วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

KM : การขับเคลื่อนกิจกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยนางสาวพัชชา เชิญขวัญ


1.ชื่อองค์ความรู้  การขับเคลื่อนกิจกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความเข้มแข็ง
                      ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.ชื่อเจ้าขององค์ความรู้   นางสาวพัชชา  เชิญขวัญ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
   สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่วงก์
3.องค์ความรู้ที่บ่งชี้ (เลือกได้จำนวน 1 หมวด)
          £ หมวดที่ 1 เทคนิคการสร้างและพัฒนาผู้นำในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน
          R หมวดที่ 2 เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
          £ หมวดที่ 3 เทคนิคการแก้ไขปัญหาความยากจน
          £ หมวดที่ 4 เทคนิคการเพิ่มศักยภาพผู้ผลิตผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
สู่การพัฒนายกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์
          £ หมวดที่ 5 เทคนิคการส่งเสริมช่องทางการตลาดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
          £ หมวดที่ 6 เทคนิคการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
          £ หมวดที่ 7 เทคนิคการส่งเสริมกองทุนชุมชนให้เกิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล
          £ หมวดที่ 8 เทคนิคการเสริมสร้างองค์กรให้มีสมรรถนะสูง (เป็นบุคลากรทันสมัย พัฒนาองค์กร)
4.ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
          กรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในการส่งเสริมการดำเนินชีวิต ทั้งในระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับหมู่บ้าน ทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ และสนับสนุนหมู่บ้านที่มีความพร้อมพัฒนาเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒  โดยมีหลักการให้หมู่บ้านและชุมชนสามารถบริหารจัดการตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นหมู่บ้านอยู่เย็น เป็นสุขตามยุทธศาสตร์ของกรมการพัฒนาชุมชน เมื่อดำเนินการแล้ว เป็นหมู่บ้านและชุมชน ๓ ไม่ ๒ มี (ไม่มียาเสพติด ไม่มีคนยากจน ไม่มีหนี้นอกระบบ มีสวัสดิการชุมชน และ มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้ด้วยเกณฑ์ประเมิน ๖ ด้าน ๑๒ ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ของกระทรวงมหาดไทย 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด ดัชนี ชี้วัดความ อยู่เย็น เป็นสุขหรือ ความสุขมวลรวมของหมู่ บ้าน/ชุมชน (Gross Village Happiness : GVH )

6 องค์ประกอบ 22 ตัวชี้วัด เป็นเครื่องมือในการพัฒนาขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
          เครื่องมือในการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
                   ๑) แผนชุมชนเป็นเครื่องมือของชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน และแก้ไขปัญหาชุมชน
                   ๒) เกณฑ์ประเมิน ๖ ด้าน ๑๒ ตัวชี้วัด
                   ๓) ตัวชี้วัดการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ของกระทรวงมหาดไทย 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด
                   ๔) ชี้วัดความ อยู่เย็น เป็นสุขหรือ ความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน (Gross Village Happiness : GVH )
          กลไกการขับเคลื่อน
          ใช้ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาชนบทตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) เป็นศูนย์กลางดำเนินงานโดยมีคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นองค์กรขับเคลื่อนในแต่ละระดับ ดังนี้
         

