสาวปิยวรรณ ศรีมณี


ชื่อองค์ความรู้....Buddy...Project.....เพื่อนสนิทที่ปรึกษา.
ชื่อเจ้าของความรู้.......นางสาวปิยวรรณ....ศรีมณี.

ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้ (อธิบายโดยละเอียด) (คะแนนเต็ม 20 คะแนน)
          กรมการพัฒนาชุมชน  ได้ดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่ปี 2549  โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช มีพระราชดำรัส ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกระดับ  ตั้งแต่บุคคล ครอบครัว ชุมชน ตำบล อำเภอ จนถึงระดับประเทศ  ให้ดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข  อันได้แก่ หลักพอประมาณ  หลักมีเหตุผล  หลักมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  เงื่อนไขความรู้  และเงื่อนไขคุณธรรม  กรมการพัฒนาชุมชนได้นำปรัชญาดังกล่าวมาใช้ ในการนำไปสู่การดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  โดยเริ่มจากระดับครอบครัว จนถึงระดับหมู่บ้าน
          ทั้งนี้  การดำเนินการโครงการของกรมการพัฒนาชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเชื่อศักยภาพของคน ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนชุมชน รู้ปัญหาของตน และวิธีการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดที่สุด  กรมการพัฒนาชุมชนส่งเสริมให้ชาวบ้านรู้จักเรียนรู้ พัฒนา แก้ไขปัญหา สามารถพึ่งตนเองได้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

          ผู้เขียน ได้เล็งเห็นความสำคัญของหลักการด้านการพัฒนาคน เพื่อให้คนพัฒนาชุมชน และการดำเนินการโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  จึงพัฒนาองค์ความรู้ Buddy Project เพื่อนสนิทที่ปรึกษา ในการส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น.
          การนำองค์ความรู้ Buddy Project เพื่อนสนิทที่ปรึกษา มาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการดำเนินโครงการในระดับครอบครัวเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ  โดยตั้งเป็นครอบครัว A และ ครอบครัว B โดยการจับคู่ Buddy Project เพื่อนสนิทที่ปรึกษา ในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้คำปรึกษา ให้กำลังใจ เป็นแรงบันดาลใจ และสามารถช่วยเหลือกันได้ทันท่วงที  จนทำให้สามารถผลการประเมินความสุขมวลรวม (GVH) มีคะแนนที่เพิ่มสูงขึ้น  และเป็นแรงขับเคลื่อนการดำเนินงานในหมู่บ้านบ้าน จนกลายเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบตามเกณฑ์ตัวชี้วัด 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด ของกระทรวงมหาดไทย ตามแนวทาง “การพัฒนาต้องเริ่มจากครัวเรือน ไปสู่การพัฒนาหมู่บ้าน”
 ปัญหาที่พบและแนวทางการแก้ไขปัญหา (อธิบายโดยละเอียด) (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
          จากการดำเนินโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่ผ่านมา  พบว่า ครอบครัวเป้าหมาย เมื่อได้รับการฝึกอบรมตามงบประมาณที่กรมการพัฒนาชุมชนจัดสรรให้แล้วนั้น  มีการดำเนินโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงโดยขาดความต่อเนื่อง เนื่องจาก ขาดความรู้ ขาดทักษะ ไม่มีแรงจูงใจหรือแรงกระตุ้นในการพัฒนาตนเอง ไม่กล้าบอกปัญหาของตนเองให้หน่วยงานภาครัฐทราบ ด้วยสาเหตุดังกล่าว จึงจัดทำองค์ความรู้  Buddy Project เพื่อนสนิทที่ปรึกษา  ในการดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นแรงจูงใจ แรงบันดาลใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเพิ่มทักษะให้กันและกัน  เมื่อครอบครัวเป้าหมายสามารถพัฒนาตนเองในระดับครอบครัวได้แล้ว ก็จะส่งผลไปถึงการพัฒนาหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบต่อไป   
 ประโยชน์ขององค์ความรู้ (อธิบายโดยละเอียด) (คะแนนเต็ม 15 คะแนน)
          องค์ความรู้  Buddy Project เพื่อนสนิทที่ปรึกษา  มีประโยชน์ในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  4 ประการ  ดังนี้
          1. เพื่อให้ครอบครัวเป้าหมายที่เป็น Buddy เพื่อนสนิทที่ปรึกษา ครอบครัว A และ B สามารถเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นแรงบันดาลใจ เป็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนนำไปสู่ผลการประเมินความสุขมวลรวม (GVH) ที่เพิ่มขึ้น
          2. เพื่อปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนรักและสามัคคีกัน และนำไปสู่การพัฒนาหมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ตามเกณฑ์ 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด ของกระทรวงมหาดไทย
          3. เพื่อให้การดำเนินการโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และเข้มแข็ง จากพลังของคนในชุมชน
          4. คนในชุมชนมองเห็นปัญหาของตนเอง ครอบครัว ชุมชน อย่างแท้จริง และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง โดยการพึ่งพาอาศัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ใช้ความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจกัน
                                                                                                                   
 เทคนิคในการปฏิบัติงาน (อธิบายโดยละเอียด) (คะแนนเต็ม 25 คะแนน)
          เทคนิคการปฏิบัติงานพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้องค์ความรู้ Buddy Project เพื่อนสนิทที่ปรึกษา ดังนี้
          1. อบรมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นครอบครัวที่สนใจเข้าร่วมโครงการ
          2. ประเมินความสุขมวลรวม GVH รอบที่ 1 เพื่อหาความสุขเฉลี่ยของคนในชุมชน
          3. ดำเนินกิจกรรม “Buddy Project เพื่อนสนิทที่ปรึกษา” โดยจับคู่ครอบครัว A และครอบครัว B
          4. จัดทำแผนชีวิตของครอบครัว
          5. ครัวเรือนพัฒนาตนเองตามแผนพัฒนาชีวิต (โดยมี Buddy คอยดูแลกันและกัน)
          6. Buddy ชวนเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน จัดทำแผนพัฒนาชุมชน โดยรับรู้ปัญหาของชุมชน ร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขและร่วมกันพัฒนาชุมชน อิงตามเกณฑ์ 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด ของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีผู้นำชุมชนและพัฒนากรคอยดูแลการดำเนินการอย่างใกล้ชิด เช่น การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ การดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน เป็นต้น
          7. สรุปผลการดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นย้ำความสำคัญ และให้คนที่เข้าร่วมโครงการ ชักนำคนในชุมชนเข้าร่วมเป็น Buddy ระดับกลุ่ม (รวมกลุ่มหลายคน) และคอยดูแลกันและกันภายในกลุ่ม รวมถึงจัดทำกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อเป็นการพัฒนาชุมชนต่อไป
          8. ประเมินความสุขมวลรวม (GVH) รอบที่ 2


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น