วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

KM : การดำเนินการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) โดย สากล รุ่งทอง

กรมการพัฒนาชุมชนได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการประสานการดำเนินการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ซึ่งดำเนินการเป็นประจำทุกปี      เพื่อเผยแพร่ให้ทุกหน่วย
งานนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการพัฒนา/กำหนดนโยบายแนวทางปฏิบัติ   ทั้งนี้เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลฯ เป็นไปด้วยความถูกต้องทันตามกำหนดและมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
การดำเนินการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
2.1 สำรวจข้อมูลจำนวนครัวเรือนของแต่ละหมู่บ้านว่าจะดำเนินการจัดเก็บกี่ครัวเรือน โดย
ประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านเป็นให้เป็นผู้ดำเนินการ หากมีจำนวนครัวเรือนเพิ่มขึ้น ให้จัดสรรแบบสอบถามข้อมูลฯ เพิ่มเติม
2.2 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ ระดับตำบล
2.3 แต่งตั้งอาสาสมัครในการจัดเก็บข้อมูลฯ  โดยอาสาสมัคร 1 คน จะรับผิดชอบในการจัดเก็บ
ประมาณ 10 - 20 ครัวเรือน
2.4 ประชุมชี้แจงคณะกรรมการบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ ระดับตำบล เพื่อให้เกิดความเข้าใจไป
ในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งหาแนวทางปรับปรุง/แก้ไขปัญหาในปีที่ผ่านมา
2.5 คณะกรรมการบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ ระดับตำบล ร่วมประชุมชี้แจงการจัดเก็บข้อมูลฯ
และแนะนำแนวทาง  เพื่อปรับปรุงข้อผิดพลาดที่ผ่านมาแก่อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลฯ
                  2.6 ภายหลังการจัดเก็บข้อมูลฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว      จะต้องนำแบบสอบถามทุกเล่มมาตรวจสอบความ สัมพันธ์และถูกต้องของข้อมูลก่อนนำไปบันทึก     หากข้อมูลมีความขัดแย้ง ไม่สัมพันธ์กัน จะส่งคืนให้อาสาสมัครนำไปตรวจสอบและทบทวนใหม่ แล้วจึงนำไปบันทึกลงในโปรแกรม จปฐ.   โดยบุคคลที่เข้ารับการฝึกอบรมการใช้โปรแกรมฯ
2.7 เมื่อดำเนินการบันทึกข้อมูลฯ เสร็จแล้ว จะต้องตรวจสอบความถูกต้อง โดยการประมวลผล
ข้อมูล ฯ ให้เป็นภาพรวมของหมู่บ้าน/ตำบล/อำเภอ
2.8 จัดส่งข้อมูลที่บันทึกประมวลผลแล้ว ให้คณะกรรมการบริหารข้อมูล จปฐ. ระดับตำบล
เพื่อให้ศึกษาข้อมูลก่อนจัดเวทีรับรองผลข้อมูลฯ
2.9 จัดประชุมผู้แทนจากทุกหมู่บ้าน  เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลฯ  โดยการนำเสนอ
ข้อมูลฯ ที่ตกเกณฑ์/ผ่านเกณฑ์ หากตรงกับความเป็นจริง ให้ยืนยันข้อมูล    หากไม่ตรงกับความเป็นจริงให้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลดังกล่าว ให้ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริงต่อไป
2.10 นำผลจากการวิเคราะห์เรียบร้อยแล้ว จัดทำลงแผ่นโปสเตอร์มอบให้ผู้ใหญ่บ้านนำไปติดไว้
ที่อาคาร เอนกประสงค์ หรือที่ซึ่งใช้เป็นสถานที่ประชุมของหมู่บ้าน ให้คนในหมู่บ้านทราบทั่วกัน เพื่อใช้ประกอบเป็นข้อมูลในการประชุมวางแผนการพัฒนาหมู่บ้าน ต่อไป
ขุมความรู้
1. สำรวจข้อมูลจำนวนครัวเรือนของแต่ละหมู่บ้านว่าจะดำเนินการจัดเก็บกี่ครัวเรือน โดย
ประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านเป็นให้เป็นผู้ดำเนินการ หากมีจำนวนครัวเรือนเพิ่มขึ้น ให้จัดสรรแบบสอบถามข้อมูลฯ เพิ่มเติม
2. ประชุมชี้แจงคณะกรรมการบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ ระดับตำบล เพื่อให้เกิดความเข้าใจไป
ในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งหาแนวทางปรับปรุง/แก้ไขปัญหาในปีที่ผ่านมา
3. ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลฯ ตามแบบสอบถามข้อมูลฯ  โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ตัวแทน
ครัวเรือน (ที่มีวุฒิภาวะในการคิด ตัดสินใจ)
               
แก่นความรู้
1. เมื่อดำเนินการบันทึกข้อมูลฯ เสร็จแล้ว จะต้องตรวจสอบความถูกต้อง โดยการประมวลผล
ข้อมูล ฯ ให้เป็นภาพรวมของหมู่บ้าน/ตำบล/อำเภอ    และจัดประชุมผู้แทนจากทุกหมู่บ้าน  เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลฯ  โดยการนำเสนอข้อมูลฯ ที่ตกเกณฑ์/ผ่านเกณฑ์ หากตรงกับความเป็นจริง ให้ยืนยันข้อมูล    หากไม่ตรงกับความเป็นจริงให้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลดังกล่าว ให้ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริงต่อไป
2. นำผลจากการวิเคราะห์เรียบร้อยแล้ว จัดทำลงแผ่นโปสเตอร์ มอบให้ผู้ใหญ่บ้านนำไปติดไว้
ที่อาคาร เอนกประสงค์ หรือที่ซึ่งใช้เป็นสถานที่ประชุมของหมู่บ้าน ให้คนในหมู่บ้านทราบทั่วกัน เพื่อใช้ประกอบเป็นข้อมูลในการประชุมวางแผนการพัฒนาหมู่บ้าน ต่อไป
เจ้าของความรู้  :  นายสากล  รุ่งทอง
ตำแหน่ง/สังกัด :   นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ     สังกัด  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองบัว
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ  :  การดำเนินการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์
โทร. 0๘๙ – ๔๖๑ - ๓๙๙๕

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น