วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

KM : เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยนายวิษณุ บำรุงเมือง


๑. ชื่อองค์ความรู้  เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
๒. ชื่อเจ้าของความรู้ : นายวิษณุ  บำรุงเมือง
    ตำแหน่ง/สังกัด   :  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ  สังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอไพศาลี
    เบอร์โทรศัพท์ : 092-2793529
3. หมวดองค์ความรู้ที่บ่งชี้  เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
                 หมวดที่ 1 เทคนิคการสร้างและพัฒนาผู้นำในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน
               หมวดที่ 2 เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
                 หมวดที่ 3 เทคนิคการแก้ไขปัญหาความยากจน
                 หมวดที่ 4 เทคนิคการเพิ่มศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) สู่การพัฒนายกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์
                 หมวดที่ 5 เทคนิคการส่งเสริมช่องทางการตลาดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
                       หมวดที่ 6 เทคนิคการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
                 หมวดที่ 7 เทคนิคการส่งเสริมกองทุนชุมชนให้เกิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล
                 หมวดที่ 8 เทคนิคการเสริมสร้างองค์กรให้มีสมรรถนะสูง (เป็นบุคลากรทันสมัย พัฒนาองค์กร)
4. ที่มาและความสำคัญในการจัดการองค์ความรู้
          การส่งเสริมพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นภารกิจหลักของกรมการพัฒนาชุมชน ที่ต้องส่งเสริม         ให้ประชาชนใช้ชีวิตตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และขับเคลื่อนให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง     ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลามุ่งเน้นการพึ่งพาตนเอง แบบค่อยเป็นค่อยไป ดังที่ว่าเดินที่ละก้าว กินข้าว          ที่ละคำ เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน  โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบและคุณธรรมประกอบการวางแผนการตัดสินใจในการดำเนินชีวิต จึงเกิดโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอพียงต้นแบบขึ้นมาเพื่อหวังให้ประชาชนได้น้อมนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  
         วิธีการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน
          ๑. เริ่มต้นจากการพิจารณาคัดเลือกหมู่บ้านที่มีความพร้อมจะดำเนินชีวิตตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพร้อมที่จะน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้จนเป็นวิถีชีวิต
          ๒. เตรียมความพร้อมทีมวิทยากรเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้แก่ครัวเรือนต้นแบบ  จำนวน  ๓๐ ครัวเรือน
๓. คัดเลือกครัวเรือนต้นแบบ เข้าร่วมกิจกรรมและที่สำคัญต้องเต็มใจ พร้อมน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน

๔. จัดเตรียมหาสถานที่ศึกษาดูงานเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และสร้างแรงบันดาลใจ การศึกษา    ดูงานจากผู้ที่ดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ที่ประสพความสำเร็จถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะสร้าง      แรงบันดาลใจให้กับครัวเรือนต้นแบบ 
๕. ปัญหาที่พบและแนวทางการแก้ไขปัญหา
          ประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง เอาความสะดวกสบายความรวดเร็วเป็นที่ตั้ง และที่สำคัญยังคงใช้สารเคมีที่นับวันจะใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายก็พบกับปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น คุณภาพชีวิตที่เริ่มตกต่ำ และเริ่มที่จะหลงลืมภูมิปัญญาสมัยปู่ ย่า ตา ยาย ไปทุกขณะ
          แนวทางการแก้ไข จึงเริ่มจากให้ความรู้ความเข้าใจตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง จากนักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ที่ใช้ชีวิตตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงที่ประสพความสำเร็จในชีวิต เพื่อปรับเปลี่ยนแนวความคิด ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุด หากเปลี่ยนแนวความคิดไม่ได้ก็ยากที่จะขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงให้ประสพความสำเร็จ
๖. ประโยชน์ขององค์ความรู้
          องค์ความรู้ที่ได้เกิดจากประสบการณ์จริงที่ได้ลงปฏิบัติงานในหมู่บ้าน ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะแตกต่าง         กันออกไป แต่สิ่งที่จะทำให้ประสพความสำเร็จของการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ต้องเริ่มต้นจาก          การเปลี่ยนแนวความคิดประชาชนให้ได้ก่อน หากเปลี่ยนแนวความคิดไม่ได้ก็ยากที่จะขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงให้ประสพความสำเร็จ  
๗. เทคนิคในการปฏิบัติงาน
         ๗.1 คัดเลือกครัวเรือนจากครัวเรือนที่มีความพร้อม และเป็นครัวเรือนที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
         ๗.๒ ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากทำให้ครอบครัวตัวเองมีกินมีใช้ก่อน ค่อยออกไปหางานทำ เช่น       ส่งเสริมให้ปลูกผักไว้กินเอง อยากกินอะไรก็ให้ปลูกอย่างนั้น ให้มีกินในครอบครัวให้ได้ เพื่อลดรายจ่าย เมื่อกินอิ่มแล้วค่อยออกไปทำมาหากินนอกบ้าน เงินที่ได้มาก็จะเหลือเก็บ
                     ๗.๓ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ อยู่ที่ความต่อเนื่องติดตามงานตลอดเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น