วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

KM : การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยนางสาวอรุณวดี ล้อมรื่น


1. ชื่อองค์ความรู้         การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

2. ชื่อเจ้าของความรู้     นางสาวอรุณวดี  ล้อมรื่น
ตำแหน่ง          นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด             สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพยุหะคีรี  จังหวัดนครสวรรค์

3. องค์ความรู้ที่บ่งชี้
          R หมวดที่ 2 เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

4. ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
          การดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการพัฒนาชุมชนด้วยการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมสำหรับปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง ระบบคิดเพื่อเสริมสร้างวิถีชีวิตที่เหมาะสมเป็นหมู่บ้านเข้มแข็งพึ่งตนเองได้
         ในการคัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายและขั้นตอนการดำเนินงานจัดกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 3 หมู่บ้าน คือ 1. บ้านสระทะเล หมู่ที่ 2 ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์  2. บ้านเนินตาควน  หมู่ที่ 7 ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 3. บ้านหนองแหน  หมู่ที่ 9 ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินการเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  ปีงบประมาณ ๒๕62 จากการค้นหาปัญหา อุปสรรค (SWOT) พบจุดเด่น จุดด้อยของชุมชน ยังขาดการเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืน และการไม่แสดงออกทางด้านความคิดเท่าที่ควร และคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาให้เป็นจุดเรียนรู้สามารถให้ผู้ที่สนใจมาศึกษาดูงานได้


5.  ปัญหาที่พบและแนวทางการแก้ไขปัญหา
         ปัญหาที่พบ คือ การไม่แสดงออกทางด้านความคิดเท่าที่ควร และขาดการรวบรวมข้อมูลครัวเรือนต้นแบบการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาให้เป็นจุดเรียนรู้สามารถให้ผู้ที่สนใจมาศึกษาดูงานได้
         แนวทางการแก้ไขปัญหา
               5.1  จะต้องร่วมกับภาคีการพัฒนา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ในการคัดเลือกแกนนำของหมู่บ้าน
               5.2  คุณสมบัติของแกนนำ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ซึ่งมาจากผู้นำชุมชน กลุ่ม  องค์กร หรือผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ในหมู่บ้าน และที่สำคัญคือ ต้องมีจิตสาธารณะ และเป็นที่ยอมรับ ของคนในชุมชน ตลอดทั้ง ภาคีการพัฒนา
               5.3  การบริหารจัดการชุมชนที่ดี

               5.4  การค้นหาข้อมูล รวบรวมข้อมูล วางแผนเตรียมความพร้อมในการทำงาน ประสานงาน ชี้แจงทำความเข้าใจกับทีมงานเพื่อสร้างความเข้าใจและมีเป้าหมายเดียวกัน
               5.5  มีครัวเรือนต้นแบบการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นวิทยากรหมู่บ้านและถ่ายทอดความรู้สู่คนในชุมชน/ผู้ที่สนใจได้
               5.6  ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งในระดับแกนนำชุมชนและประชาชนในหมู่บ้านก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
               5.7  ใช้หลักการมีส่วนร่วม ความสามัคคี ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกัน เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนา

6.  ประโยชน์ขององค์ความรู้
6.1  ครอบครัวพัฒนาในหมู่บ้านเศรษฐกิจสามารถ มีชีวิตความเป็นอยู่แบบพอเพียง
6.2  ครัวเรือนต้นแบบการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถประกวด
6.3  ครัวเรือนต้นแบบการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นวิทยากรหมู่บ้านและถ่ายทอดความรู้สู่คนในชุมชน/ผู้ที่สนใจ

7.  เทคนิคในการปฏิบัติงาน
               7.1  ประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลเขาทองเพื่อคัดเลือกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
               7.2  กำหนดหมู่บ้านเป้าหมาย
               7.3  ประชุมคัดเลือกแกนนำหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 2 คน
               7.4  ฝึกอบรมแกนนำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบพร้อมศึกษาดูงาน
               7.5  การค้นหาข้อมูล รวบรวมข้อมูล วางแผนเตรียมความพร้อมในการทำงาน ประสานภาคีแกนนำหมู่บ้านเป้าหมาย ประชุมทำความเข้าใจกับทีมงาน มอบหมายภารกิจรับผิดชอบ กำหนดเป้าหมายร่วมกัน
               7.6  ค้นหาแหล่งเรียนรู้และวิทยากรที่เหมาะสม เปิดโอกาสให้ชุมชนเลือกได้
               7.7  จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
               7.8  ประสานหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เข้าร่วมให้ความรู้ในเวทีประชาคม เพื่อเป็นแนวร่วม การส่งเสริม สนับสนุนงบประมาณ
               7.9  สนับสนุนงบประมาณในการขับเคลื่อนกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้าน
               7.10  รับสมัครผู้แทนครอบครัวพัฒนาต้นแบบ จำนวน 30 ครัวเรือน
               7.11  กิจกรรมเพื่อขยายผลการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ได้กระตุ้นให้ มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการประกอบอาชีพ และการศึกษาดูงาน
               7.12  หมู่บ้านมีการบันทึกภูมิปัญญากิจกรรมในหมู่บ้าน เพื่อถ่ายทอดสู่คนในชุมชน


               7.13  คัดเลือกครัวเรือนต้นแบบการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเข้าประกวด และถ่ายทอดความรู้สู่คนในชุมชน
               7.14  พัฒนาครัวเรือนต้นแบบการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นจุดเรียนรู้ของตำบล และพัฒนาเป็นวิทยากรหมู่บ้าน
               7.15  หมู่บ้านมีการบันทึกภูมิปัญญากิจกรรมในหมู่บ้าน เพื่อถ่ายทอดสู่คนในชุมชน โดยจัดทำแผ่นป้ายข้อมูลถ่ายทอดองค์ความรู้
               7.16  ร่วมกำหนดแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
               7.17  เยี่ยมเยียนให้กำลังใจ สอดแทรกความรู้ ติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ
               7.18  ใช้วิทยากรหมู่บ้าน ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าวสารให้ประชาชนรับรู้ เกิดการตื่นตัวที่จะนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิตของตนเอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น