วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

KM : เทคนิคการส่งเสริมกองทุนชุมชนให้เกิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล โดยนางบำเพ็ญ จันทร์กุบ


1. ชื่อองค์ความรู้   เทคนิคการส่งเสริมกองทุนชุมชนให้เกิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล
2. ชื่อเจ้าของความรู้   นางบำเพ็ญ  จันทร์กุบ  พัฒนาการอำเภอไพศาลี  จังหวัดนครสวรรค์
3. องค์ความรู้ที่บ่งชี้  (เลือกได้จำนวน 1 หมวด)
                 หมวดที่ 1 เทคนิคการสร้างและพัฒนาผู้นำในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน
               หมวดที่ 2 เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
กล่องข้อความ: √                 หมวดที่ 3 เทคนิคการแก้ไขปัญหาความยากจน
                 หมวดที่ 4 เทคนิคการเพิ่มศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) สู่การพัฒนายกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์
                 หมวดที่ 5 เทคนิคการส่งเสริมช่องทางการตลาดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
                       หมวดที่ 6 เทคนิคการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
                 หมวดที่ 7 เทคนิคการส่งเสริมกองทุนชุมชนให้เกิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล
                 หมวดที่ 8 เทคนิคการเสริมสร้างองค์กรให้มีสมรรถนะสูง (เป็นบุคลากรทันสมัย พัฒนาองค์กร)
4. ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้ (อธิบายโดยละเอียด) (คะแนนเต็ม 20 คะแนน)
ตามภารกิจและยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน  มีการพัฒนาระบบและกลไกในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้การจัดการความรู้การอาชีพ การออม และการบริหารจัดการเงินทุนของชุมชน เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประชาชน ชุมชน ผู้นําชุมชน องค์การชุมชน และเครือข่ายองค์การชุมชน และเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงและชุมชนพึ่งตนเองได้ ภายในปี ๒๕๖๔”
กรมการพัฒนาชุมชนได้มุ่งขับเคลื่อน ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งได้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ ทำให้มีความง่าย ท้าทาย และเป็นไปได้ในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. 2560 – 2564) ยุทธศาสตร์ของประเทศไทย นโยบายของรัฐบาล สถานการณ์สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน เพื่อให้บุคลากรทุกคน ใช้เป็นกรอบทิศทางการปฏิบัติงาน โดยสามารถกำหนดรูปแบบ นำไปประยุกต์สู่การปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม และกรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดให้ปี ๒๕๖๐ ขับเคลื่อนวาระกรมการพัฒนาชุมชน (Agenda) เพื่อมุ่งมั่นว่ากรมการพัฒนาชุมชน พร้อมขับเคลื่อน สัมมา ชีพชุมชนเข้มแข็งภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อก้าวไปสู่ “เศรษฐกิจครัวเรือนมีความมั่นคง ประชาชนใช้ชีวิตอยู่ในชุมชน   อย่างมีความสุข”
จากยุทธศาสตร์เสริมสรางทุนชุมชนใหมีประสิทธิภาพ    และมีธรรมาภิบาล   พัฒนาระบบการจัดการและการเขาถึงแหลงทุนชุมชน   จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์การพัฒนาทุนชุมชน” เป็นแนวทางหนึ่งของกระบวนการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งที่กรมการพัฒนาชุมชนใช้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ โครงการ และกิจกรรมนำไปสู่การพัฒนาในหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนในชุมชน

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดเป็นกลยุทธ์หนึ่งของแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙ มีเป้าหมายสูงสุดภายใต้วิสัยทัศน์ “ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง” โดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ เสริมสร้างธรรมาภิบาลและความมั่นคงของทุนชุมชน กลยุทธ์ที่ ๔.๑ ส่งเสริมธรรมาภิบาลของกองทุนชุมชน
 โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) เป็นทุนชุมชน ดำเนินการในปี ๒๕๓๖–๒๕๔๔ เพื่อกระจายโอกาสให้ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ได้มีแหล่งเงินทุนยืมไปประกอบอาชีพ หรือขยายกิจการอาชีพของตน เพื่อเพิ่มรายได้ และ มี พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.) หากมีรายได้เพิ่มขึ้นพ้นเส้นความยากจน จะดำเนินการในระยะต่อมาเพื่อพัฒนาด้าน เศรษฐกิจ  และส่งผลในด้านสังคม โครงสร้างพื้นฐาน การอนุรักษ์ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาด้านการศึกษา วัฒนธรรม  สาธารณสุข  และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ทําให้คุณภาพชีวิต ของประชาชนในหมู่บ้านดีขึ้น เป็นหมู่บ้านแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง ต่อไป
จากการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ที่ผ่านมาพบว่าบางหมู่บ้านดำเนินการประสบผลสำเร็จ  บางหมู่บ้านมีปัญหาในการบริหารจัดการ  ในการจัดทำองค์ความรู้ในครั้งนี้ ได้จัดทำในเรื่องแนวทางเทคนิคการแก้ไขปัญหาและการส่งเสริมกองทุนให้เกิดการบริหารจัดการกองทุนตามหลักหลักธรรมาภิบาลซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการส่งเสริมพัฒนากองทุนเดิมที่มีการบริหารจัดการดีให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

