วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

KM : เทคนิคการเตรียมการประชุมกลุ่มเป้าหมายให้ได้ตามที่กำหนด โดย อนุชา ลิขิตพงค์ธร

           ตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนประจำปีงบประมาณ 2559 ให้อำเภอดำเนินการจัดทำโครงการตามแนวทางการดำเนินงาน/กิจกรรมตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน เป็นประจำทุกปี
 และโครงการส่วนมากจะมีการเรียกประชุมกลุ่มเป้าหมายฯ เช่น การประเมินความสุขมวลรวม GVH เจ้าหน้าต้องเตรียมการประสานกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม/ประเมินความสุขมวลรวม ตลอดจนประสานผู้รับจ้างทำอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม ตามเป้าหมาย จากการค้นหาปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ ผู้เข้าร่วมประชุมจะมาไม่ครบตามจำนวนเป้าหมายที่กำหนด มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ฤดูการประกอบอาชีพของประชาชนในหมู่บ้าน และความเข็มแข็งของผู้นำท้องที่ กรณีให้ผู้นำหรือผู้ใหญ่บ้านช่วยประสานกลุ่มเป้าหมายฯ
จากอุปสรรคดังกล่าว ทำให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด จึงทำให้การดำเนินกิจกรรมไม่ประสพผลสำเร็จเท่าที่ควร ตลอดจนการประเมินโครงการต่างๆไม่สมบูรณ์ เช่น การประเมินความสุขมวลรวม GVH   สิ่งที่ค้นพบหลังจากได้พูดคุยกับผู้นำหมู่บ้าน ก็ได้คำตอบว่าช่วงนี้เป็นฤดูทำนาประชาชนไม่ค่อยว่าง และอีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือ มีหลายหน่วยงานมาเรียกประชุมบ่อย จนทำให้ชาวบ้านไม่มีเวลาไปประกอบอาชีพ  จึงอยากจะขอฝากให้หลาย ๆ หน่วยงานลงมาประชุม/อบรมพร้อมๆ กันได้หรือไม่ โดยให้ประสานล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน เพื่อให้ผู้ใหญ่บ้านได้มีเวลาจัดเตรียมความพร้อม และประสานหน่วยงานอื่นๆ ประชุมไปพร้อมๆ กัน เป็นเสียงสะท้อนจากผู้ใหญ่บ้าน
ผลจากการลองปฏิบัติ ที่ผ่านมามีกิจกรรม ประเมินความสุขมวลรวม GVH รอบที่  ๒ ได้ประสานผู้ใหญ่บ้านล่วงหน้าดังกล่าว ผลปรากฏว่ามีผู้เข้าร่วมอบรมมากกว่า ๕๐ คน ซึ่งตามเป้าหมายโครงการเพียง๓๐ คนเท่านั้น เหตุผลเพราะผู้ใหญ่ประชาสัมพันธ์ประชาคมเขตหมู่บ้านไปพร้อมๆกัน ซึ่งผู้ใหญ่ใช้เวลาในการประชาคมเพียงครึ่งชั่วโมง หลังจากนั้นก็ยกเวทีให้พัฒนากรดำเนินกิจกรรมต่อส่งผลให้การดำเนินกิจกรรม          มีผู้เข้าร่วมประชุมเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนด ค่าการประเมินจึงมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นตามจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม
ขุมความรู้
แนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อใช้ในการดำเนินงาน โดยจับประเด็นปัญหา และหาแนวทางแก้ไข  ดังนี้
1. พัฒนากรต้องวางแผนการดำเนินกิจกรรมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า  1  เดือน
2. ต้องทราบฤดูการประกอบอาชีพในหมู่บ้าน
3. ต้องประสานผู้นำท้องที่/ผู้ใหญ่บ้านไม่น้อยกว่า  1  เดือน
4. ให้ผู้นำพื้นที่/ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้กำหนดวันประชุมเอง เพราะผู้ใหญ่บ้านจะรู้ว่าช่วงไหนที่ลูกบ้านว่าง
๕. จัดเวทีประชุมร่วมกับหน่วยงานภาคีอื่นๆ

แก่นความรู้
รู้พื้นที่ แผนดี ประสานภาคี มีส่วนร่วม

เจ้าของความรู้   นายอนุชา  ลิขิตพงค์ธร                                                
ตำแหน่ง/ สังกัด นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ /สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอไพศาลี
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ  การเรียกกลุ่มเป้าหมายประชุมให้ได้ตามเป้าหมายกำหนด
ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์  
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ เบอร์โทรศัพท์   0-๕๖๓๕-๒๔๓๒

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น