วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

KM : เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยนางสาวกมลนุช ดำประเสริฐ


1. ชื่อองค์ความรู้   เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
2. เจ้าของความรู้ ชื่อ นางสาวกมนนุช ดำประเสริฐ ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
    สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์  โทร. 086-9299560
3. องค์ความรู้ที่บ่งชี้ หมวดที่ 2 เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
                    เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนใน ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งจะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิต
                      กรมการพัฒนาชุมชน  ได้สนับสนุนงบประมาณพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ซึ่งได้พัฒนามุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาที่ ยั่งยืน การชับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่เป้าหมายตามหลักการพัฒนาชุมชนบนพื้นฐานของแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันจะนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของครัวเรือนเป้าหมาย และเพื่อสร้างชุมชนที่เข้มแข็งสามารถ  ใช้หมู่บ้านเป้าหมายเป็นต้นแบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้  ด้วยการสร้างและต่อยอดกิจกรรมของเป้าหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเป้าหมายให้มีองค์ประกอบการ พัฒนาครอบคลุมด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านจิตใจและสังคม
  ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเรียนรู้ และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสามารถจัดการความรู้และพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ในกระบวนการบริหาร จัดการชุมชนและเป็นตัวอย่าง เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสามารถผ่านเกณฑ์ประเมินของกระทรวงมหาดไทย
4. ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
                   หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือก คัดสรร จากปัจจัยพื้นฐานของหมู่บ้านที่คาดว่าหมู่บ้านที่คัดเลือกมานั้นจะเป็นหมู่บ้านที่สามารถดำเนินการขับเคลื่อนโดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฎิบัติจนเป็นวิถีชีวิต โดยเน้นการปฎิบัติตนบนทางสายกลาง เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ และยั่งยืน จึงได้นำการขับเคลื่อนของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นต้นแบบในการจัดเก็บความรู้ ขั้นตอน เทคนิคการปฏิบัติงาน หรือภูมิปัญญาของคนในหมู่บ้าน มาจัดทำเป็นองค์ความรู้ไม่ให้สูญหาย และให้ง่ายต่อการปฏิบัติตามหรือเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจทั่วๆ ไป ในการปฏิบัติตามและพัฒนาเทคนิคต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานของคนที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ และหากนำไปใช้ในหมู่บ้านตนเองจะขับเคลื่อนสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว
5.ปัญหาที่พบและแนวทางการแก้ไขปัญหา
                   การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่าครัวเรือนเป้าหมายส่วนใหญ่ยังเข้าใจคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแค่เพียงการปลูกผักไว้กิน เหลือกินไว้ขาย ไม่ได้คิดถึงว่าเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักคิดและแนวทางการปฎิบัติตนในการดำเนินชีวิต โดยเน้นการปฎิบัติตนบนทางสายกลาง เพื่อให้สามารถพึงตนเองได้     อยู่อย่างมีความสุข  ในทุกๆที่ หากทุกคนเข้าใจการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฎิบัติจนเป็นวิถีชีวิตประจำวัน

แนวทางแก้ไข ต้องให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ถูกต้อง สามารถ
เป็น ทางเลือกในการดำเนินชีวิตตนเองและครอบครัวและที่สำคัญเป็นทางเลือกที่เหมาะสมของการพัฒนาที่ยั่งยืน
6.ประโยชน์ขององค์ความรู้­
                    การถ่ายทอดองค์ความรู้ให้คนอื่นได้ศึกษาเรียนรู้ทำให้ง่ายต่อการปฏิบัติตามเพื่อให้ผู้ได้ศึกษาเรียนรู้นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้ประสบความสำเร็จเร็วขึ้น  
7.เทคนิคในการปฏิบัติงาน
          1. ฝึกอบรมครัวเรือนเป้าหมายแบบเป็นกันเอง
2. คณะกรรมการหมู่บ้าน/ครัวเรือนเป้าหมายได้ศึกษาดูงานนอกสถานที่ และนำมา เปรียบเทียบกับหมู่บ้านของตนเอง
3. ใช้หลักการมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมและดำเนินงานขับเคลื่อนหมู่บ้าน
4. การพัฒนาต้องเกิดจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง
5. สร้างทัศนคติใหม่ๆให้เกิดในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
6. สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายอย่างเต็มใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น