วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

KM : การติดตามสมาชิกค้างชำระเงินยืมโครงการ กข.คจ. โดย กัญจนพร ตาจินะ

                     กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหา
ความยากจน (กข.คจ.) ซึ่งเป็นกองทุนชุมชนหมู่บ้านละ 280,000 บาท มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายโอกาส
ให้คนในครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. มีแหล่งเงินทุนสำหรับยืมไปประกอบอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
บ้านหนองตะโก หมู่ที่ 5 ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ตั้งแต่ปี 2544    มีสมาชิกทั้งสิ้น 27  ราย  จากการติดตามการดำเนินงานกองทุนพบว่ามีสมาชิกจำนวน 2 ราย ยังส่งใช้คืนเงินยืมไม่ครบ ข้าพเจ้าจึงได้สอบถามจากคณะกรรมการกองทุน กข.คจ. เมื่อทราบข้อมูลเบื้องต้นแล้วจึงเข้าไปตรวจสอบติดตาม หาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นและลงพื้นที่เพื่อพบปะ และพูดคุยกับครัวเรือนที่ยังค้างส่งใช้เงินยืม พบว่าสมาชิกยืมเงินไปลงทุนไปทำการแต่ประสบปัญหาภัยแล้ง ผลผลิตเสียหายและเพิกเฉยไม่ติดต่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับคณะกรรมการกองทุน กข.คจ. หมู่บ้าน จึงทำหนังสือเชิญคณะกรรมการและสมาชิกที่ค้างชำระหนี้ยืมมาทำความเข้าใจระเบียบและแนวทางการดำเนินงานโครงการ กข.คจ. เพื่อสร้างข้อตกลง และกำหนดชำระหนี้ โดยให้สมาชิกได้ตรวจสอบความถูกต้องพร้อมลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้และสัญญาการชำระหนี้ร่วมกัน
2.บันทึกขุมความรู้ (Knowledge  Assets)                                  
1. การเข้าถึงชุมชน ลงพื้นที่เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับชุมชน ทำให้เกิดความไว้วางใจ และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน ให้ครัวเรือนเป้าหมายและสมาชิกทุกคนคิดว่า โครงการ กข.คจ. เป็นของหมู่บ้าน คณะกรรมการ กข.คจ. หมู่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารเงินทุน ครัวเรือนเป้าหมายมีโอกาสเลือกอาชีพโดยสมัครใจ เกิดการเพิ่มรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถพึ่งตนเองได้ในหมู่บ้าน
2. ปรับทัศนคติ สร้างจิตสำนึกของครัวเรือนเป้าหมายเพื่อให้เกิดการยอมรับและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
3. สร้างความรู้ ความเข้าใจ แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพเกิดผลสำเร็จ
4. มีการยืดหยุ่นในวิธีการและการปรับตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์
5. การติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
  
3.  แก่นความรู้ (Core  Competency )
1. การดำเนินงานที่มีความต่อเนื่องจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4.  กลยุทธ์ในการทำงาน
1. ตรวจสอบข้อมูลการดำเนินงาน กข.คจ.หมู่บ้าน และรายงานผลการดำเนินงานให้พัฒนาการอำเภอทราบ
2. ประชุมคณะกรรมการและสมาชิกที่ค้างชำระเงินยืมเพื่อสร้างข้อตกลง
3. ติดตามและเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุน กข.คจ.หมู่บ้านอย่างสม่ำเสมอ

๕. กฎระเบียบ/แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
    1. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน
พ.ศ. 2553
  2. แนวทางการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ภายใต้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ. 2553
ชื่อ – สกุล   นางสาวกัญจนพร ตาจินะ
ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด      สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะโก
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก  08–1860-4155
ชื่อเรื่อง    การติดตามสมาชิกค้างชำระเงินยืมโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน( กข.คจ.)
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ หนี้ค้างชำระของสมาชิกที่ยืมเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ( กข.คจ.).
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ เดือน มีนาคม 2558 –มิถุนายน 2558
สถานที่     บ้านหนองตะโก หมู่ที่ 5 ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น