5. ปัญหาที่พบและแนวทางการแก้ไขปัญหา (อธิบายโดยละเอียด) (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
          ปัญหาที่พบ
5.1 คณะกรรมการ
-ขาดความรู้ ความเข้าใจในระเบียบ ส่วนใหญ่ถือปฏิบัติต่อๆกันมา ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ระเบียบใน
การบริหารงาน
-ไม่มีการส่งมอบงานจากคณะกรรมการชุดเก่าให้ชุดใหม่  เอกสารต่างๆจึงมีไม่ครบ
-คณะกรรมการส่วนใหญ่ไม่ได้คัดเลือกมาจากคนหรือองค์กรต่างๆ ครบตามระเบียบฯ เช่นจาก
ประธานคณะกรรมการหมู่บ้าน(กม.) ผู้แทนคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.),ผู้แทนสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ,อาสาพัฒนาชุมชน ,ผู้แทนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตหรือกลุ่มอาชีพ ,ผู้แทนคณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน ,ผู้แทนองค์กรชุมชนอื่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิในหมู่บ้าน
-การดำรงตำแหน่งตามวาระในระเบียบฯ ส่วนใหญ่เมื่อหมดวาระจะไม่มีการคัดเลือกใหม่
จะบอกใช้คนเดิม ส่วนใหญ่ไม่บันทึกการประชุมหรือคัดเลือกเป็นทางการ
-คณะกรรมการ พิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการและ เสนอแบบขอยืมเงินต่อพัฒนากร
ผู้รับผิดชอบประจําตําบลเห็นชอบ เพื่อประกอบการ พิจารณาอนุมัติเงินยืมแก่ครัวเรือนเป้าหมาย  จะมีน้อยมากส่วนใหญ่กรรมการพิจารณาและให้พัฒนากรเซน พัฒนากรไม่ได้แสดงความคิดเห็นหรือบางหมู่บ้าน ไม่ได้แจ้งพัฒนากรเมื่อเวลาประชุมพิจารณาอนุมัติเงินยืมแก่ครัวเรือนเป้าหมาย  
-คณะกรรมการ กข.คจ.พิจารณาอนุมัติเงินยืมให้แก่ครัวเรือน เป้าหมาย จะไม่พิจารณาตามลําดับตามบัญชีทะเบียนครัวเรือนเป้าหมายเนื่องจากบางหมู่บ้านไม่มีทะเบียนครัวเรือนเป้าหมายหรือมีไม่เป็นปัจจุบัน

