วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

KM : เทคนิคการสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน โดยนางหทัยรัตน์ ทิวงค์ษา

1. ชื่อความรู้ เทคนิคการสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน
2. เจ้าของความรู้ นางหทัยรัตน์ ทิวงค์ษา
ตาแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชานาญการ
สังกัด สานักงานพัฒนาชุมชนอาเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
3. หมวดองค์ความรู้ที่บ่งชี้ หมวดเทคนิคการพัฒนาอาชีพครัวเรือนตามแนวทางสัมมาชีพ 4. ที่มาและเป้าหมายของการจัดการความรู้ กรมการพัฒนาชุมชน ได้ส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชนขึ้น โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่ง ตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้าทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึง บริการของรัฐ ซึ่งได้กาหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับ ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์ เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง สามารถสร้างอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่ม จัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็ง

- โดยพัฒนากรในพื้นที่มีบทบาทในการส่งเสริมสนับสนุนการดาเนินงานของทีมวิทยากร และหมู่บ้านสัมมาชีพ ทั้งใน ด้านการสนับสนุนงบประมาณ ด้านการจัดกิจกรรมประชุมและวัสดุส่งเสริมอาชีพตามความต้องการของสัมมาชีพ
5. วิธีการ/ขั้นตอนการจัดการความรู้
5.1 เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนศึกษาแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชน
5.2 ประชุมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ซักซ้อมแนวทางการดาเนินการสร้างสัมมาชีพชุมชน เพื่อให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจแนวทางการดาเนินการสร้างสัมมาชีพให้มีความเข้าใจตรงกัน
5.3 ประชุมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนแต่ละหมู่บ้าน และกาหนดแผนปฏิบัติการสร้างสัมมาชีพของหมู่บ้าน
5.4 ดาเนินการตามแผนที่กาหนด โดยพัฒนากรติดตามสนับสนุนกิจกรรมทุกกิจกรรม
5.5 สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มอาชีพในหมู่บ้านเป้าหมาย
6.ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้
6.1 เทคนิคและแนวทางในการทางาน
6.1.1 ศึกษาแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนให้ชัดเจน
6.1.2 ค้นหาปราชญ์บ้านที่มีความรู้สามารถถ่ายทอดได้ ให้ชาวบ้านสอนชาวบ้าน
6.1.3 ติดตาม สนับสนุนการขับเคลื่อนกิจกรรมตลอด และเป็นพี่เลี้ยง ให้คาปรึกษา ให้กาลังใจทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน
6.2 ข้อพึงระวัง ไม่ควรปล่อยให้ผู้นาวิทยากรสัมมาชีพดาเนินงานคนเดียว เพราะอาจทาให้การดาเนินงานไม่ตรงตามกระบวนงาน และครัวเรือนเป้าหมายอาจไม่สนใจในการทากิจกรรม
6.3 ปัจจัยแห่งความสาเร็จ
6.3.1คัดเลือกทีมวิทยากรสัมมาชีพ ควรเลือกผู้ที่มีความรู้ความสามรถ ถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ มีความกระตือรือร้น
6.3.2 การคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายต้องคัดเลือกครัวเรือนที่มีความสนใจในการฝึกอาชีพ
6.3.3 ชุมชนเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับพื้นที่ และความรู้ของปราชญ์
6.3.4 ความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการเคารพผู้อาวุโส ทาให้งานมีความสาเร็จลุล่วงด้วยดี
6.3.5 การติดตามสนับสนุนการดาเนินงานของพัฒนากร ทาให้ทีมวิทยากรตื่นตัว และให้ความสาคัญกับงานในหน้าที่
6.4 ผลลัพธ์จากการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาเรื่องนั้น
6.4.1 ได้ทีมวิทยากรที่มีความสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับครัวเรือนเป้าหมายได้
6.4.2 ได้อาชีพที่ตรงตามต้องการของครัวเรือนเป้าหมาย ซึ่งจะทาให้เกิดกลุ่มอาชีพ เกิดรายได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น