วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

KM : กิจกรรมเครือข่ายงานพัฒนาชุมชน โดยนางสาวศศิลักษณ์ คล้า่ยวิมุติ

ชื่อความรู้      กิจกรรมเครือข่ายงานพัฒนาชุมชน

 เรื่องเล่า
               1. ส่วนนำ
จังหวัดนครสวรรค์ได้ดำเนินงานโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบตั้งแต่ปี 2552-2560          
เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต และเป็นเป้าหมายของการพัฒนาหมู่บ้าน โดยจัดกระบวนการเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้าน ได้ใช้ความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ ตลอดจนนำแนวทางการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่มีความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์การดำเนินกิจกรรมต่างๆ พร้อมทั้งสนับสนุนให้หมู่บ้านสามารถเป็นต้นแบบในการส่งเสริมความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงสู่หมู่บ้านอื่นๆ โดยจังหวัดมีกิจกรรมการประกวดเชิดชูเกียรติเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น เป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นการสรรหา และคัดเลือกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น  เป็นสุข” ดีเด่นระดับจังหวัด รวมถึงกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น

                2. ส่วนขยาย
            จากการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ตั้งแต่ปี 2552-2560 การดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวจึงเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้หมู่บ้านเกิดการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น คือเกิดทีมนักพัฒนาขึ้น                    ในหมู่บ้าน  ผู้นำชุมชน  ซึ่งแกนนำหลักได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกอบต. ผู้นำอช. ผู้นำสตรี ประธานกลุ่ม/องค์กร ปราชญ์ เป็นต้น ส่งผลให้ให้บ้านที่มีศักยภาพได้รับการพัฒนาเข้าสู่กระบวนการประกวดกิจกรรมเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น เพื่อเป็นการสร้างขวัญ และกำลังใจ รวมถึงการใช้ดำเนินชีวิตตามหลักของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างยั่งยืน
3. ส่วนสรุป
                   ผลจากการดำเนินโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ทำให้หมู่บ้านเกิดกระบวนการพัฒนามากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ เกิดทีมนักพัฒนาภาคประชาชนขึ้น บุคคลเหล่านี้จะเป็นแกนนำหลักในการพัฒนาหมู่บ้าน  การบริหารจัดการชุมชนที่ดีขึ้นภายใต้หลักการของการมีส่วนร่วมของชุมชนนั่นเอง ส่งผลให้การประกวดเชิดชูเกียรติเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น เพื่อเป็นการสรรหา และคัดเลือกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น  เป็นสุข” ดีเด่น รวมถึงกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น อื่นๆ ได้รางวัล หมู่บ้าน กลุ่ม/องค์ ผู้นำ เป็นที่รู้จัก และได้รับยอมรับจากหน่ายงาน ภาคีการพัฒนา และหมู่บ้านอื่นซึ่งสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้หมู่บ้านอื่นเกิดการพัฒนาไปในทางที่ดี
 4. ขุมความรู้
     1. สร้างแกนนำจากอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการในการเป็นครัวเรือนต้นแบบจากทุกคุ้ม/กลุ่มบ้าน
         ครอบคลุมทุกคุ้มบ้าน
2. จัดประชุมให้ความรู้กับผู้นำ/อาสาสมัครครัวเรือนต้นแบบได้เข้าใจถึงความหมายของคำว่า 
     เศรษฐกิจพอเพียง โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์หมู่บ้านร่วมกัน
3. นำทีมผู้นำ ตัวแทนครัวเรือนต้นแบบศึกษาดูงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเพื่อนำมาปรับ
     ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหมู่บ้าน
4. ผู้นำ/อาสาสมัครครัวเรือนต้นแบบปฏิบัติก่อนให้เห็นเป็นตัวอย่าง
5. จัดระบบวางแผนการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม
5. แก่นความรู้
1. เกิดผู้นำชุมชนจากกระบวนพัฒนาหมู่บ้านตามโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบฯ
2. หมู่บ้านเกิดการพัฒนาที่ดีขึ้น การพึ่งพาตนเอง การยอมรับ ความเอื้ออาทรกันในชุมชน
    3. ชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการร่วมคิด วางแผน และปฏิบัติ

เจ้าของความรู้            นางสาวศศิลักษณ์   คล้ายวิมุติ
ตำแหน่ง/สังกัด            นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่วงก์   
                             อำเภอแม่วงก์  จังหวัดนครสวรรค์
ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์   สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่วงก์ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ 60150
                           โทร. 0 5623 8011


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น