วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

KM : กลยุทธ์การเขียนโครงการขอรับเงินสนับสนุนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยนางสาวกมนนุช ดำประเสริฐ

ชื่อเรื่อง กลยุทธ์การเขียนโครงการขอรับเงินสนับสนุนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี       
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ  การเขียนโครงการขอรับการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน (สตรี)
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ   ปี ๒๕๖๐
สถานที่เกิดเหตุ   อำเภอท่าตะโก   จังหวัดนครสวรรค์
เนื้อเรื่อง
               กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติ การบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘  และข้อบังคับคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีว่าด้วยการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี พ.ศ.  ๒๕๕๙  โดยคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเป็นผู้กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ และแนวทางในการ บริหารกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์  ซึ่งมีคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับจังหวัด คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีกรุงเทพมหานคร เป็นกลไกในการบริหารกองทุน พิจารณาและอนุมัติโครงการของสมาชิกที่ ยื่นขอรับการสนับสนุนและขับเคลื่อนงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี และมีคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีทุกระดับอาสาสมัครผู้ประสานงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีหมู่บ้าน/ชุมชนเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการ ดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

วัตถุประสงค์ในการเขียนโครงการ
                   ๑.เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการประกอบอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้
                   ๒.เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มเข้าใจในโครงการที่จะดำเนินการร่วมกัน
                   ๓.เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบงานที่จะดำเนินกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม
ขั้นตอนการดำเนินงาน
                   ๑.สมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีที่รวมตัวกันตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไปเขียนโครงการและยื่นแบบเสนอโครงการ ณ ที่ทำการคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล/เทศบาล ในพื้นที่ที่ตั้งของผู้ขอกู้
                   ๒.คณะทำงานขับเคลื่อนฯตำบล/เทศบาล ให้ความเห็นในโครงการฯที่สมาชิกกองทุนฯยื่นแบบโครงการขอรับการสนับสนุน
                   ๓.คณะทำงานขับเคลื่อนฯตำบล/เทศบาล ส่งโครงการให้ อกส.อ.พิจารณากลั่นกรองโครงการ   (ส่งโครงการที่ผ่านการพิจารณาให้ อกส.จ.และโครงการที่ไม่ผ่านส่งคืนสมาชิกปรับปรุงแก้ไข)
                   ๔.คณะทำงานขับเคลื่อนจังหวัดพิจารณาโครงการ สนง.เลขานุการ อกส.จ.แจ้งผลการพิจารณาอนุมัติให้สมาชิกและสนง.เลขานุการ อกส.อ.ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
                   ๕.สนง.เลขานุการ อกส.จ แจ้งสมาชิกที่ได้รับอนุมัติโครงการเปิดบัญชีธนาคารรองรับเงินกองทุนฯ
                   ๖.สมาชิกทำสัญญา ณ.สนง.เลขานุการ อกส.อ. และสนง.เลขานุการ อกส.อ.ส่งสัญญา(ฉบับจริง)
พร้อมสำเนาบัญชีเงินฝากธนาคารให้ สนง.เลขานุการ อกส.จ.

รายละเอียดองค์ประกอบโครงการ
                   ๑.ชื่อโครงการ เขียนชื่อโครงการที่สอดคล้องกับกิจกรรมที่กลุ่มจะดำเนินการ ชื่อโครงการต้องชัดเจนและต้องระบุประเภทโครงการที่จะดำเนินการ
                    ๒.ผู้กู้ต้องระบุประเภทของผู้กู้ว่าเป็นผู้กู้ประเภทใดให้ชัดเจน
                   ๓.ชื่อ สกุล เป็นการเขียนรายละเอียดของผู้กู้จำนวน ๕ (องค์กรสตรีที่ไม่เป็นนิติบุคคล ประธาน+กรรมการ รวม ๕ คน คนที่ ๑ ต้องระบุผู้แทนกลุ่มที่ได้รับความเห็นชอบจากกลุ่มให้เป็นผู้แทนกลุ่มที่ทำหน้าที่เป็นผู้เสนอโครงการ (ผู้กู้หลัก ส่วนที่เหลืออีก ๔ คนเป็นผู้กู้ร่วม)
                   ๔.หลักการเหตุผล เขียนให้เห็นถึงความจำเป็น ประโยชน์ที่จะได้รับหากโครงการได้รับการอนุมัติให้มาทำกิจกรรมตามโครงการของกลุ่ม
                   ๕.วัตถุประสงค์ เขียนให้รู้ว่าต้องการให้อะไรเกิดขึ้น วัตถุประสงค์ที่เขียนควรเขียนให้ชัดเจนและสิ่งสำคัญสามารถปฎิบัติและวัดผลเป็นรูปธรรมได้
                   ๖.รายละเอียดแผนงานต่างๆ แผนงานที่ทางกลุ่มเขียนต้องแสดงขั้นตอน ระยะเวลาการ ดำเนินงานในแต่ละรายการให้ชัดเจน
  ๖.๑ แผนการเบิกเงิน ต้องระบุงวดการเบิกเงินกู้
  ๖.๒ ระยะเวลาดำเนินงานตามโครงการ ระบุจำนวนเดือน/ปี ที่จะดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จ
  ๖.๓ แผนการชำระเงินคืน ดูความสามารถของกลุ่มหากดำเนินกิจกรรมตามโครงการสำเร็จ
สามารถส่งใช้เงินคืนกองทุนฯได้อย่างไร ภายในระยะเวลา ๒ ปี(ตามเงือนไขกองทุนฯ)
                     ๗.งบประมาณ เป็นประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของโครงการ ต้องระบุรายละเอียดค่าใช้จ่ายแต่ ละรายการให้ชัดเจนต้องการใช้จ่ายงบประมาณในรายการนั้นๆ
                     ๘.สถานที่ที่จะดำเนินการ โครงการที่จะดำเนินการตามโครงการตั้งอยู่ที่ไหน สามารถให้ หน่วยงานติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการได้
                     ๙.แหล่งวัตถุดิบ แหล่งที่จะดำเนินการซื้อวัตถุดิบที่จะใช้ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ควรเป็นแหล่งวัตถุดิบในพื้นที่
                    ๑๐.สถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากโครงการ ระบุหากโครงการฯมีผลผลิตเกิดขึ้นแหล่งที่จะนำไปจำหน่ายเป็นสถานที่ไหนที่จะรองรับผลผลิตได้
                    ๑๑.ลักษณะการดำเนินโครงการ ระบุให้ชัดเจนหากเป็นโครงการที่ดำเนินการใหม่ หรือเป็นโครงการที่ขยายกิจกรรมที่มีอยู่เดิมแล้ว
                   ๑๒.การสมทุบทุนของกลุ่ม เมื่อมีการรวมกลุ่มๆขาดงบประมาณหลักแต่ส่วนอื่นกลุ่มมีอะไรสมทบเพื่อให้โครงการประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย
                   ๑๓.รายได้รวมของกลุ่ม เป็นการประมาณการหากโครงการดำเนินการตามเป้าหมายรายได้ของกลุ่มจะประมาณการได้เท่าไร คุ้มกับการลงทุนหรือไม่
                   ๑๔.ผลที่คาดว่าจะได้รับ เมื่อโครงการเสร็จเสร็จแล้วผลประโยชน์จะได้กับใคร มากน้อยแค่ไหน

