วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

KM : การสร้างทีมงานขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านหัวดงเหนือ โดย สุรพันธ์ สุวรรณโชติ

กรมการพัฒนาชุมชน ได้ส่งเสริมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงโดยน้อมนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาเป็นแนวทาง  โดยมีเป้าหมาย
การให้บริการคือ ชุมชนมีความสามารถในการวางแผนบริหารจัดการชุมชน    พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   โดยการเสริมสร้างขีดความสามารถของพลังชุมชนในการบริหารจัดการ แก้ไขปัญหาของชุมชน   และพัฒนาเศรษฐกิจขุมชนฐานรากให้มีความมั่นคง   เพื่อส่งเสริม/พัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านที่มีวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี  โดยน้อมนำความคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรง ชีวิต   รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน  และผู้นำชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาตนเอง  และพัฒนาชุมชนไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบรรลุเป้าหมายทั้ง 3 ระดับ คือ  ระดับ  “พออยู่ พอกิน”   “อยู่ดี กินดี”  และ  “มั่งมี ศรีสุข”   ซึ่งหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบตามเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทย ระดับ “พออยู่ พอกิน”  ต้องผ่านเกณฑ์ จำนวน  10 - 16  ตัวชี้วัด   ระดับ  “อยู่ดี กินดี”  ต้องผ่านเกณฑ์ จำนวน  17 - 22  ตัวชี้วัด  ระดับ “มั่งมี ศรีสุข”  ต้องผ่านเกณฑ์ จำนวน 23 ตัวชี้วัด
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเพื่อให้หยั่งลึกในจิตใจ ชาวบ้านนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ให้เป็นวิถีชีวิต และขยายผลสู่สังคมไทยอย่างเข้มแข็ง คือ ผู้นำ กลุ่ม/องค์กรชุมชน ซึ่งทุกฝ่าย/ทุกคนจะต้องร่วมใจเป็นหนึ่ง  บ้านหัวดงเหนือ  หมู่ที่ 1  ตำบลหัวดง  อำเภอเก้าเลี้ยว  จังหวัดนครสวรรค์ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ซึ่งในปัจจุบันอาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพที่มีรายได้น้อย ราคาผลผลิตตกต่ำ ประชาชนขาดความรู้ทางด้านการเกษตรที่ถูกต้องและปลอดภัยจากสารพิษต่าง ๆ ดังนั้น การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน ก็เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชน  ซึ่งนับได้ว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการดำเนินชีวิต การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน เป็นการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้
กับประชาชนในด้านการคิดวิเคราะห์ การนำเอาความรู้ ประสบการณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาดำเนินการจัดทำและนำมาประกอบเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน มีกิจกรรมการพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ภายในชุมชน หรือระหว่างชุมชน และสามารถถ่ายทอดความรู้จากชุมชนหนึ่งไปสู่ชุมชนหนึ่ง ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแพร่หลาย ชุมชนมีการพัฒนาอย่างมั่นคง รอดพ้นภัยวิกฤตภายใต้หลักแนวคิดแบบพอเพียง
การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ  บ้านหัวดงเหนือ  หมู่ที่ 1  ตำบลหัวดง  อำเภอเก้าเลี้ยวจังหวัดนครสวรรค์  มีองค์ประกอบหลายอย่างในกระบวนการพัฒนา  โดยเฉพาะ ผู้นำ แกนนำ กลุ่ม/องค์กรในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นตัวหลักสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบให้ประสบผลสำเร็จ โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำทาง เป็นผู้เชื่อมประสาน ทั้งกับครอบครัว กลุ่ม องค์กร ในหมู่บ้าน และภาคีภายนอกหมู่บ้าน เพื่อผนึกกำลังร่วมกันในการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ดังนั้น การสร้าง/การส่งเสริมและสนับสนุนผู้นำ กลุ่ม/องค์กรชุมชนให้เป็นแกนนำ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
การดำเนินงานแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
ขั้นที่ 1 การจัดเวทีประชาคม เป็นการชี้แจงให้เห็นความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ชุมชน และกำหนดสถานที่แหล่ง เรียนรู้  ข้อมูล ผู้ถ่ายทอดความรู้ วัดสุและอุปกรณ์ในการดำเนินงาน เช่น
๑) สร้างความรู้ความเข้าใจการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนกับคณะทำงาน
เศรษฐกิจพอเพียงระดับหมู่บ้าน / ตำบล ภาคีการพัฒนา ผู้นำ กลุ่ม องค์กร หรือ ประชาชน
๒) ประสานความขอความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   และภาคีการพัฒนา  ในด้านวิชาการ
