วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

KM : การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหาดสะแก โดย กรรณิการ์ มณีหาญ

     บ้านหาดสะแก  หมู่ที่ 1 จากการบอกเล่าจากผู้สูงอายุ แต่เดิมการปลูกสร้างบ้านเรือนจะอยู่ติดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีหาดทรายยื่นออกไปกลางแม่น้ำบริเวณหาดทรายนั้นมีต้นไม้ชนิดหนึ่งขึ้นอยู่เป็น
จำนวนมาก ต้นไม้ชนิดนี้ ชื่อว่าต้นสะแก ชาวบ้านจึงเรียกหาดนี้ว่าหาดสะแก แต่ในปัจจุบันกระแสน้ำได้มีการเปลี่ยนทิศทางหาดทรายถูกน้ำกัดเซาะ พัดพาต้นสะแกไปจนหมด และในปัจจุบันก็ยังเรียกกันติดปากว่า “บ้านหาดสะแก” ชื่อนี้ได้รับการแต่งตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านในสมัยรัชกาลที่ 5 พุทธศักราช 2446 ในการขับเคลื่อนชุมชนสู่ชุมชนเข้มแข็ง ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดังนั้นขอกล่าวถึงคำว่า
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง  โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกโลกาภิวัฒน์
ส่วนขยาย
แนวทางการดำเนินกิจกรรมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  การพัฒนาตามเกณฑ์ประเมิน ๖ ด้าน ๑๒ ตัวชี้วัด หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า ๖ คูณ ๒ ถูกนำมาใช้ในการคัดเลือก ครัวเรือนต้นแบบ ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ประจำปี ๒๕๕9  บ้านหาดสะแก หมู่ที่ 1  ตำบลย่านมัทรี  อำเภอพยุหะคีรี  จังหวัดนครสวรรค์ โดย ได้คัดเลือกนายประจวบ  นามสกุล พลอยงาม อายุ 67 ปี  ที่อยู่ปัจจุบัน  เลขที่ 48 หมู่ที่  1  บ้านหาดสะแก  ตำบลย่านมัทรี  อำเภอพยุหะคีรี  เป็นครัวเรือนต้นแบบ ใช้เกณฑ์ดังนี้
๑. ลดรายจ่าย
๒. เพิ่มรายได้
๓. ประหยัด
๔. การเรียนรู้
๕. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
๖. การเอื้ออารีต่อกัน
๑. การลดรายจ่าย โดยมีการปลูกผัก สวนครัวไว้กินเอง การเลี้ยงปลา  เลี้ยงไก่ไข่  ไว้กินเอง การลดสุรา รณรงค์การใช้รถยนต์คันเดียวกัน  หากไปทางเดียวกัน  และการส่งเสริมการใช้รถจักรยาน  เพื่อประหยัดพลังงาน  รวมทั้งการลดการใช้พลังงาน อาทิ เช่น ใช้ฟืนถ่านในการประกอบอาหาร
๒. การเพิ่มรายได้
โดยมีอาชีพเสริม  ซึ่งปลูกผัก และเลี้ยงหมู่ วัว ไก่ ปลา ไว้เพื่อบริโภคและหากผลผลิตเหลือก็จะจำหน่าย รวมทั้งการใช้ปุ๋ยชีวภาพ  การรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งกลุ่มอาชีพเลี้ยงโค และการใช้เศษวัสดุต่างๆ เพื่อสร้างสิ่งใหม่ (นวัตกรรม) เช่น การขยายพันธุ์ไม้ผล การจัดทำปุ๋ยหมัก/ชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนในการผลิต โดยเริ่มจากการแจกจ่ายให้คนในครัวเรือนและชุมชน
๓. การประหยัด
    การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ซึ่งมีกิจกรรมการปล่อยเงินกู้ให้แก่สมาชิกกู้ โดยมีอัตรา
    ดอกเบี้ยต่ำ การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กทบ.)   การสนับสนุนกลุ่มอาชีพต่างๆ
๔. การเรียนรู้
    มีการถ่ายทอดความรู้หลังจากอบรมให้ชาวบ้านรู้  และมีการใช้ภูมิปัญญาของชาวบ้าน เช่น    
    การเรียนรู้เรื่องการจัดทำปุ๋ยชีวภาพ การขยายพันธุ์ไม้ผล ทุกชนิด รวมทั้งการปลูกและการดูแลรักษา
    สนับสนุนการเกษตรเพื่อเป็นต้นแบบของตำบล  และการใช้เศษวัสดุต่างๆ เพื่อสร้างสิ่งใหม่
    (นวัตกรรม) เช่น การจัดทำปุ๋ย หมัก/ชีวภาพเพื่อลดต้นทุนในการผลิต  โดยเริ่มจากการแจกจ่ายให้
    คนในครัวเรือนและชุมชน
๕. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
