วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

KM : วิธีการขับเคลื่อนกองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยนางสาวธัญญลักษณ์ พงษ์ทุมพระ

ชื่อ สกุล                           นางสาวธัญญลักษณ์  พงษ์ทุมพระ
ตำแหน่ง                             นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด                                สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะโก
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก     090-1363980
ชื่อเรื่อง                              วิธีการขับเคลื่อนกองทุนแม่ของแผ่นดิน
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ       การขาดความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ              ปีงบประมาณ ๒๕60
สถานที่เกิดเหตุการณ์               บ้านดอนคา  หมู่ที่ 1 ตำบลดอนคา  อำเภอท่าตะโก  จังหวัดนครสวรรค์
เนื้อเรื่อง
กองทุนแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็น กองทุนทางสังคมจึงไม่เน้นการจัดตั้งกองทุนจากทุนทรัพย์เป็นหลัก แต่การจัดตั้งกองทุนนี้เป็นการทดสอบศักยภาพของทุนทางสังคมที่มีในชุมชน โดยแสดงออกมาเป็นกองทุนแห่งความสามัคคี เพราะปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาทางสังคมซึ่งต้องแก้ไขหรือป้องกันด้วยพลังทางสังคม เมื่อชุมชนต้องการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างแท้จริงแล้ว การจัดตั้งกองทุนแก้ไขปัญหา ยาเสพติดก็เพื่อเป็นอุบายในการดำเนินการเพื่อให้เกิดทุนทางสังคมขึ้นนั่นเอง

ทุนศรัทธา เป็นทุนตั้งต้นของกองทุนแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยทุนนี้จะแสดงถึงศรัทธาของสมาชิกว่า หากต้องการป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดให้ได้อย่างต่อเนื่องแล้ว จำเป็นที่พวกเราจะต้องมีศรัทธาอย่างต่อเนื่องด้วย โดยการจัดตั้งกองทุนนี้มีลักษณะคล้ายกับการซื้อประกันภัยยาเสพติด ซึ่งมีราคาเพียง 1 บาท/คน/สัปดาห์ (หรือตามที่ที่ประชุมเห็นร่วมกัน) เท่านั้น เช่น หากครัวเรือนใดมีสมาชิก 5 คน ก็ให้บริจาค 5 บาท/สัปดาห์ (หรือตามที่ที่ประชุมเห็นร่วมกัน) ให้กับคณะกรรมการ ทั้งนี้วัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้ทุกคนมีการคิดห่วงใยกันเรื่องยาเสพติดในครอบครัวนั่นเอง
ทุนปัญญา ให้คณะกรรมการพิจารณาร่วมกันเป็นระยะในการที่จะขยายกองทุนแม่ของแผ่นดินด้วยปัญญาของคณะกรรมการแต่ละกองทุนด้วยวิธีการต่างๆ สำหรับกิจกรรมใดๆ บางกิจกรรมที่ต้องใช้งบประมาณ
ทุนศักดิ์สิทธิ์ เป็นส่วนของเงินที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยเมื่อนำมาผสมรวมกับทุนศรัทธาและทุนปัญญาแล้วทำให้ทุนทั้งหมดมีความศักดิ์สิทธิ์ และทำให้กองทุนยาเสพติดเปลี่ยนชื่อเป็น กองทุนแม่ของแผ่นดิน
วิธีการขับเคลื่อนกองทุนแม่ของแผ่นดิน
     1. ทำความเข้าใจโครงการกองทุนแม่ของแผ่นดินทุกครัวเรือน
เทคนิค/วิธีการ
          1) นัดประชุม  ประกาศเสียงตามสายในหมู่บ้าน
2) เชิญวิทยากรนอกที่มีความน่าเชื่อถือ มาให้ความรู้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนเล็งเห็นความสำคัญ และความศักดิ์สิทธิ์ของกองทุนแม่
      2. จัดตั้งคณะกรรมการกองทุนแม่ฯ
เทคนิค/วิธีการ
          1) คัดเลือกคณะกรรมการจากจำนวนสมาชิก และแบ่งความรับผิดชอบในการดูแลครัวเรือน โดยให้กรรมการรับผิดชอบ 1 : 4-5 ครัวเรือน
       3. รับสมัครครัวเรือนสมาชิกเช้าร่วมโครงการ
เทคนิค/วิธีการ
          1) ประชุมสร้างความเข้าใจให้ประชาชนในหมู่บ้านทราบ
2) ประชาสัมพันธ์โครงการอย่างสม่ำเสมอ
3)  เชิญวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้โครงการ
4)  รับสมัครสมาชิกด้วยความสมัครใจ