กลยุทธ์ในการทำงาน
                   ๑. โครงการที่เป็นการกู้ยืม ต้องมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการใช้เงินอย่างชัดเจน ซึ่งมีผลต่อการท างานการพัฒนาอาชีพ การสร้างงาน หรือการสร้างรายได้เป็นสำคัญ
 ๒. เป็นโครงการที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรี องค์กรสตรี หรือชุมชนในการพัฒนาศักยภาพ
บทบาทสตรีและเครือข่ายสตรี การเฝ้าระวังและดูแลปัญหาของสตรี การช่วยเหลือเยียวยาสตรีที่ประสบปัญหา   ในทุกรูปแบบ การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิสตรี ตลอดจนการรงณรงค์ให้สังคมเข้าใจปัญหาสตรีในทุกมิติ
๓. เป็นโครงการที่ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมในการพัฒนาบทบาทและแก้ไขปัญหาสตรี
ขององค์กรต่างๆ การสร้างภาวะผู้นำ การพัฒนาองค์ความรู้ คุณภาพชีวิต การสร้างสวัสดิการให้แก่สตรี รวมทั้ง  ส่งเสริมความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของสตรี (ประเภทอุดหนุน) ทั้งนี้ มีเงื่อนไขกำหนดว่าโครงการที่ จะขอรับการสนับสนุนต้องไม่เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการและ แหล่งเงินทุนอื่น เว้นแต่กรณีได้รับแต่ไม่เพียงพอ
๔ วิธีการขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนให้สมาชิกกองทุนฯ ยื่นคำขอพร้อมเอกสาร
หลักฐานตามแบบที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนดต่อคณะทำงานขับเคลื่อนฯตำบล/เทศบาลและ คณะทำงานขับเคลื่อนฯจังหวัด/กทม. ตามลำดับ
ขุมความรู้
 ๑. หลักการบริหารงานของสมาชิกกลุ่ม
 ๒. หลักประชาธิปไตยในการทำงานร่วมกัน
 ๓. หลักการมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม  
แก่นความรู้  
๑.      การมีส่วนร่วมของกลุ่มในการขับเคลื่อนงานและส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการ
ทำงานเป็นทีมก่อให้เกิดความเข้มแข็ง
                   ๒. การสร้างภาวะผู้นำในการบริหารงานทำให้งานมีระบบและมีประสิทธิภาพ
                   ๓. การกำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
ปัญหาอุปสรรค
                  ๑. คณะกรรมการขาดความรู้ความเข้าใจในการเขียนโครงการที่ดี
                  ๒. คณะกรรมการขาดการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนและโครงการไม่สอดคล้องกับ ระยะเวลาการคืนเงิน
แนวทางแก้ไข
                ๑. ควรมีการฝึกอบรมการเขียนโครงการแก่สมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีทุกหมู่บ้าน .

                ๒. ควรมีการติดตามนิเทศงานผลการขับเคลื่อนงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับทราบปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน 

ชื่อ  สกุล        นางสาวกมนนุช  ดำประเสริฐ
ตำแหน่ง          นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด             สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะโก  จังหวัดนครสวรรค์
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก   ๐๘-๖๙๒๙-๙๕๖๐  

7 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีคะ อยากได้ตัวอย่างการเขียนโครงการคะ
    ตัวอย่างที่เขียนผ่านแล้วคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สวัสดีค่ะอยากได้ ตัวอย่างการเขียนโครงการค่ะ

      ลบ
  2. สวัสดีค่ะ อยากได้ตัวอย่างการเขียนโครงการ ค่ะ

    ตอบลบ
  3. มีตัวอย่างไหมค่ะ อยากได้

    ตอบลบ
  4. สวัสดีคะ
    ขอคำแนะนำในการเขียนโครงการด้วยคะ..ขอบคุณคะ

    ตอบลบ
  5. มีตัวอย่างการเขียนโครงการไหมคะอยากได้คะ ขอบคุณคะ

    ตอบลบ