วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

KM : เทคนิคการสร้างและพัฒนาผู้นำสัมมาชีพ โดยนางวิยะดา อาภากรณ์


1. ชื่อองค์ความรู้  เทคนิคการสร้างและพัฒนาผู้นำสัมมาชีพ                                           
2. ชื่อเจ้าของความรู้  นางวิยะดา  อาภากรณ์  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
3. หมวดองค์ความรู้ที่บ่งชี้ (ตามแนวทางการจัดการความรู้ของหน่วยงาน)
เทคนิคการสร้างและพัฒนาผู้นำสัมมาชีพ
4. ที่มาและเป้าหมายของการจัดการความรู้
          กรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดโครงการ/กิจกรรมภายใต้กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งการสร้างสัมมาชีพชุมชน เป็นการขับเคลื่อนงานอย่างเป็นกระบวนการ ภายใต้แนวคิด “ชาวบ้านสอนชาวบ้าน” สอนอาชีพที่เขาต้องการอยากทำ ประกอบการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทาง  ที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพ และกลับไปสร้างทีมและจัดการฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือน

5. วิธีการ/ขั้นตอนการจัดการความรู้ (อธิบายพอสังเขป)
          1. ศึกษาแนวทางการส่งเสริมสัมมาชีพจากเอกสารและคู่มือกรมการพัฒนาชุมชน ค้นหาปราชญ์ชุมชน ศักยภาพชุมชน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน
          2. คัดเลือกปราชญ์ในชุมชนที่สามารถเป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน เพื่อให้นำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้าน
          3. ส่งเสริมให้ปราชญ์ในชุมชนเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้นำสัมมาชีพ ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน
          4. ให้วิทยากรสัมมาชีพที่ผ่านการอบรม ร่วมเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับครัวเรือนสัมมาชีพ ให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ครัวเรือนต้องการฝึกอบรม
          5. ให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน กำกับ ดูแลการฝึกปฏิบัติของครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนอย่างใกล้ชิด
6. ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้
          6.1 เทคนิคและแนวทางการดำเนินงาน
                   1. ปราชญ์ชุมชนสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับครัวเรือนสัมมาชีพได้ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  มีความเป็นมิตร รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความพร้อมที่จะเรียนรู้
                   2. ครัวเรือนสัมมาชีพน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม
          6.2 ข้อพึงระวัง(ถ้ามี)
                   ต้องไม่คาดหวังว่าผู้นำสัมมาชีพจะสามารถถ่ายทอดความรู้ และแก้ไขปัญหาได้ในทุกเรื่อง

          6.3 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
๑. การคัดเลือกปราชญ์ชุมชน ต้องเป็นผู้มีองค์ความรู้ มีพื้นฐานการทำสัมมาชีพ สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับครัวเรือนสัมมาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒. การให้ความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้นำ กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน
๓. การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม
4. ทีมสนับสนุนระดับอำเภอ และพัฒนากร ติดตามให้กำลังใจ และสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับปราชญ์ชุมชน
          6.4 ปัญหาและวิธีการแก้ไข
          6.5 ผลลัพธ์จากการแก้ปัญหาและการพัฒนาเรื่องนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น