         ร่วมกันพัฒนาปลูกต้นไม้ในสถานศึกษา และสถานที่สำคัญทางศาสนา วัด รวมทั้งที่ที่ว่างเปล่า  
         และที่สาธารณะ ทำความสะอาดป่าในวันสำคัญ
๖. การเอื้ออารีต่อกัน  โดยส่งเสริมความสัมพันธ์กัน  ดังนี้
         รวมกลุ่มเพื่อนุรักษ์ประเพณี  วัฒนธรรมของตำบล  โดยสนับสนุนการแห่เทียนพรรษาของตำบลเป็น          ประจำทุกปี  การปฏิบัติธรรม  การทำบุญเลี้ยงพระ  การเดินเทิดพระเกียรติ การปั่นจักรยาน
         เทิดพระเกียรติฯวันแม่ (Bike For Mom) การปั่นจักรยานเทิดพระเกียรติฯ วันพ่อ (Bike For Dad)
         และการไม่เที่ยวนอกบ้านเพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดการเกิดอุบัติเหตุ  จัดสรรเงินทุนการศึกษา
         จากสวัสดิการกองทุนหมู่บ้าน  มีการร่วมบริจาคเงินเพื่อเป็นเจ้าภาพงานศพของชาวบ้าน และมีการ
         จัดทำฌาปนกิจของหมู่บ้านและตำบล   ในกรณีที่ขอกู้เงินจากกองทุนต่างๆ จะห้ามกู้เงินสำหรับผู้ที่
         ติดยาเสพติด จัดและร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับศาสนา การรักษาและคงเอกลักษณ์วัฒนธรรมประเพณี
         เช่น การทำบุญ เลี้ยงแพะ การรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ กิจกรรมวันพ่อ  กิจกรรมวันแม่  เป็นต้น
ส่วนสรุป
     ความพอเพียง  หมายถึง  ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ  อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน  ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้  ความรอบคอบ  และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน  และการดำเนินการทุกขั้นตอน  และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ  นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม  ความซื่อสัตย์สุจริต  และให้สมดุลและรอบรู้ที่เหมาะสม  ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน      ความเพียร  มีสติปัญญา  และความรอบคอบ  เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง  ทั้งด้านวัตถุ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  และวัฒนธรรม  จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี  รวมทั้งแนวทางการดำเนินกิจกรรมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อให้เป็นรากฐานของชีวิตประชาชนในหมู่บ้าน  โดยใช้หลักการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาการทำงานร่วมกัน  การเรียนรู้จากการปฏิบัติ  ซึ่งใช้เทคนิคการกระตุ้นความคิด  สร้างจิตสำนึก

ขุมความรู้   1. ครัวเรือนต้นแบบนำความรู้จากแนวทาง การดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจ   พอเพียง ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิตได้จริง
      2. ครัวเรือนต้นแบบสามารถเป็นตัวอย่างที่ดี รวมทั้งเป็นวิทยากรให้ความรู้ด้าน
          เศรษฐกิจพอเพียงได้

แก่นความรู้   “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ทุกพื้นที่ ทุกยุค ทุกสมัยและทำให้ผู้นำไปปฏิบัติ มีความสุขที่สมบูรณ์”
ชื่อ – นามสกุล     นางสาวกรรณิการ์   มณีหาญ
ตำแหน่ง            นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด                สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพยุหะคีรี     จังหวัดนครสวรรค์
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ     พ.ศ.  ๒๕๕9
สถานที่เกิดเหตุ    หมู่บ้านหาดสะแก  ม.1  ต.ย่านมัทรี  อ.พยุหะคีรี
เบอร์มือถือ         ๐๘๖ - ๑๗๐๓๘๘๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น