วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

KM : ทีมสำราญงานสำเร็จ โดย อัคคเดช แจ้งอยู่

1. ส่วนนำ (เหตุการณ์นั้นมีความเป็นมาอย่างไร
     การบริหารราชการแผ่นดินแนวใหม่ หรือการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีนั้น มีเป้าหมายสำคัญในการทำให้เกิดผลประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพและเกิดความ
คุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ไม่มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ โดยส่วนราชการที่ปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น หรือเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม รวมทั้งกรณีภารกิจใดมีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการ หรือเป็นภารกิจที่ใกล้เคียง หรือต่อเนื่องกัน ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องนั้นกำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดการบริหารราชการแบบบูรณาการร่วมกัน โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ รวมทั้งให้ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้นอีกด้วย
     กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดทิศทางและเป้าหมายการทำงานในปี 2555-2559 โดยมีวิสัยทัศน์ “ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง” โดยมียุทธศาสตร์การทำงาน 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ (1) สร้างสรรค์ชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข (2) เสริมสร้างขีดความสามารถการบิหารงานชุมชน (3) ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (4) เสริมสร้างธรรมาภิบาลและความมั่นคงของทุนชุมชน (5) เสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง
     สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ซึ่งเป็นหน่วยงานในระดับปฏิบัติ ที่มีภารกิจต้องขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด พัฒนาการอำเภอ ในฐานะหัวหน้าทีมดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินงาน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง แสวงหาความร่วมมือ จากภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ทั้งที่อยู่ในพื้นที่และนอกพื้นที่  เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรม ให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งภาคีทุกภาคส่วนบรรลุเป้าหมายของตนเองเช่นกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและทางราชการ

2. ส่วนขยาย (กระบวนการ/วิธีการ/เทคนิค/ข้อพึงระวังที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน)
ข้าพเจ้ากำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงาน ดังนี้
1) สร้างกลไกในการพัฒนางาน โดย
    (1) สร้างทีมงานระดับอำเภอ/ตำบล ประกอบด้วย ส่วนราชการ ผู้บริหารท้องถิ่น
ผู้นำชุมชน และภาคีการพัฒนา
    (2) การพัฒนาศักยภาพทีมงาน โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ สร้างความรู้ความ
เข้าใจร่วมกันของทีมงาน
      2) พัฒนาระบบงาน โดย
    (1) ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลพร้อมใช้ เช่น ข้อมูล จปฐ./ข้อมูล กชช.2 ค ข้อมูลกลุ่ม
องค์กร และผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นต้น
    (2) การจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ประกอบด้วยแผนปฏิบัติการ
ระดับอำเภอ แผนปฏิบัติการระดับตำบล
   (3) การประสานภาคีให้การสนับสนุน ทั้งด้านวิชาการและงบประมาณ แก่ทีมระดับ
ตำบลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน
   (4) การมอบหมายภารกิจในการปฏิบัติงานของทีมงาน โดยคำนึงถึงแผนปฏิบัติงานที่
กำหนดร่วมกันตามข้อ (2)
    (5) ทีมงานนำแผนการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยยึด
การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม
3) ติดตามประเมินผล โดย
     (1) ใช้ระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการเป็นเครื่องมือในการติดตามทีมงาน
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ โดยจัดให้มีการติดตามประเมินผลอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการสนับสนุนและช่วยเหลือทีมงานให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ในการประเมินผลยึดรูปแบบการประเมินผลแบบมีส่วนร่วมเป็นหลัก
(2) การจัดการความรู้ โดยการค้นหาองค์ความรู้ และถอดบทเรียนเพื่อปรับปรุงและ
พัฒนารูปแบบการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและทางราชการ
     (3) สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน พร้อมปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการ
ดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4) ขยายผล โดย
     (1) ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการยอมรับและการขยายผลการดำเนินงานโดยการ
จัดทำเอกสารเผยแพร่การจัดกิจกรรมแสดงผลงานในระดับอำเภอ รวมทั้งจัดให้มีการเชิดชูเกียรติ เป็นต้น
(2) จัดทำ Best Practice ที่สามารถเป็นต้นแบบเพื่อขยายผลต่อไป
3. ส่วนสรุป (ผลของการแก้ปัญหาและพัฒนา)
1) ประชาชนมีความพึงพอใจและได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติงานของทีม
2) ลดความซ้ำซ้อนของงาน บุคลากร และงบประมาณของส่วนราชการและภาคีการ
พัฒนา ได้รับประโยชน์ร่วมกัน (ทีมสำราญ)
      3) การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมฯ ยุทธศาสตร์ของส่วนราชการ บรรลุเป้าหมายที่
กำหนด (งานสำเร็จ)
      4) เจ้าหน้าที่มีขวัญและกำลังใจ มีเป้าหมาย และการทำงานมีเอกภาพ รวมทั้งมี
ความสุขกับการทำงาน
๔. ขุมความรู้ (ประเด็นหลักที่วิเคราะห์ได้จากเนื้อหา)
    การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งสอดคล้องกับ
หลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีนั้น ประเด็นสำคัญคือเกิดจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ซึ่งพัฒนาการอำเภอจะต้องปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าทีม ในการประสานกับกับภาคีทุกภาคส่วน ทั้งภาคราชการ และกลุ่มองค์ประชาชน โดยจะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้แก่เจ้าหน้าที่ รวมทั้งจะต้องมีการเสริมแรง การสร้างขวัญและกำลังใจ ผลักดันให้เจ้าหน้าที่ ได้แสวงหาความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อทำงานในลักษณะทีมงาน เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกัน ภายใต้แนวคิดและหลักการ ดังนี้
   1) หลักการแนวคิดการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
   2) แนวคิดการบริหารงานแบบบูรณาการ
   3) หลักการทำงานเป็นทีม
   4) หลักการมีส่วนร่วม
       5) หลักการบริหารจัดการชุมชน
   6) หลักการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
๕. แก่นความรู้ (การวิเคราะห์จากขุมความรู้ กำหนดเป็นคำสั้น ๆ หรือคำสักญที่เป็นแก่นของความรู้
   “ทีมสำราญ งานสำเร็จ จะเสร็จโดยการบูรณาการงาน ประสานส่วนร่วม รวมทีม”

เจ้าของความรู้ นายอัคเดช แจ้งอยู่
ตำแหน่ง/สังกัด พัฒนาการอำเภอแม่วงก์ (นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ)
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่วงก์
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ การบริหารจัดการงานภายในสำนักงาน ให้สามารถสำเร็จตามยุทธศาสตร์กรม
ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ๐๘๑๕๓๔๒๑๓๒

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น