-การพิจารณาอนุมัติเงินยืมต้องได้รับความเห็นชอบจากพัฒนากร ผู้รับผิดชอบประจําตําบล ไม่ควรใช้วิธีการเฉลี่ยเงินทุน  ควรพิจารณาตามความจําเป็น ความเหมาะสมของแต่ละโครงการและคํานึงถึงผลตอบแทนที่จะได้รับ ส่วนใหญ่จะพิจารณาอนุมัติให้ใกล้เคียงกัน
5.2 เอกสาร บัญชีต่างๆ
-การจัดทำเอกสารต่างๆ เช่นบัญชีครัวเรือนเป้าหมาย บัญชีคุมเงินฝากธนาคาร บัญชีคุมลูกหนี้
หรือใบเสร็จรับเงิน  บางหมู่บ้านไม่มี หรือมีแต่ไม่ทำเป็นปัจจุบันหรือทำไม่ถูกต้อง
-สมุดบันทึกการประชุม ส่วนใหญ่จะประชุมปีละครั้ง ช่วงพิจารณาอนุมัติเงินยืมให้ครัวเรือน
เป้าหมาย และบางหมู่บ้านจดรวมกันในเล่มเดียวกันกับสมุดกองทุนหมู่บ้าน สมุดของหมู่บ้านหรือเงินกองทุนอื่นๆ ซึ่งคณะกรรมการจะเป็นคนละชุด
                    5.3 การติดตามประเมินผล
-การรายงานภาวะหนี้สินไม่เป็นปัจจุบัน
-การตรวจสุขภาพไม่ครบทุกหมู่บ้านที่ได้รับงบประมาณโครงการฯ 
-ขาดการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานกองทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลในการบริหาร
จัดการกองทุน ที่มีประสิทธิภาพ
แนวทางการแก้ไขปัญหา
ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมการบริหารจัดการกองทุน
ชุมชนตามหลักธรรมาภิบาล
เงินทุนโครงการ  กข.คจ. เป็นการสนับสนุนเงินทุนให้ในระดับหมู่บ้าน แล้วมอบอํานาจและหน้าที่
ความรับผิดชอบให้องค์กรประชาชนในหมู่บ้านเป็นผู้บริหารจัดการเงินทุนให้ หมุนเวียนอยู่ในหมู่บ้านตลอดไป   การบริหารจัดการโครงการ กข.คจ. อาจไม่มี รูปแบบตายตัวในทุกประการ ขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละหมู่บ้าน แต่อย่างไรก็ตาม เป็นการบริหารจัดการภายใต้หลักการดําเนินงาน  ดังนี้
๑. การมีส่วนร่วมขององค์กรประชาชนและประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายใน การร่วมคิด ร่วม
ตัดสินใจ ร่วมทํา ร่วมรับผิดชอบและร่วมรับผลประโยชน์
๒. การใช้ข้อมูลครัวเรือนเป้าหมายจากการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. มาเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน
และตรวจสอบขององค์กร ประชาชนในหมู่บ้าน
๓. การมอบอํานาจและหน้าที่ ความรับผิดชอบในองค์กรประชาชนในหมู่บ้าน เป้าหมาย คือ
คณะกรรมการ กข.คจ.หมู่บ้าน  เป็นผู้บริหารจัดการเงินทุนให้หมุนเวียน คงอยู่ในหมู่บ้านตลอดไป โดยมีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบ และติดตามการดําเนินงานโครงการ กข.คจ. ให้มีประสิทธิภาพ
4. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ต้องศึกษาเรียนรู้ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและให้ความรู้แก่หมู่บ้าน
 ติดตามอย่างต่อเนื่อง
5. การส่งเสริม สนับสนุนการจัดทำเครือข่าย กขคจ เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
                     6.การส่งเสริมการบริหารจัดการโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ตามหลักธรรมา
ภิบาล โดยใช้แบบตรวจสุขภาพทางการเงินเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการบริการจัดการ โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
                  
1.) การสร้างทีมตรวจสุขภาพทางการเงิน แก่ตัวแทนเครือข่ายระดับตำบล ด้วยการสร้างความรู้
ความเข้าใจในแบบตรวจสุขภาพทางการเงินและแนวทางการพัฒนาโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
                     2.) จัดเวทีตรวจสุขภาพทางการเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
3.) ทีมตรวจสุขภาพทางการเงินร่วมกับคณะกรรมการและสมาชิกกองทุนชุมชน จัดทำแผน/แนวทางในการพัฒนาโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนชุมชนเกิดประสิทธิภาพ
4.) พัฒนากรตำบลร่วมกับเครือข่ายระดับตำบลดำเนินการสนับสนุนการปฏิบัติการตามแผน/แนวทางในการพัฒนาโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
                     5.) พัฒนากรตำบลร่วมกับทีมตรวจสุขภาพทางการเงิน ประเมิน คัดเลือกโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ต้นแบบดีเด่นระดับระดับตำบล
                     6.) สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอจัดทำประกาศเกียรติคุณโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ต้นแบบดีเด่น เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการดำเนินงานของคณะกรรมการ
          
การใช้หลักธรรมาภิบาลทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานได้ อีกทั้งยังเป็นกลไกใน
การควบคุมติดตามและตรวจสอบ โดยประชาชนหรือองค์กรภายนอกที่มีส่วนร่วม ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่การบริหารงาน เพราะการสร้างธรรมาภิบาล เป็นการสร้างสำนึกที่ดีในการบริหารงาน และจัดระบบสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามสำนึกที่ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สิ้นเปลือง การติดตามการทุจริต ความโปร่งใส โดยคำนึงถึงผู้เกี่ยวข้องที่จะได้รับผลกระทบ
                   นอกจากนี้โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) จะได้รับการตรวจสุขภาพทางการเงิน และมีแผน/แนวทางในการพัฒนากองทุนที่มีประสิทธิภาพ สมาชิกกองทุนมีความพึงพอใจในการบริหารจัดการกองทุนเพิ่มขึ้น
การแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของรัฐบาลที่จะต้องทำทั้งในระดับชาติหรือมหภาคและในระดับชุมชนครอบครัวและปัจเจกชนหรือระดับจุลภาคจึงจะทำให้ปัญหาความยากจนบรรเทาลงได้และการที่จะแก้ไขปัญหาความยากจน ให้หมดสิ้นไปทั้งหมดคงทำได้ยาก ก็ยังมีคนยากจนอยู่สิ่งที่รัฐต้องกระทำคือทำให้อัตราส่วนและจำนวนคนยากจน  ในประเทศลดลง ทำให้คนจนมีรายได้สูงกว่าเส้นยากจน(Poverty Line) มีรายได้เพียงพอกับความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.) มาตรการแก้ไขปัญหาความยากจน แนวหนึ่งที่รัฐบาล ได้เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการ คือ โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน(กข.คจ.)
6. ประโยชน์ขององค์ความรู้ (อธิบายโดยละเอียด) (คะแนนเต็ม 15 คะแนน)
   1.) กองทุนชุมชนได้ทราบปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาสามารถนำไปปรับใช้ในการบริหารงานให้มี
ประสิทธิภาพ
     2.) ทราบถึงวิธีการตรวจสุขภาพทางการเงิน และมีแผน/แนวทางในการพัฒนากองทุนที่มีประสิทธิภาพ สมาชิกกองทุนมีความพึงพอใจในการบริหารจัดการกองทุนเพิ่มขึ้น
               


-5-
3.) กองทุนชุมชนมีแนวทางในการการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล สมาชิกกองทุนมีความพึงพอใจในการบริหารจัดการกองทุน การสร้างสำนึกที่ดีในการบริหารงาน และจัดระบบสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามสำนึกที่ดี  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สิ้นเปลือง การติดตามการทุจริต ความโปร่งใส โดยคำนึงถึงผู้เกี่ยวข้องที่จะได้รับผลกระทบ
                    4.) ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการปรับใช้กับกองทุนอื่นๆ
7. เทคนิคในการปฏิบัติงาน (อธิบายโดยละเอียด) (คะแนนเต็ม 25 คะแนน)
1. มีการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจการดำเนินงานโครงการ กข.คจ. แก่คณะกรรมการโครงการ กข.คจ. หมู่บ้านและครัวเรือนเป้าหมายให้มากขึ้น โดยการให้การสนับสนุนความรู้จากเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ร่วมกันของคนในหมู่บ้าน
          2. มีการส่งเสริมให้ครัวเรือนเป้าหมายที่ยืมเงินโครงการ กข.คจ. มีการจัดทำบัญชีรับ-จ่ายของครัวเรือน เพื่อให้ครัวเรือนสามารถประเมินผลสำเร็จในการประกอบอาชีพ และทราบถึงทิศทางในการลงทุนประกอบอาชีพ
          3. การส่งแสริมการบริหารโครงการ กข.คจ. ในรูปเครือข่าย เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลข่าวสารกับคณะกรรมการโครงการ กข.คจ. หมู่บ้าน/ตำบล/อำเภออื่นๆ
          4. เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการติดตาม สนับสนุน นิเทศงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่คณะกรรมการโครงการ กข.คจ. หมู่บ้าน ในการบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
               ข้อจำกัด
         1. ครัวเรือนเป้าหมายโครงการนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ เนื่องจากขาดการติดตามสนับสนุนการประกองอาชีพทั้งจากคณะกรรมการโครงการ กข.คจ. และเจ้าหน้าที่
          2. พัฒนากรตำบลขาดการติดตาม สนับสนุนการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากภาระงานมีมาก
สรุป ทุนชุมชน ทุนธรรมาภิบาล Good GOVERNANCE LOCAL CAPITAL ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน หนี้ ครัวเรือนลดลง  กองทุนปลอดการทุจริต ส่งผลให้บริหารจัดการทุนชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ทําให้คุณภาพชีวิต ของประชาชนในหมู่บ้านดีขึ้น เป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ประชาชนใช้ชีวิตอยู่ในชุมชน   อย่างมีความสุข”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น