วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

KM : เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยนายอนุชา ลิขิตพงค์ธร


1. ชื่อองค์ความรู้............เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง...........................................................
2. ชื่อเจ้าของความรู้.......นายอนุชา  ลิขิตพงค์ธร..........................................................................................
3. องค์ความรู้ที่บ่งชี้  (เลือกได้จำนวน 1 หมวด)
                 หมวดที่ 1 เทคนิคการสร้างและพัฒนาผู้นำในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน
               หมวดที่ 2 เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
                 หมวดที่ 3 เทคนิคการแก้ไขปัญหาความยากจน
                 หมวดที่ 4 เทคนิคการเพิ่มศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) สู่การพัฒนายกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์
                 หมวดที่ 5 เทคนิคการส่งเสริมช่องทางการตลาดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
                       หมวดที่ 6 เทคนิคการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
                 หมวดที่ 7 เทคนิคการส่งเสริมกองทุนชุมชนให้เกิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล
                 หมวดที่ 8 เทคนิคการเสริมสร้างองค์กรให้มีสมรรถนะสูง (เป็นบุคลากรทันสมัย พัฒนาองค์กร)
4. ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้ (อธิบายโดยละเอียด) (คะแนนเต็ม 20 คะแนน)
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 40 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง โดยมีกรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนและผลการพัฒนาแบบยั่งยืน

5. ปัญหาที่พบและแนวทางการแก้ไขปัญหา (อธิบายโดยละเอียด) (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
5.๑. การสร้างทัศนคติในการพึ่งพาตนเองและบริหารจัดการชีวิต ครอบครัว ชุมชน ภายในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยังมีคนที่ยังไม่เข้าใจ มักจะให้หน่วยงานราชการต้องช่วยสนับสนับสนุนอยู่ตลอดเวลา
แนวทางแก้ไข การน้อมนำองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ มาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นแรงบันดาลใจของชาวบ้าน และการประชุมพบปะพูดคุยเป็นปะจำทุกเดือน โดยการใช้เวทีประชาคมร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันและชี้ให้เห็นบางกิจกกรมชาวบ้านได้ทำโดยไม่รู้ตัว เช่นปลูกผักสวานครัว เลี้ยงเป็ด ไก่ การทำบัญชีครัวเรือน เป็นต้น ลงมือทำบ่อยๆ ให้เป็นประจำเริ่มจากง่ายๆก่อน

         5.๒. งบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานไม่เพียงพอโดยเฉพาะกิจกรรมด้านการสร้างอาชีพ สร้างรายได้
แนวทางแก้ไข สนับสนุนในการขับเคลื่อนและการใช้ประโยชน์แผนชุมชนอย่างจริงจัง เน้นชุมชนช่วยเหลือตนเองก่อนขอความช่วยเหลือจากภายนอก เช่น ดูจากในแผนชุมชนว่าโครงการใดเป็นโครงการที่ชุมชนสามารถดำเนินการเองได้บ้าง โครงการใดเกินศักยภาพชุมชนก็ขอรับความช่วยเหลือจากส่วนราชการต่างๆ หรือภาคีการพัฒนาและบูรณาการโครงการร่วมกัน
6. ประโยชน์ขององค์ความรู้ (อธิบายโดยละเอียด) (คะแนนเต็ม 15 คะแนน)
 6.๑ สนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กร
           6.๒ เป็นแนวทางในการปรับปรุงการทำงานที่เห็นอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม เพิ่มประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลในการทำงาน
๖.๓ เพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น เพราะมีสารสนเทศ หรือแหล่งความรู้เฉพาะที่มีหลักการ เหตุผล และน่าเชื่อถือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
๖.๔ เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที
6.๕ เป็นแนวทางในการขยายผลเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในระดับต่างๆ
           6.๖ เป็นการประชาสัมพันธ์ผลงาน และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ให้บุคคลในหน่วยงานเข้าถึง และใช้
ประโยชน์ผ่านช่องทางต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น