วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

KM : การตรวจสุขภาพทางการเงินกองทุนชุมชน "กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต" โดย ปภาวี พงษ์จตุรา

1.ความเป็นมา
             กรมการพัฒนาชุมชน มีภารกิจในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้วยการพัฒนาระบบและกลไกลในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ การอาชีพ การออม
และการบริหารจัดการเงินทุนของชุมชน กรมฯ ได้สนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนรู้จักวิธีการบริหารจัดการกองทุน ในชุมชนเพื่อการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินทุนและปัญหาความยากจน โดยส่งเสริมให้มีการก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตขึ้นในชุมชนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๗ เป็นต้นมา
ในปัจจุบัน การดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มีการ เจริญเติบโตมากขึ้นทั้งในด้านปริมาณของเงินทุน และปริมาณของสมาชิก ประกอบกับการเกิดความหละหลวมในการบริหารจัดการเงิน การป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว
2. กระบวนการทำงาน
๑. จัดทำทะเบียนฐานข้อมูลกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตให้เป็นปัจจุบัน
๒. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งทีมผู้ตรวจสุขภาพทางการเงินระดับอำเภอ
๓. ประชุมสร้างความเข้าใจแก่ทีมผู้ตรวจสุขภาพทางการเงิน ตลอดจนเจ้าหน้าที่/ผู้ที              เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการตรวจสุขภาพทุนชุมชน
๔.  จัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกันในการดำเนินงานออกตรวจสุขภาวะทุนชุมชน
๕.  จัดทำหนังสือแจ้งกำหนดการตามแผนแก่กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป้าหมาย เพื่อให้      จัดเตรียมเอกสารหลักฐาน ทะเบียน บัญชี และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับการตรวจ
3. ส่วนสรุป
ผลของการพัฒนาพบว่าก่อนที่จะไปพัฒนาใครเขาเราต้องเตรียมความพร้อมตลอดเวลาดังนี้
๑.  แสวงหาความรู้  เมื่อได้รับมอบหมายงาน แนวทางปฏิบัติชัดเจนนัก จึงต้องแสวงหาความรู้ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับตนเองก่อนที่จะไปพัฒนาคนอื่น ดังคำกล่าว ที่ว่า “จะไปพัฒนาคนอื่นเขา ต้องพัฒนาตัวเราเองก่อน” วิธีการแสวงหาความรู้ นั้น สามารถแสวงหาได้จากเข้ารับการอบรม หรือจากผู้รู้ นักวิชาการจังหวัด เพื่อนพ้องพี่น้องพัฒนาชุมชนของเราเอง จากเอกสารคู่มือแนวทางการดำเนินงาน จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ทางอินเตอร์เน็ต  
                      2. คิดสร้างสรรค์ เมื่อแสวงหาความรู้จนเกิดความรู้ความเข้าใจในหลักการ แนวทางที่จะต้องดำเนินการแล้ว ก็มาวางแผน คิดสร้างสรรค์ ออกรูปแบบ ต่าง ๆ ในการพัฒนาต่อไป
                          3.มุ่งมั่นในการพัฒนา เมื่อเจอปัญหาอุปสรรคอย่าท้อแท้หรือท้อถอย ต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจมีอุดมการณ์ของนักพัฒนาที่จะพัฒนาชุมชนไปสู่เป้า หมายให้ได้ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อประชาชนเป็นหลัก
                          4.ปรึกษาหารือ วางแผนการทำงานให้เป็นระบบ ติดตามตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ
ปรึกษาหารือ ผู้บังคับบัญชา ทีมงาน   ผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กรแกนนำในชุมชน ตลอดจน หน่วยงานภาคีพัฒนาต่าง ๆ เพื่อวางแผนการทำงานร่วมกัน
                          วางแผนการทำงานให้เป็นระบบ คือ การจัดทำแผนการดำเนินงานให้เป็นระบบว่า อะไรทำก่อน   อะไรทำหลังตามลำดับความสำคัญเร่งด่วน ต้องประสานใครบ้าง และใครรับผิดชอบเรื่องอะไร เป็นต้น
                          ติดตามตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ   ติดตามตรวจสอบว่าส่วนไหนกำลังดำเนินการ ส่วนไหนทำไปแล้ว ส่วนไหนยังไม่ได้ทำ มีปัญหาอุปสรรคอะไรจะได้แก้ไขได้ทันท่วงที
4.ขุมความรู้ (Knowledge Assets)
๑.  ทีมผู้ตรวจสุขภาพทางการเงินดำเนินการออกตรวจสุขภาวะทุนชุมชนตามแผน
๒.  นำเครื่องมือตรวจสุขภาพ   (สมุดตรวจสุขภาพฯ ) ประเมินสุขภาพกลุ่ม
ออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป้าหมาย โดยการพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมาย
๓.  ทีมผู้ตรวจสุขภาพฯ และกลุ่มเป้าหมายร่วมกันวิเคราะห์ผลการประเมินสุขภาพนำ
ผลการวิเคราะห์จัดลำดับความสำคัญร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย
            ๔. ทบทวนผลการวิเคราะห์และผลการจัดลำดับความสำคัญของกองทุนชุมชน
    ๕. ร่วมกันค้นหาสาเหตุสุขภาพกองทุนชุมชนที่เป็นปัญหา/ไม่ผ่านเกณฑ์
๖. นำสาเหตุมากำหนดแนวทางการพัฒนาเพื่อให้ผ่านเกณฑ์
๗.  ทบทวนแนวทางการพัฒนาสุขภาพกองทุนชุมชนมีกี่แนวทาง
๘.  นำแนวทางการพัฒนามาวางแผนพัฒนาตามผลการจัดลำดับความสำคัญ
๙.  จัดทำแผนพัฒนาสุขภาพกองทุนชุมชน
๑๐. ดำเนินการพัฒนาตามแผน
5.แก่นความรู้ (Core Competency)
๑. สร้างความมั่นใจ โดยเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะเรื่องใหม่ ๆ ต้องใส่ใจเรียนรู้ให้เกิดทักษะ  ความชำนาญ
๒. สร้างเครือข่ายทีมงานผู้ตรวจสุขภาพฯ   เพื่อขับเคลื่อนการทำงานให้บรรลุผลตามเป้าหมาย
๓. สร้างความรู้ความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานและกำหนดแผนปฏิบัติงานร่วมกัน
๔. สร้าง ความไว้วางใจ การทำงานที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณของทางราชการ ต้องยึดมั่นใน ความสุจริต โปร่งใส และคำนึงถึงหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน ยึดระเบียบแบบแผนของทางราชการ
๕. สร้างแรงบันดาลใจ ความศรัทธาที่มีต่อหน่วยงาน ความภาคภูมิใจต่อตนเอง และต่องานที่มุ่งส่งผลต่อประชาชน อันเป็นแรงบันดาลใจให้มีความอดทนต่อความยากลำบากของงาน ปัญหาอุปสรรคต่างๆ พร้อมที่จะมุ่งมั่นในการทำงานพัฒนาเพื่อประชาชนต่อไป
เจ้าของความรู้  นางสาวปภาวี   พงษ์จตุรา
ตำแหน่ง   นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ/สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองนครสวรรค์
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ    การบริหารจัดการ/การดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ
เบอร์โทรศัพท์ 089-5675662

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น