วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

KM : การดำเนินงานตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยส.อ.วิสูตร ไกรวิริยะ

๑. ชื่อองค์ความรู้       การดำเนินงานตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง        
๒. ชื่อเจ้าของความรู้            ส.อ.วิสูตร  ไกรวิริยะ    นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
๓. องค์ความรู้ที่บ่งชี้   หมวดที่ 2 เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

๔. ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
เศรษฐกิจพอเพียง  
หมายถึง การมีรายได้ที่สามารถอุ้มชูตัวเองให้มีความพอเพียงกับตัวเอง อยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อน โดยต้องสร้างพื้นฐานของรายได้ของตนเองให้ดีเสียก่อน ซึ่งการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง นั้น เป็นเรื่องที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน  
การดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เป็นการพัฒนาชุมชนด้วยการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม  ยึดการดำเนินงานการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง”   ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางในการดำรงชีวิตและการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับด้วยรูปแบบ การมีส่วนร่วมโดยเน้นการดำเนินงานกระบวนการมีส่วนร่วมทั้งระดับครอบครัว หน่วยงานภาคีการพัฒนา และชุมชน เพื่อเสริมสร้างวิถีชีวิตที่เหมาะสมเป็นชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้และการกำหนดระบบการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพใช้เกณฑ์ชี้วัดและมีหลักฐานยืนยันการปฏิบัติให้เป็นที่ยอมรับ โดยการผ่านเกณฑ์การประเมินตามคำรับรองพิจารณาภายใต้เงื่อนไขในการคัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายและขั้นตอนการดำเนินงานจัดกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ   

                   นอกจากนี้การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านยัง  มีองค์ประกอบหลายอย่างตามกระบวนการของกรมการพัฒนาชุมชน  และจากการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาประสบผลสำเร็จ  มาจากแกนนำหมู่บ้าน  ที่เป็นผู้นำทาง และเป็นผู้เชื่อมประสาน ทั้งกับครอบครัว  กลุ่ม  องค์กร ในหมู่บ้าน  และ หน่วยงานภาคีภายนอกหมู่บ้าน เพื่อผนึกกำลังร่วมกันในการพัฒนาหมู่บ้าน  ดังนั้น  การสร้างแกนนำ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 

 พัฒนาศักยภาพแกนนำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่เป้าหมายหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  โดยการพบปะพูดคุยกับ แกนนำหมู่บ้าน อาสาพัฒนาชุมชน (อช.) ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) คณะกรรมการกลุ่ม และครอบครัวพัฒนา พบว่าแกนนำหมู่บ้านที่เข้าร่วมการติดตามฯ ดังกล่าวสามารถเล่าและอธิบาย ถึงการน้อมนำหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้กับตนเอง ครอบครัว และชุมชน ได้เป็นอย่างดีและสอดคล้องกับ ตัวชี้วัดตามแบบประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงมหาดไทย 

๕. ปัญหาที่พบและแนวทางการแก้ไขปัญหา
ปัญหาในการทำงานผู้นำขาดการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 
แนวทางควรใช้เวทีประชาคมหมู่บ้านเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น และสนับสนุนให้มีการฝึกผู้นำรุ่นใหม่ และหากมีการแตกแยกทางความคิดในเรื่องใด ๆ ก็ควรใช้เวทีประชาคมในการทำความเข้าใจร่วมกัน
        
๖. ประโยชน์ขององค์ความรู้
                    ๑. กิจกรรมส่งเสริมครอบครัวพัฒนาในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ให้การเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง     
                    ๒. กิจกรรมการเรียนรู้ตนเองและกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยการทบทวนปรับแผนชุมชน  เพื่อช่วยกันคิดวิเคราะห์ค้นหาศักยภาพของตนเอง ค้นหาปัญหาของชุมชนว่ามีสาเหตุมาจากอะไร และจัดทำแผนการแก้ไขปัญหา กำหนดทิศทางแก้ปัญหาด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
                    ๓. กิจกรรมสาธิตการดำรงชีวิตแบบพอเพียง จากเวทีของผู้เข้าประชุมว่าต้องการอะไร  
                    ๔. กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการชุมชน และการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และการสร้างความสมานฉันท์สามัคคีของหมู่บ้าน ให้ความรู้เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการสร้างความสมานฉันท์ในหมู่บ้าน
                    ๕. กิจกรรมการจัดการความรู้วิธีการปฏิบัติการพัฒนาหมู่บ้าน  โดยการจัดการความรู้จากแหล่งเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านและติดตาม  ประเมินผลความสุขมวลรวม
๗. เทคนิดในการปฏิบัติงาน
                   ๑. กำหนดหมู่บ้านเป้าหมายในการพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
                   ๒. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
                   ๓. สนับสนุนให้หมู่บ้านดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เช่น ทำบัญชีครัวเรือน ปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง ทำน้ำหมักสมุนไพรใช้เอง เพื่อเป็นการลดรายจ่าย
                   ๔. ศึกษาดูงานหมู่บ้านที่ประสบผลสำเร็จ เพื่อนำมาปรับใช้กับหมู่บ้าน
                   ๕. ประเมินผลการดำเนินงาน
                   ๖. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เช่น การทำแผ่นพับ การทำเอกสารรูปเล่ม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น