     4. จัดตั้งกฎชุมชนเข้มแข็ง
เทคนิค/วิธีการ
          1) เสนอกฎต่างๆ ในที่ประชุม  ขอมติรับรองจากที่ประชุมทีละข้อ
     5. ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องยาเสพติด
เทคนิค/วิธีการ
          1)  ให้ความรู้ในที่ประชุมประจำเดือนทุกเดือน
2)  สอดแทรกในการประชุมของหมู่บ้านและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญ
     6. จัดตั้งกองทุนแก้ไขปัญหายาเสพติด  วิธีการหาทุน/เพิ่มทุน
เทคนิค/วิธีการ
          1) จัดตั้งกองผ้าป่าสมทบกองทุน
2) เก็บเงิน 20 บาท/คน/ปี  ทุกครัวเรือน
3) สมทบจากกองทุนหมู่บ้าน  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หรือกองทุนอื่น ๆ เป็นประจำทุกปี โดยตั้งอยู่ในระเบียบของกองทุนนั้น ๆ เป็นหลักฐานให้ชัดเจน
4) จัดทำเสื้อกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำหน่ายให้สมาชิก
     7. ประชาคมคัดแยกโดยสันติวิธี
เทคนิค/วิธีการ
          1)  ประชุมสมาชิกเพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน และหาวิธีการคัดแยกโดยสันติวิธี
2)  ให้ที่ประชุมลงมติเลือกคณะกรรมการตรวจสอบผลการคัดแยก 3 คน
3)  วิธีการคัดแยก ผู้ค้า ผู้เสพ โดยการให้สมาชิกเข้าคูหา เขียนชื่อ ผู้ค้า ผู้เสพ แล้วหย่อนใส่กล่องต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ ทีละคน
4)  คณะกรรมการ 3 คน ตรวจผลการลงชื่อผู้ค้า ผู้เสพ ในกล่องหย่อนบัตรรายชื่อ และให้จำว่ามีรายชื่อ ผู้ค้าหรือผู้เสพ หรือไม่  จากนั้น ให้เผาบัตรลงชื่อทุกใบต่อหน้าสมาชิก และกรรมการประกาศว่ามีผู้ค้ากี่คน และผู้เสพกี่คน โดยไม่บอกรายชื่อ ให้รู้เฉพาะกรรมการเท่านั้น
5)  หากมีผู้ค้า ผู้เสพ ให้ที่ประชุมร่วมกันหาวิธีแก้ไขปัญหา
6)  หากไม่มีผู้ค้า ผู้เสพ ให้ที่ประชุมร่วมกันวางแผนวิธีการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด
     8. ทำกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกัน (อย่างต่อเนื่อง)
เทคนิค/วิธีการ
          1) อยู่เวรยาม 7 วันอันตราย , เวรยามประจำเดือน ทุกเดือน โดยซื้อกาแฟ  ข้าวต้ม หรือเครื่องดื่มชูกำลังให้ผู้อยู่เวรยาม
2) พัฒนาหมู่บ้านในวันสำคัญ เช่น วันแม่  วันพ่อ เป็นต้น
3) จัดแข่งขันกีฬาต้านภัยยาเสพติด
    9. การรับรองครัวเรือนปลอดภัย
เทคนิค/วิธีการ
1)      รับรองครัวเรือน โดยการอ่านรายชื่อครัวเรือนสมาชิกทีละครัวเรือน และให้สมาชิกมายืนด้านหน้าเวทีการประชุมแล้วหันหลังให้ที่ประชุม  ให้ที่ประชุมยกมือรับรอง หากรับรองร้อยละ 100 ถือว่า ครัวเรือนผ่านการรับรอง
     10. มอบธง
เทคนิค/วิธีการ
1)      จัดพิธีมอบธงครัวเรือนปลอดยาเสพติดแก่ครัวเรือนสมาชิกที่ผ่านการรับรองจากเวทีประชาคม
     11. การรักษาสถานะชุมชนเข้มแข็ง

