วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

KM : การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน โดยนางพิมพร กล้ากสิกิจ

รื่อง    การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน
ชื่อความรู้          การพัฒนาความรู้และทักษะปราชญ์ชุมชน
เจ้าของความรู้      นางพิมพร   กล้ากสิกิจ 
ตำแหน่ง/สังกัด     นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์   บันทึกเมื่อ    วันที่ ๖  พฤษภาคม  ๒๕๖๐
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ   การพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพวิทยากรสัมมาชีพชุมชน
เรื่องเล่า
      ความเป็นมาของสัมมาชีพชุมชนเริ่มจากความรู้ความเข้าใจในหลักเศรษฐกิจพอเพียงก่อน กล่าวคือ ...
.......เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาเป็นแนวคิดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถอดมาจากศาสนาพุทธ
ถ้าทุกคนมีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในหัว ความคิดและจิตสำนึกตัวเองแล้ว นั่นก็คือ  ชุมชนที่ตั้งตนได้ซึ่งก็คือ  ชุมชนเข้มแข็งนั่นเอง
.......ส่วนสัมมาชีพ คือ กิจกรรมที่ส่งผลให้ชาวบ้านเกิดรายได้
ความหมายสัมมาชีพ  คือ    อาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง (การไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน)  ไม่เบียดเบียนผู้อื่น(ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม(ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม)  มีรายได้มากกว่ารายจ่าย

สัมมาชีพ เป็นการทำมาหากินโดยไม่ได้เอากำไรสูงสุดเป็นตัวตั้งหรือเป็นเป้าหมายสุดท้ายและต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคม กล่าวคือ ความสุขของตนและคนทำงาน รวมถึงประโยชน์ของผู้บริโภคและผู้รับบริการหลัก
สัมมาชีพชุมชน คือการที่ ชุมชนที่มีการประกอบอาชีพโดยชอบซึ่งมีรายได้มากกว่ารายจ่ายโดยลดการเบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม  ทั้งนี้ ต้องมีความสอดคล้องกับวิถีของชุมชน เพื่อความมุ่งหมาใน
การสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชน 
          ในการดำเนินการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนนั้นจะเป็นการสร้าง ส่งเสริมและใช้ทรัพยากรในชุมชนมาพัฒนาสร้างคุณค่าให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะ คน หรือปราชญ์ชุมชนเป็นหัวใจหลักและมีความสำคัญสู่การเรียนรู้และพัฒนาทักษะอาชีพของคนในชุมชนต่อไป นั่นคือการใช้ปราชญ์ชุมชนเป็น “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชน”
ขุมความรู้  
เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนมีหน้าที่ส่งเสริมบทบาทและทักษะแก่วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ และองค์ความรู้ที่จำเป็นเพื่อให้สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับครัวเรือนเป้าหมายและประชานในหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายของการส่งเสริมสัมมาชีพในชุมชนได้ นั่นคือ มี ทักษะที่จำเป็น คือ
1.  ทักษะการเป็นวิทยากร   
 2. ทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้โดยวิธีสาธิต
ความรู้ที่วิทยากรสัมมาชีพควรรู้  3  เรื่อง ที่สรุปสาระสังเขป คือ
1.      ความรู้เรื่องประชารัฐ  การสานพลังประชารัฐ
ประชารัฐคือ ความร่วมมือจาก 5 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคมและภาคประชาชน รวมพลัง เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาและคิดหาทางสร้างอนาคตให้ประเทศไทย ผ่านโครงสร้างการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ที่มุ่งมั่นลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพคนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยขับเคลื่อนด้วยรูปแบบของ Social EnterPrise (SE)  หรือวิสาหกิจชุมชน
 2. ความรู้เรื่อง  Social EnterPrise (SE) หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม
มีหลักเข้าใจง่ายๆ 5 ประการ คือ
-.มีเป้าหมายหลักเพื่อสังคมไม่ใช่เพื่อกำไรสูงสุด
-.มีรูปแบบธุรกิจที่รายได้หลักมาจากการายสินค้าและบริการไม่ใช่เงินจากรัฐหรือบริจาค
-.กำไรต้องนำไปใช้ขยายผลไม่ใช่ปันผลเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
-.บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
-.จดทะเบียนเป็นรูปแบบบริษัท
สรุปง่ายๆก็คือ   ชุมชนลงมือทำ  เอกชนขับเคลื่อน  รัฐบาลสนับสนุน” มีเป้าหมายที่  การสร้างรายได้ให้ชุมชนและประชาชนมีความสุข
 3.  ความรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง  (suffciency Economy)  เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง  โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ อย่างยั่งยืนและสมดุล
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้กันในตัวที่ดีพอควร
ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากากรเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
ความรู้ทั้ง 3  เรื่องนี้ เพื่อช่วยให้วิทยากรมีความมั่นใจและทิศทางในการร่วมมือกันทำงานขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนอย่างมีเป้าหมายซึ่งเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกระดับจะต้องคอยสอนแนะ ส่งเสริมให้เชื่อมโยงกีบองค์ความรู้ของปราชญ์ชุมชนหรือวิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชนในการดำเนินงานต่อไป.

แก่นความรู้
การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน เป็นสร้างพลังชุมชน ใช้พลังชุมชน ในการพัฒนาชุมชน นั่นคือการสร้างคนและให้คนได้มีการเรียนรู้ ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การสร้างรายได้และร่วมกันสร้างความเข้มแข็งในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป.... นั่นคือกระบวนการส่งเสริม  

“ ผู้รู้  ผู้ทำ สู่ผู้สอน วิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชน “

ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอตาคลี  จังหวัดนครสวรรค์ 0-5626-2015/ 081-7279061

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น