วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

KM : การสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP ด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน โดย กมนนุช ดำประเสริฐ

โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (One tambon One Product) เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ที่ต้องการส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชน ให้ทุกคนในชุมชนพึ่งตนเอง
ได้ ชุมชนมีความเข้มแข็ง ประชาชนในชุมชนมีการสร้างงาน สร้างรายได้ ด้วยการนำทรัพยากร     ที่มีอยู่ในท้องถิ่น   และนำภูมิปัญญาที่มีอยู่ มาพัฒนาเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีจุดเด่น มีมูลค่าเป็นที่ต้องการของตลาด
การดำเนินงานตามโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ดำเนินการลงทะเบียนเป็นผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP ทุก ๒ ปี เพื่อเป็นการจัดทำฐานข้อมูลผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP ให้เป็นปัจจุบันและนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนการส่งเสริมและพัฒนาให้เหมาะสมในทุกๆด้าน และด้านหนึ่ง          ทีน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินตามนโยบายของรัฐบาล คือการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ที่ต้องการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ OTOP มีโอกาสพัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน ที่สามารถส่งออกได้ เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อเชื่อมโยงมาตรฐานสินค้าระดับภูมิภาค สู่สากล ทำให้ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP มีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ทำรายได้ให้เกิดขึ้นกับตัวเอง ครอบครัว และท้องถิ่น     ขบวนการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย “เน้น ผลิตภัณฑ์ OTOP ที่คุณภาพและมาตรฐาน”ของผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานที่กำหนดเป็นสำคัญ
จากการที่ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP จะนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่กระบวนการคัดสรรสุดยอด หนึ่งตำบล   หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทยได้ นั้น สิ่งสำคัญที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์นั้นต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน หากผลิตภัณฑ์ไม่มีมาตรฐานอย่างใด อย่างหนึ่ง ผลิตภัณฑ์นั้นไม่สามารถเข้าสู่ขบวนการคัดสรรสุดยอด หนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทยได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ผ่านการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในตลาดผู้บริโภค
(๒)
บทบาทหน้าที่ของพัฒนากรผู้ประสานงานตำบล จำเป็นอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ในชุมชน มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เพราะมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน กำหนดขึ้น เพื่อเป็นการสนับสนุนการพัฒนา  ภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่น และยกระดับการผลิตให้มีคุณภาพ และเป็นข้อกำหนดที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เหมาะกับสภาพของผลิตภัณฑ์ของชุมชน พัฒนากรต้องสร้างความเข้าใจให้ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP เห็นความสำคัญของคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับและสามารถประกันคุณภาพให้กับผู้บริโภค และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยังเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยเชื่อมโยงต่อยอดผลิตภัณฑ์ สู่ตลาดผู้บริโภคอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
เมื่อกล่าวถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ใดๆก็ตาม ผู้บริโภคมักจะได้ยินคำๆหนึ่งที่ควบคู่กันไป คือคำว่ามาตรฐาน เพราะโดยปกติแล้วเมื่อผลิตภัณฑ์ใดมีลักษณะที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้แล้ว เราจะถือว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ OTOP ที่เป็นภูมิปัญญาของชุมชนในแต่ละท้องถิ่นจะได้รับการพัฒนา หรือยกระดับคุณภาพ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือแก่ผู้บริโภคและเพื่อขยายตลาดได้มากขึ้น ผลที่ตามมาคือเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว และชุมชน ดังนั้น ทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานหนึ่งตำบล   หนึ่งผลิตภัณฑ์ จึงหันมาสนใจการ “สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ OTOP ด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน”
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
๑.เจ้าหน้าที่ มีหน้าที่สร้างความเข้าใจให้ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP เห็นความสำคัญของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ต้องสร้างให้โดเด่นอยู่บนกล่องบรรจุภัณฑ์
๒.ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงาน หรือองค์กรเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค
๓.ประชุมชี้แจง แนะนำให้ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP เข้าถึงหน่วยงาน องค์กร ที่ออกมาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP จนได้รับมาตรฐานทุกผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม
๔.ผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีมาตรฐาน แสดงให้เห็นถึงการมีคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้น และผลิตภัณฑ์นั้นจะได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
๕. ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP ต้องมีจิตสำนึกในการที่จะต้องดำเนินการให้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค
๖.ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน
แก่นความรู้ ( Core Competency )
๑. หากผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองตามที่กำหนดจะทำให้ผู้บริโภคตัดใจซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มได้เร็วยิ่งขึ้น
๒. ผลิตภัณฑ์กลุ่ม มีมาตรฐาน/มีคุณภาพ จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีโอกาสในการแข่งขันในตลาดมากขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น
๓. ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีมาตรฐาน ผู้บริโภคย่อมมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ทำให้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอยู่ในตลาดการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
๔. ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP และกลุ่มผลิตชุมชน ที่มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมาตรฐาน  ในผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจว่ากลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ หรือกลุ่มผู้ผลิตชุมชน มีผลิตภัณฑ์ ที่มีขั้นตอนในการดำเนินงานที่ชัดเจน ถูกหลักอนามัยที่ มีความปลอดภัย ผลิตภัณฑ์นั้นจึงได้รับการรับรอง จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มดึงดูดใจผู้ซื้อ จะทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ในการทำงาน
๑. ควรส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP มีผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
๒. กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการควรมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์หลายๆ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มนั้น อยู่ในตลาดอย่างยั่งยืน
๓. ควรประชาสัมพันธ์การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP ด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในผลิตภัณฑ์ OTOP ซึ่งจะนำมาซึ่งความเชื่อถือ และเกิดการยอมรับในผลิตภัณฑ์ OTOP ทำให้เกิดรายได้ สร้างง าน ให้เกิดขึ้นในชุมชน
ชื่อ – สกุล นางสาวกมนนุช  ดำประเสริฐ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะโก  จังหวัดนครสวรรค์
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก   ๐๘-๖๙๒๙-๙๕๖๐
ชื่อเรื่อง การสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP ด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ  มาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ   ปี ๒๕๕๙
สถานที่เกิดเหตุ อำเภอท่าตะโก   จังหวัดนครสวรรค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น