เทคนิค/วิธีการ
          1)  ประชุมสมาชิกเพื่อให้ความรู้ และผลการดำเนินงานเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดเป็นประจำทุกเดือน
2)  คัดแยกผู้ค้า ผู้เสพ เป็นประจำทุกเดือน
ลักษณะกองทุนแม่ที่เข้มแข็ง
          1. ผู้นำเข้มแข็งมีกิจกรรมเป็นรูปธรรม
    - ผู้นำอำนวยความสะดวกและร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขี้นในชุมชน / หมู่บ้าน
    - ผู้นำเข้าร่วมกิจกรรมในหมู่บ้านครบทุกคน /ทุกครั้ง
          2. สมาชิกในหมู่บ้าน / ชุมชนให้ความร่วมมือ
    - ครัวเรือนในหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 70 ขึ้นไปเข้าร่วมกิจกรรมในหมู่บ้านที่จัดขึ้น
2. ประชุมหารือในหมู่บ้าน  เรื่องยาเสพติดอยู่เป็นนิจอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
     - ชุมชนมีการหารือเรื่องยาเสพติดเดือนละ 1 ครั้ง
4.กิจกรรมในหมูบ้าน/ชุมชน ดำเนินการโดยยึดหลักพึ่งตนเอง
    - กิจกรรมส่วนใหญ่ในหมู่บ้าน ที่จัดขึ้นในหมู่บ้านกลไกการขับเคลื่อนงานหลัก คือ หน่วยงานภาครัฐ / องค์การบริหารส่วนตำบล/ผู้นำชุมชน/คนในชุมชน
5. กฎทางสังคม  เรื่องยาเสพติด และมีการบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง
     - มีการบังคับใช้กฎทางสังคมเรื่องยาเสพติดอย่างจริงจัง
     - มีการทำความเข้าใจกับคนในชุมชนเรื่องกฎสังคม/ยาเสพติด
6. มีกลไกเฝ้าระวังยาเสพติดหมู่บ้าน/ชุมชน อย่างเป็นระบบ และมอบหมายภารกิจที่ชัดเจน
    - มีการจัดเวรยามเฝ้าระวังยาเสพติด อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
7. มีการค้นหาผู้เสพ ผู้ค้า อยู่เสมือโดยไม่ปิดบัง
    - มีการทำประชาคม (โดยชุมชน) เพื่อค้นหาผู้เสพ / ผู้ค้า ทุก ๆ ปี
8. มีกิจกรรมป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด
    - มีกิจกรรมป้องกัน/ แก้ไขปัญหายาเสพติดต่อเนื่องเป็นประจำ
9. มีกิจกรรมประชามติในหมู่บ้าน/ชุมชน ยินดีเข้าร่วม
    - ครัวเรือนในหมู่บ้าน มีประชามติยินดีเข้าร่วมดำเนินการตามแนวกองทุนแม่ฯ ร้อยละ 20
10. มีการจัดตั้งกองทุนยาเสพติดของหมู่บ้าน
    - มีการจัดตั้งกองทุนยาเสพติด เงินทุน  12,000 บาท  คือเงินบริจาคของคนในชุมชน
11. มีการบูรณาการกับองค์กรต่าง ๆ ในหมู่บ้าน
    - มีการเชื่อมโยงบูรณาการกับองค์กรอื่น ๆ เช่น กลุ่มสตรี/ออมทรัพย์/ไม้กวาด/กองทุนหมู่บ้าน/ทอผ้า
12. มีกิจกรรมแสดงความจงรักภักดี เช่นจุดเทียนชัยถวายพระพรในวันพ่อ วันแม่
ปัญหา/อุปสรรค
          1) ผู้นำ ประชาชน เกรงกลัวผู้มีอิทธิพลเรื่องยาเสพติด จึงไม่กล้าบอกข้อมูลความเป็นจริงแก่คณะกรรมการ
2) บางครอบครัวไม่ยอมรับว่าสมาชิกในครัวเรือนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จึงไม่ให้ความร่วมมือ
3) การขาดบุคลากรที่มีศักยภาพในการจัดเวทีให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์
ข้อเสนอแนะ
          ๑) ในการดำเนินงานทุกขั้นตอน ต้องใช้ความระมัด ระวัง ละเอียด รอบคอบ และต้องให้ความสำคัญกับทุกเวทีอย่างจริงจัง

๒) ประสานหน่วยงานภาคีให้เป็นความสำคัญของการดำเนินงาน กองทุนแม่ของแผ่นอย่างจริงจัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น