วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

KM : การดำเนินโครงการสร้างความยั่งยืนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ โดย วนิดา อำพันธ์ุ

                ท่ามกลางกระแสการดำเนินงาน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา  บนพื้นฐานของทางสายกลาง

ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง
และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ
และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่าง
สมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัฒน์ที่มีการแข่งขันสูง
                 กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาท
สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว มาขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชนบท
มีวิถีชีวิตบนความพอประมาณ ดำเนินชีวิตบนพื้นฐานความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งภายในและภายนอก โดยการใช้ความรู้อย่างมีเหตุผลคู่กับคุณธรรมเป็นเงื่อนไขในการดำเนินชีวิต
โดยดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙  ของบ้านท่าดินแดง หมู่ที่ ๓
ตำบลเกรียงไกร อำเภอเมืองนครสวรรค์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน
เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการสร้างความยั่งยืนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ  โดยก่อนที่จะขับเคลื่อนการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว  ได้มีการประเมินความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน (Gross Village Happiness: GVH) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะวัดคุณค่าของการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวคิดเศรษฐกิจพอ เพียง ที่สะท้อนเป้าหมายของการพัฒนาว่าอยู่ในระดับใด และเมื่อได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานแล้ว ก็จะมีการประเมินอีกครั้งเพื่อดูผลความแตกต่าง ซึ่ง การประเมินความสุขมวลรวมนี้สามารถประเมินได้ทั้งในระดับชุมชน ระดับครอบครัว และระดับบุคคล
              ก่อนดำเนินการต้องเตรียมอะไรบ้าง
              1. ศึกษารายละเอียดแนวทาง ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน เอกสารที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจอย่างชัดเจนและกำหนดรูปแบบการดำเนินการ เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับทีมงาน
              2. จัดประชุมทีมงาน เพื่อชี้แจงรายละเอียด แนวทาง ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการประเมินความสุขมวลรวม พร้อมมอบภารกิจแบ่งความรับผิดชอบการประเมิน เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วม
              3. เตรียมความพร้อมของสถานที่ดำเนินการประเมิน

             เมื่อถึงวันประเมินความสุขมวลรวม ทำอย่างไร
             กระบวนการวัดความสุขมวลรวม มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
             ๑. บุคคลเป้าหมายประกอบด้วยตัวแทนครัวเรือนในหมู่บ้าน จำนวน 3๐ คน ประกอบด้วย
ผู้นำชุมชน ประธานกลุ่มต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ครอบครัวพัฒนา คณะกรรมการหมู่บ้าน
             ๒. วิทยากรกระบวนการคือ พัฒนากรประจำตำบล และมีพัฒนากรคนอื่น ๆ เป็นผู้ช่วยเอื้ออำนวยในการดำเนินงาน
             ขั้นตอนการดำเนินงานการวัดความสุขมวลรวม
             ๑. สร้างความสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและมีบรรยากาศแบบสบายๆ การนำเข้าสู่บทเรียน ชี้แจงวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดความสุขมวลรวม ให้ที่ประชุมเลือกวิธีการลงประชามติ ที่ประชุมเลือกวิธีการยกมือ
             ๒. เจ้าหน้าที่หนึ่งคน เป็นผู้ดำเนินการถามความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมายที่ละด้านเป็นข้อๆ อ่านให้ฟังจนครบถ้วน และอธิบายความหมายประกอบให้ชัดเจนแล้วถามความคิดเห็นระดับความสุขที่ได้รับ จากการจัดกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละข้อ ให้คะแนนความสุขในแต่ละข้อ มีค่าคะแนน ๑ – ๕ คะแนน โดยให้แต่ละคนยกมือให้ค่าคะแนน
ที่ละข้อจนครบ ให้ผู้เข้าร่วมเวทียกมือในประเด็นต่างๆ พยายามกระตุ้นให้ผู้ร่วมเวทีได้คิดและเค้นความสุขในเรื่องต่างๆ โดยมีเจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งคอยนับจำนวน สรุปบันทึกผลระดับความคิดเห็น ประมวลออกมาเป็นข้อๆ และเป็นภาพรวมในแต่ละด้านจนครบทุกด้านและทุกข้อ ซึ่งรวมทั้งสิ้น ๖ ด้าน ๒๒ ตัวชี้วัด
             ๓. เมื่อครบทุกด้านทุกข้อแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการประมวล
เป็นภาพรวมจาก ตัวชี้วัดทั้งหมดในแต่ละด้านมีค่าคะแนนเท่าใด และคิดเป็นร้อยละเท่าไหร่
             ๔. เจ้าหน้าที่ได้สอบถามความรู้สึกและความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายว่า ภาพรวมของหมู่บ้านน่าจะมีความสุขมวลรวมเท่าไหร่ (ปรอทวัดความสุข) แล้วมาเปรียบเทียบกับค่าประเมินความสุขมวลรวมแบบมี
ส่วนร่วม
            ๕. แจ้งผลการประเมินให้ให้กลุ่มเป้าหมายทราบ แล้วเปรียบเทียบความรู้สึกและความคิดเห็นว่ามีความแตกต่างหรือไม่
            ๖. ชี้ให้ที่ประชุมเห็นว่าความสุขที่หายไปจากการประเมินมีเรื่องอะไรบ้าง และสามารถจะเติมความสุขนั้นได้อย่างไร
            ๗. ระดมความคิดเห็นกำหนดทิศทางการเติมเต็มความสุข เพื่อนำไปสู่แผนงานกิจกรรม/โครงการที่จะดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม และนำไปบรรจุไว้ในแผนพัฒนาของหมู่บ้านต่อไป

            ขุมความรู้
             - การกำหนดเป้าหมาย ทิศทาง และภารกิจการทำงานที่ชัดเจน
             - เข้าใจในรูปแบบ และวิธีการที่จะสื่อในรูปแบบต่างๆ
             - การสร้างความยอมรับ/แสวงหาส่วนร่วมและประสานการทำงานร่วมกับภาคีทุกภาคส่วน
             - การบริหารจัดการ การมอบหมายงาน การควบคุมและติดตามประเมินผล
           แก่นความรู้
           - การสร้างบรรยากาศ การกระตุ้น ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความร่วมมือ ให้กำลังใจ
           - ความสุขมวลรวมของชุมชนเปลี่ยนแปลงได้ ตามสภาวะแวดล้อมของชุมชนที่มีการเปลี่ยนแปลง
           - กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนมีผลต่อความเที่ยงตรงของค่าคะแนนความสุขที่วัดได้
           - ชุมชนควรมีการประชาคมวัดความสุขอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง
           - การวัดความสุขมวลรวมของชุมชนจะเกิดประโยชน์มากหากชุมชนได้ร่วมกันวิเคราะห์องค์ประกอบ ที่เป็นความจริงที่มีค่าคะแนนต่ำหรือมีค่าคะแนนลดลงเพื่อนำมาวางแผนแก้ไขปัญหา

          กลยุทธ์ในการทำงาน
          - สร้างบรรยากาศความเป็นกันเอง และไว้วางใจกันและกันในเวที
          - การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์กระตุ้นความคิดให้กับผู้ร่วมเวที
          - ใช้หลักประชาธิปไตย ยึดหลักการมีส่วนร่วม
          - มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
ชื่อ-นามสกุล  นางสาววนิดา  อำพันธุ์
ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองนครสวรรค์
เบอร์โทรศัพท์  088-3834538

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น