          ระดับจังหวัด : คณะกรรมการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานอำนวยการ หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ระดับจังหวัดเป็นคณะทำงาน และมีพัฒนาการจังหวัดเป็นคณะทำงานและเลขานุการ
          ระดับอำเภอ : คณะกรรมการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอ โดยมีนายอำเภอเป็นประธานอำนวยการ หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ระดับอำเภอเป็นคณะทำงาน และมีพัฒนาการอำเภอเป็นคณะทำงานและเลขานุการ
          ระดับตำบล : คณะกรรมการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตำบล และ ชุดปฏิบัติการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตำบล โดยมีปลัดอำเภอผู้ประสานงานตำบลเป็นหัวหน้าคณะทำงาน ข้าราชการของส่วนราชการ
ต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายระดับตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่ เป็นคณะทำงาน และมีพัฒนากรผู้ประสานงานตำบลเป็นคณะทำงานและเลขานุการ
          ระดับหมู่บ้าน : คณะกรรมการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงหมู่บ้าน และ แกนนำการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงหมู่บ้าน โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้าคณะทำงาน กรรมการหมู่บ้าน ผู้นำ อช. ส.อบต. สตรี
หัวหน้าคุ้ม ประธานกองทุนหมู่บ้าน และมี อช. เป็นคณะทำงานและเลขานุการ
          ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนสามารถบริหารจัดการตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นหมู่บ้าน อยู่เย็น เป็นสุข โดยในปี 2562 กรมการพัฒนาชุมชนมีแนวทางในการส่งเสริมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่ผ่านการเป็นหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชนต้องได้รับการขับเคลื่อนเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง มีแนวทางขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
          ขั้นตอนที่ ๑ ตรวจสอบข้อมูลการเป็นหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชนและการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่รับผิดชอบ และ
          ขั้นตอนที่ ๒ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่/ภาคีเครือข่ายเพื่อปรับทัศนคติและสร้างความรู้ ความเข้าใจการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงทุกระดับ สร้างวิทยากรกระบวนการ
          ขั้นตอนที่ ๓ ดำเนินการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้านเป้าหมายที่ผ่านการเป็นหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชนแล้วและยังไม่ได้รับการพัฒนาเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อคัดเลือกแกนนำชุมชมที่มีความพร้อม มีภาวะผู้นำ พร้อมเรียนรู้ และคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายหรือครัวเรือนต้นแบบพร้อมที่จะรับการฝึกอบรม เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง น้อมนำหลักหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          ขั้นตอนที่ ๔ ดำเนินการฝึกอบรมแก่แกนนำชุมชม ให้ความรู้แกครัวเรือนเป้าหมายหมายในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านและนำครัวเรือนเป้าหมายศึกษาดูงาน
ขั้นตอนที่ 5 นำครัวเรือนเป้าหมายศึกษาดูงาน ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ หรือหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบที่มีผลการดำเนินงานประสบความสำเร็จ
          ขั้นตอนที่ ๕ ประเมินความสุขมวลรวม (Gross Village Happiness : GVH )  ของหมู่บ้าน  และพัฒนาครัวเรือนต้นแบบด้วยตัวชี้วัด ๖ x 4 ตัวชี้วัด ๔ ด้าน 23 ตัวชี้วัด และสรุปผลเพื่อค้นหาแนวทางแก้ไข
          ขั้นตอนที่ ๖ ส่งเสริมอาชีพให้แก่ครัวเรือนเป้าหมาย โดยเป็นการสาธิตฝึกอาชีพ เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายนำไปต่อยอดเป็นอาชีพเสริมในครัวเรือน
 
5.ปัญหาที่พบและแนวทางแก้ไขปัญหา
          -หมู่บ้านที่ผ่านการเป็นหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชน บางหมู่บ้านยังไม่มีความพร้อมในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
          -ผู้นำ ครัวเรือนเป้าหมาย ไม่เข้าใจการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง กลัวการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
6.ประโยชน์ขององค์ความรู้
          1.เป็นแนวทางหรือกระบวนให้กับการดำเนินงานขับเคลื่อนขยายผลกิจกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
          2.หมู่บ้านได้รับการพัฒนา สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้
          3.ครัวเรือนเป้าหมายที่เป็นครัวเรือนพัฒนา มีแนวทางในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ได้อย่างจริงจัง
7.เทคนิคการปฏิบัติงาน
          1.สร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้นำหมู่บ้านเป้าหมาย ในการจำส่งเสริมหมู่บ้านนั้นๆ เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยการอธิบายขั้นตอนกระบวนการทำงานให้เข้าใจ เพื่อให้ผู้นำหมู่บ้านมั่นใจและสามารถคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมโครงการได้ โดยใช้การเข้าถึงผู้นำในทุกระดับ ทั้งผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. ผู้นำสตรี และเยาวชน
          2.การให้ความรู้การดำเนินชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงแบบเข้าใจง่าย โดยการยกตัวอย่างวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ดำรงอยู่เป็นประจำทุกวัน แล้วสอดแทรกแนวคิดทฤษฎีหลัก
          3.ให้ความสำคัญกับทั้งแกนนำหมู่บ้าน และครัวเรือนเป้าหมาย ในการตัดสินใจดำเนินกิจกรรม เช่น การศึกษาดูงาน (ให้เลือกสถานที่เอง โดยจะมีกรอบกำหนดให้) การส่งเสริมสนับสนุนอาชีพ ให้ครัวเรือนเป้าหมายเสนออาชีพทางเลือกที่ต้องการเอง และให้คำแนะนำการดำเนินกิจกรรม
         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น