วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

KM : เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยนางสาวพิไลวรรณ ปิ่นหอม


1. ชื่อองค์ความรู้         เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
2. ชื่อเจ้าของความรู้     นางสาวพิไลวรรณ  ปิ่นหอม   ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
3. องค์ความรู้ที่บ่งชี้     
                 หมวดที่ 1 เทคนิคการสร้างและพัฒนาผู้นำในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน
           P   หมวดที่ 2 เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
                 หมวดที่ 3 เทคนิคการแก้ไขปัญหาความยากจน
                 หมวดที่ 4 เทคนิคการเพิ่มศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) สู่การพัฒนายกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์
                 หมวดที่ 5 เทคนิคการส่งเสริมช่องทางการตลาดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
                       หมวดที่ 6 เทคนิคการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
                 หมวดที่ 7 เทคนิคการส่งเสริมกองทุนชุมชนให้เกิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล
                 หมวดที่ 8 เทคนิคการเสริมสร้างองค์กรให้มีสมรรถนะสูง (เป็นบุคลากรทันสมัย พัฒนาองค์กร)
4. ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
          กรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้ในโอกาสต่างๆ มาเป็นหลักในการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชน ตั้งแต่    ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจหลักของกรมการพัฒนาชุมชน คือ การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ผ่านกระบวนการพัฒนาผู้นำชุมชนและส่งเสริมการบริหารจัดการโดยชุมชน

          เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  ซึ่งความพอเพียงนั้น หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง   ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิต ด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
          การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความ      ไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ
               การดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการพัฒนาชุมชนด้วยการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมสำหรับปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง ระบบคิดเพื่อเสริมสร้าง     วิถีชีวิตที่เหมาะสมเป็นชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้และการกำหนดระบบการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพใช้เกณฑ์  ชี้วัดและมีหลักฐานยืนยันการปฏิบัติให้เป็นที่ยอมรับ โดยการผ่านเกณฑ์การประเมินตามคำรับรองพิจารณาภายใต้เงื่อนไขในการคัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายและขั้นตอนการดำเนินงานจัดกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
                กรมการพัฒนาชุมชน  ได้ดำเนินการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต และเป็นเป้าหมายของการพัฒนาหมู่บ้าน โดยจัดกระบวนการ เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้ใช้ความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ และนำแนวทางการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบการพัฒนา   ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่มีความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ แบ่งเป็น    ลักษณะ  คือ  หมู่บ้านพัฒนา “พออยู่ พอกิน” “อยู่ดี กินดี” และ “มั่งมี ศรีสุข” ซึ่งแต่ละประเภท  จะเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ให้กับหมู่บ้านอื่น ที่จะใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ ในการพัฒนาตนเองให้เข้มแข็งทัดเทียมกัน และคงความต่อเนื่องในการพัฒนา เพื่อเป็นหมู่บ้านที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งมีความพร้อมในการเป็นต้นแบบอย่างแท้จริง เพื่อขยายผลไปสู่หมู่บ้านที่มีความสนใจ และเริ่มจัดกระบวนการพัฒนาโดยใช้วิธีการเรียนรู้ร่วมกันแบบบ้านพี่บ้านน้อง ในลักษณะเครือข่ายการพัฒนาร่วมกัน
         กระบวนการ/วิธีการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน
          ๑. เริ่มจากการพิจารณาคัดเลือกหมู่บ้านที่มีความพร้อมในการดำเนินชีวิตตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
          ๒. เตรียมความพร้อมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยการคัดเลือกครัวเรือนพัฒนา จำนวน 30 ครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมและที่สำคัญต้องเต็มใจ พร้อมน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
          3. จัดสัมมนาการเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง ครัวเรือนพัฒนา  ๓๐  ครัวเรือน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนกิจกรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ เพื่อทบทวนกระบวนการเรียนรู้ 
4. ศึกษาดูงานประสบการณ์การพัฒนาวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงจากแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ (บ้านพี่) เพื่อสร้างแรงบัลดาลใจ และเกิดการกระตุ้นพร้อมนำไปปฏิบัติจากการศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ
5. ส่งเสริมการจัดทำแผนชีวิตและแผนชุมชน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลครัวเรือน เพื่อทำแผนชีวิตครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูลชุมชน เพื่อจัดทำหรือทบทวน/ปรับแผนชุมชน พร้อมทั้งประเมินหมู่บ้านตามเกณฑ์ประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ของกระทรวงมหาดไทย (4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด) และประเมินความ อยู่เย็น เป็นสุขหรือความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน (Gross Village Happiness : GVH)
6. ดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้หมู่บ้านนำผลจากการส่งเสริมการจัดทำแผนชีวิต และแผนชุมชน มาเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาให้ดีขึ้น
5. ปัญหาที่พบและแนวทางการแก้ไขปัญหา
            ปัญหาที่พบ
          1. ผู้แทนครัวเรือนพัฒนา เกิดความรู้ความ ความเข้าใจ ในการดำเนินชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พอประมาณ ซึ่งยังคงไม่เข้าใจในแนวคิดมากนัก 
          2. ครัวเรือนพัฒนา ต้องคัดเลือกจากครัวเรือนที่มีความพร้อม และเป็นครัวเรือนที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
                แนวทางการแก้ไขปัญหา
          1. ปรับกรอบแนวความคิด/ กระบวนการทางความคิด (Mindset) ให้ผู้แทนครัวเรือนพัฒนา เกิดความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ
                2. คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่มีความเข้าใจ และเกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต และเป็นครัวเรือนที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
          3. ควรได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานภาคีทุกหน่วยงาน เพื่อให้มีการทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน ซึ่งจะได้รับการพัฒนาให้ครบในทุกๆด้าน
6. ประโยชน์ขององค์ความรู้
            1. ครัวเรือนพัฒนาและประชาชนในหมู่บ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เมื่อมีการปรับแนวความคิดไปสู่การดำเนินชีวิตที่น้อมนำและให้ความสำคัญกับการดำรงชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มมากขึ้น
          2. ครัวเรือนพัฒนาและประชาชนในหมู่บ้านดำเนินวิถีชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการมีส่วนร่วม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เอื้ออารีต่อกัน และอยู่อย่างประชาธิปไตย
                3. ครัวเรือนพัฒนาสามารถจัดทำแผนชีวิตครัวเรือน จากการวิเคราะห์ข้อมูลของครัวเรือนได้
          4. หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงสามารถวางแผนการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาจากผลการจัดทำแผนชีวิตของครัวเรือนพัฒนา แผนชุมชน ผลการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ของกระทรวงมหาดไทย (4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด) และผลการประเมิน ความอยู่เย็น เป็นสุขหรือความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน ซึ่งหมู่บ้านสามารถดำเนินการได้เองเป็นอันดับแรก หรือประสานความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกได้  
          5. การทำงานเป็นทีม โดยการใช้หลักการมีส่วนร่วม ในทุกระดับภาคส่วนทั้งจากภาครัฐ องค์กรภาคประชาชน เพื่อให้การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงประสบความสำเร็จและพึ่งตนเองได้  นั้นเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ
          6. การประสานงานความร่วมมือเป็นการบูรณาการทำงานร่วมกับผู้นำชุมชน ส่วนราชการท้องที่, ท้องถิ่น ภาคเอกชนและคณะกรรมการหมู่บ้าน คนในชุมชนร่วมคิด ร่วมรู้ ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ เพื่อค้นหาข้อมูล รวบรวมผลงานของกลุ่ม/องค์กร และจัดทำเอกสารความรู้ในการขยายผลสู่หมู่บ้านอื่น
          7.  ผู้นำชุมชนมีศักยภาพ มีภาวะผู้นำ มีความเสียสละ มีการบริหารจัดการหมู่บ้านที่ดี มีความเข้มแข็ง     มีความพร้อม มีความสามัคคี ในการเข้าร่วมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ และขยายผลครัวเรือนต้นแบบให้ครอบคลุมทั่วทุกครัวเรือนในระดับหมู่บ้าน
7. เทคนิคในการปฏิบัติงาน
          ๑. การพัฒนาหมู่บ้าน โดยการขับเคลื่อนของคณะกรรมการหมู่บ้าน ครอบครัวตัวอย่าง และการประสานความร่วมมือของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน
          2. การทำงานแบบมีส่วนร่วม ยึดหลักประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาคนเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญที่สุด จะต้องสร้างพลังชุมชน ในการพัฒนาชุมชน ทำให้ชุมชนรู้สึกหวงแหนชุมชนของเขาเอง การพัฒนาจึงจะยั่งยืน
          3. ความต่อเนื่องในการทำงานเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การทำงานประสบความสำเร็จ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น