วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

KM : เทคนิคการสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพ โดยนางสาวปิยะวัลย์ ใจสูงเนิน


1. ชื่อองค์ความรู้  เทคนิคการสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพ
2. ชื่อเจ้าของความรู้  นางสาวปิยะวัลย์  ใจสูงเนิน  นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
3. หมวดองค์ความรู้ที่บ่งชี้          เทคนิคการสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพ
4. ที่มาและเป้าหมายของการจัดการความรู้
กรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดโครงการ/กิจกรรมภายใต้กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การส่งเสริมการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มจากการ พัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมาย ที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน เพื่อให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติ อาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพ ต่อไป

5. วิธีการ/ขั้นตอนการจัดการความรู้ (อธิบายพอสังเขป)
          1. ศึกษาแนวทางการส่งเสริมสัมมาชีพจากเอกสารและคู่มือกรมการพัฒนาชุมชน ค้นหาปราชญ์ชุมชน ศักยภาพชุมชน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน
          2. คัดเลือกปราชญ์ในชุมชนที่สามารถเป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน เพื่อให้นำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้าน
          3. ส่งเสริมให้ปราชญ์ในชุมชนเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้นำสัมมาชีพ ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน
          4. ให้ปราชญ์ชุมชนที่ผ่านการพัฒนาผู้นำสัมมาชีพ คัดเลือกทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน
          5. ให้วิทยากรสัมมาชีพที่ผ่านการอบรม ร่วมเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับครัวเรือนสัมมาชีพ
          6. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ร่วมวิเคราะห์อาชีพที่ครัวเรือนเป้าหมายต้องการ
6. ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้
          6.1 เทคนิคและแนวทางการดำเนินงาน
                   1. ปราชญ์ชุมชนสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับครัวเรือนสัมมาชีพได้
                   2. ครัวเรือนสัมมาชีพน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม
          6.2 ข้อพึงระวัง(ถ้ามี)
          6.3 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
๑. การคัดเลือกปราชญ์ชุมชน ต้องเป็นผู้มีองค์ความรู้ สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับครัวเรือนสัมมาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒. การให้ความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้นำ กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน
๓. การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม
4. ทีมสนับสนุนระดับอำเภอ และพัฒนากร ติดตามให้กำลังใจ และสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับปราชญ์ชุมชน
          6.4 ปัญหาและวิธีการแก้ไข
          6.5 ผลลัพธ์จากการแก้ปัญหาและการพัฒนาเรื่องนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น