วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

KM : เทคนิคการสร้างทีมนักพัฒนาภาคประชาชน โดย สุกัญญา ดวงตาเสือ

1. ส่วนนำ (เหตุการณ์นั้นมีความเป็นมาอย่างไร)
เป็นองค์ความรู้ที่ต้องนำมาใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับทีมนักพัฒนาภาคประชาชน เพื่อสร้างสรรค์ชุมชน
อยู่อย่างมีความสุข  ในการนำเรื่อง “การใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการแก้ไขปัญหาความยากจน” มาใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกัน
2. ส่วนขยาย (กระบวนการ/วิธีการ/เทคนิค/ข้อพึงระวังที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน)
กระบวนการ คือ ร่วมกับทีมนักพัฒนาภาคประชาชนวิเคราะห์ชุมชนบ้านหาดเสลา หมู่ที่ ๑ ตำบลเขาดิน  อำเภอเก้าเลี้ยว  จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการชุมชนในการนำมาพัฒนาหมู่บ้าน และประชาคมร่วมกับหมู่บ้านถอดบทเรียนเพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
วิธีการ คือ จัดเวทีประชุมประชาคมเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ ทีมนักพัฒนาภาคประชาชน ตามโครงการริเริ่มสร้างสรรค์ นครสวรรค์สวย เราช่วยกัน สร้างสรรค์เศรษฐกิจพอเพียง (ดี เด่น ดัง) (1 พัฒนากร 1 หมู่บ้าน 1 ทีมนักรบ) ของหมู่บ้านเป้าหมายการพัฒนาบ้านหาดเสลา หมู่ที่ ๑ ตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 9 คน ประกอบด้วย
1.นางวันเพ็ญ  วงศ์สอน   ประธานคณะทำงาน
2.นางจำเนียร  ธะระสวัสดิ์ คณะทำงาน
3.นายไชยันต์  ต่างเกตุ คณะทำงาน
4.นางบุญยานุช  สุดมี คณะทำงาน
5.นางจุฑามาศ  รักแก้ว คณะทำงาน
6.นางเพชรรัตน์  เกิดผล คณะทำงาน
7.นายจรัญ  พูลเกลี้ยง คณะทำงาน
8.นางสาววัชรี  วาดเจียม คณะทำงาน
9.นางเยาวลักษณ์  นาคพุ่ม คณะทำงาน
เทคนิค คือ นำความรู้ที่ได้รับจากการประชุม/ฝึกอบรมมา ให้ความรู้แก่ทีมนักพัฒนาภาคประชาชน เพื่อร่วมกันดำเนินงานตามกระบวนการและวิธีการ เพื่อสร้างสรรค์ชุมชน อยู่อย่าง     มีความสุข โดยใช้หลักธรรมาภิบาล
ข้อพึงระวังที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน คือ การนำความรู้ที่ได้ มาเสริมสร้างความรู้ให้แก่ทีมนักพัฒนาภาคประชาชนอย่างถูกต้อง
3. ส่วนสรุป (ผลของการแก้ปัญหา/พัฒนา)
ทีมนักพัฒนาภาคประชาชน ได้รับความรู้ ความเข้าใจ เพื่อนำมาร่วมกันปฏิบัติงาน เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ชุมชน อยู่อย่างมีความสุข โดยใช้หลักธรรมาภิบาล
4. ขุมความรู้ (ประเด็นหลักที่วิเคราะห์ได้จากเนื้อหา)
ทราบถึงสภาพปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหา คือ ชาวบ้านในหมู่บ้านส่วนใหญ่  มีปัญหาเรื่อง “การสร้างรายได้” ทีมนักพัฒนาภาคประชาชนร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยการประชุมประชาคมให้ชาวบ้านช่วยกันเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาทุกเดือน สรุปได้ว่า ทำอย่างไรจะสร้างรายได้ให้ชาวบ้านอย่างยั่งยืน เช่น การส่งเสริมอาชีพเพิ่มขึ้น , การส่งเสริมอาชีพหลักให้ลดต้นทุนเพิ่มรายได้ , การพัฒนาหมู่บ้านตามแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน , การปลูกพืชผักสวนครัว รั้วกินได้ ไว้บริโภคเองเพื่อลดรายจ่าย , ส่งเสริมการออมเงิน  
5. แก่นความรู้ (การวิเคราะห์จากขุมความรู้ กำหนดเป็นคำสั้น ๆ หรือคำสำคัญที่เป็นแก่นของความรู้)  “สร้างสรรค์ชุมชน อยู่ย่างมีความสุข โดยใช้หลักธรรมาภิบาล”
เจ้าของความรู้  นางสุกัญญา  ดวงตาเสือ
ตำแหน่ง/สังกัด  เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนชำนาญงาน
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ  เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ทีมนักพัฒนาภาคประชาชน เพื่อสร้างสรรค์ชุมชน
อยู่อย่างมีความสุข
ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเก้าเลี้ยว  ที่ว่าการอำเภอเก้าเลี้ยว  ตำบลเก้าเลี้ยว
                         จังหวัดนครสวรรค์  60230  เบอร์โทรศัพท์  0-5629-9381

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น