งบประมาณ การบริหารจัดการ ฯลฯ
       ๓)  สร้างเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ กับ หมู่บ้าน / ชุมชน อื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงาน
       ๔)  ติดตาม ประเมินผล เพื่อช่วยเหลือแก้ไขปัญหา
       ๕)  รายงานผลการดำเนินงานผ่านช่องทางต่าง ๆ  เช่น  การประชุม หรือ หอกระจายข่าว   เป็นต้น
ขั้นที่ 2  การจัดรูปแบบกิจกรรมสาธิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   เช่น  กิจกรรมการลดรายจ่าย  กิจกรรมการเพิ่มรายได้ กิจกรรมการประหยัด  กิจกรรมการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม  กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   และกิจกรรมการเอื้ออารีต่อกัน
ขั้นที่ 3 การศึกษาดูงาน  จากแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ เพื่อนำมาประยุกต์ หรือ ปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพสังคม สภาพแวดล้อมของหมู่บ้าน /ชุมชน
ขั้นที่ 4 การเก็บรวบรวมองค์ความรู้ จากปราชญ์ชาวบ้าน/บุคลากรที่มีองค์ความรู้แต่ละประเภท เพื่อบันทึกองค์ความรู้เป็นลายลักอักษร
ขั้นที่ 5 การค้นหาวิทยากรผู้ให้ความรู้  ได้แก่  อาสาสมัคร ปราชญ์ชาวบ้าน บุคลากรที่มีองค์ความรู้แต่ละประเภท หรือเจ้าขององค์ความรู้ เพื่อทำหน้าที่เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ของหมู่บ้าน
ขั้นที่ 6 การบริหาร จัดการ สถานที่แหล่งเรียนรู้ให้มีความพร้อม  เช่น  เอกสารประกอบคำบรรยาย ป้ายแสดงข้อมูล วัสดุและอุปกรณ์สาธิตกิจกรรม ฯลฯ
ขั้นที่ 7 สรุปแนวทางการดำเนินงาน  เสนอเวทีประชาคมเพื่อตรวจสอบความพร้อม และความถูกต้องของข้อมูล ฯลฯ
ข้อสรุป  การเรียนรู้เกิดได้ทุกแห่ง ทุกสถานที่ ที่เกิดขึ้นมากที่สุดไม่ได้เกิดจากการสอนในห้องเรียน แต่
เกิดขึ้นจากการที่ได้พูดคุยกัน ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่ใช่ห้องเรียน แต่เป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียน ที่เกิดขึ้นในครอบครัว ชุมชน และที่กว้างใหญ่ที่สุด คือ สังคม ความรู้ที่เกิดขึ้นในสถานที่ต่างๆ ที่หลากหลาย จึงเรียกว่า แหล่งเรียนรู้ ซึ่งหมายถึงสิ่งที่มีอยู่ในสังคมรอบๆ ตัวเราอาจเป็นสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทำให้คนในสังคมเกิดการเรียนรู้ เช่น แหล่งเรียนรู้ด้านข้อมูล ด้านวัฒนธรรม ประเพณี ด้านการประกอบอาชีพ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆที่มีความสนใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนาอาชีพ พัฒนาตนเอง สร้างความเข้มแข็งแบบพอเพียงอย่างยั่งยืน
ขุมความรู้
๑.  การคัดเลือกหรือการสร้างทีมงาน หมายถึง คณะทำงาน หรือ กลุ่มเป้าหมายที่มีส่วนร่วมในการ
วางแผนและขับเคลื่อนกิจกรรม จะต้องเป็นบุคคลที่มีความเป็นผู้นำ เสียสละ และมองเห็นประโยชน์ของกิจกรรม
๒.  ความรู้ในการปฏิบัติงาน คือ คณะทำงานต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับงานที่จะดำเนินการ และสามารถชี้แจง อธิบาย หรือถ่ายทอดความรู้ได้อย่างชัดเจน
๓. การคัดเลือกแหล่งเรียนรู้ อาจเป็นสถานที่ๆมีโครงสร้างเป็นอาคาร หรือ โรงเรือน หรือสถานที่
จากการปฏิบัติงานจริง เช่น สถานที่ประกอบอาชีพ ไม่เน้นการเรียนการสอนในห้องเรียน
แก่นความรู้
๑. การประชาสัมพันธ์ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการมีส่วนของประชาชน ทำให้เกิดการยอมรับจากประชาชน
และหน่วยงานที่เข้าร่วมกิจกรรม ชุมชนเห็นศักยภาพของชุมชน รักชุมชน รักษ์ท้องถิ่น รู้จักตนเองและภาคภูมิใจในแหล่งเรียนรู้ของตนเอง
๒. ความต่อเนื่องของกิจกรรม  เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้แหล่งเรียนรู้ของชุมชนประสบผลสำเร็จ หรือ
ล้มเหลวในการดำเนินงาน โดยจะต้องจัดเวทีประชาคมเพื่อสร้างความตื่นตัวของประชาชนเป็นประจำ และเพื่อวิเคราะห์แหล่งเรียนรู้แต่ละด้าน  เพื่อนำมาปรับปรุง วางแผนการดำเนินกิจกรรมให้ตรงเป้าประสงค์ของกิจกรรม

เจ้าของความรู้ นายสุรพันธ์   สุวรรณโชติ                                                                                                    ตำแหน่ง/สังกั นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเก้าเลี้ยว
จังหวัดนครสวรรค์                                                                                                                        
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ   การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์   สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเก้าเลี้ยว  จังหวัดนครสวรรค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น