วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

KM : การดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์ โดย ประภาวดี หมื่นพวง

       กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  บ้านหนองเสือ  หมู่ที่  5  ตำบลสระทะเล   อำเภอพยุหะคีรี   จังหวัดนครสวรรค์    จัดตั้งเมื่อวันที่   15   พฤษภาคม   2544   เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมเงินของ
หมู่บ้าน  และเป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในหมู่บ้าน   เป็นแหล่งทุนของหมู่บ้าน   กรณีที่ไม่มีเงินทุนประกอบอาชีพ   กรณีฉุกเฉิน  สำหรับชาวบ้านที่ไม่มีหลักทรัพย์ในการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน  ปัจจุบันมีสมาชิก       84  คน  จำนวนเงินออมทั้งหมด    476,970 บาท  
2.  ส่วนขยาย  ( กระบวนการ/ วิธีการ/เทคนิค/ข้อพึงระวังที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน)
1.  เป็นการใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ร่วมรับรู้ข้อมูล ร่วมกันคิด    ร่วมกันตัดสินใจ  ร่วมกันวางแผนจัดตั้งกลุ่ม  ลงมือปฏิบัติ(จัดตั้งกลุ่ม)  ร่วมกันติดตาม  ประเมินผลการดำเนินงาน  และร่วมรับผลประโยชน์  มีการนำผลการดำเนินงานแจ้งที่ประชุม         เป็นประจำทุกเดือน
2. เป็นแหล่งเงินทุนของหมู่บ้าน  ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ในการค้ำประกัน  ใช้ความเชื่อใจ  และ ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
              3.  ความสามัคคีในชุมชน  คนในชุมชนมีความผูกพันกันฉันญาติพี่น้อง        มีความรัก  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่    ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน    จึงมีการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์  เพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่มีความเดือดร้อนในการใช้เงินในการประกอบอาชีพ  หรือมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน
            4.  เป็นการส่งเสริมการออมของชาวบ้าน  เป็นการสร้างนิสัยที่ดีเป็นแบบอย่างแก่เด็กและเยาวชนรุ่นหลัง
            5.  มีความซื่อสัตย์ โปร่งใส  สามารถตรวจสอบได้
3.ส่วนสรุป ( ผลของการแก้ปัญหา/พัฒนา )
1. ชาวบ้านเกิดการยอมรับ  และเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกิจกรรม
2. ชาวบ้านจะเห็นความสำคัญหากกิจกรรมว่าส่งผลประโยชน์ให้กับตนเองอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม
3. การทำกิจกรรมร่วมกัน  ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน   สร้างความเข้าใจ และความสามัคคีในชุมชน
4. การปฏิบัติให้เห็น  ดีกว่าการสอนด้วยคำพูด
5. ความโปร่งใสเป็นหัวใจของการทำงานส่วนรวม
บันทึกขุมความรู้
      1.  กิจกรรมพัฒนาชุมชนมีทั้งที่เกิดจากปัญหาความต้องการของชุมชน
    2.  กิจกรรมพัฒนาจะประสบความสำเร็จหากมีการประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่หรือชุมชน
      3.  การวางแผนเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาในทุกระดับ
      4.  หมู่บ้านที่มีสมาชิก เข้มแข็ง  รู้รัก สามัคคี   การพัฒนาต่างๆ จะเกิดสัมฤทธิผลได้มากกว่าหมู่บ้านที่สมาชิกมีความขัดแย้ง                
 แก่นความรู้
      1.   กระบวนการมีส่วนร่วม
    2.   การมีภาวะผู้นำ
    3.   การติดต่อสื่อสาร
    4.  เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อ-สกุล นางประภาวดี   หมื่นพวง
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ การดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์
ที่อยู่   สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพยุหะคีรี   อำเภอพยุหะคีรี  จังหวัดนครสวรรค์  โทร. 056 278313

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น