วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

KM : การสร้างทีมนักพัฒนาภาคประชาชน โดย ศศิลักษณ์ คล้ายวิมุติ

              1. ส่วนนำ
จังหวัดนครสวรรค์ได้ดำเนินงานโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ตั้งแต่ปี 2552-2559        
เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต และเป็นเป้าหมาย
ของการพัฒนาหมู่บ้าน โดยจัดกระบวนการเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้าน ได้ใช้ความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ ตลอดจนนำแนวทางการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่มีความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์การดำเนินกิจกรรมต่างๆ พร้อมทั้งสนับสนุนให้หมู่บ้านสามารถเป็นต้นแบบในการส่งเสริมความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงสู่หมู่บ้านอื่นๆต่อไป
                2. ส่วนขยาย
จากประสบการณ์ในการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ตั้งแต่ปี 2553-2559        การดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวจึงเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้หมู่บ้านเกิดการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น คือเกิดทีม                   นักพัฒนาขึ้นในหมู่บ้าน  ผู้นำชุมชน  ซึ่งแกนนำหลักได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกอบต. ผู้นำอช. ผู้นำสตรี ประธานกลุ่ม ปราชญ์ เป็นต้น การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเริ่มจากอาสาสมัครในการเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๓๐ ครัวเรือน โดย มีผู้นำทุกคนเข้าร่วม และหมู่บ้านมีการจัดตั้งคุ้มหรือกลุ่มบ้าน แต่ละคุ้มบ้านจะมีคณะกรรมการคุ้ม ซึ่งจะเป็นแกนนำของคุ้มบ้าน  ครัวเรือนต้นแบบ จำนวน ๓๐  ครัวเรือน ก็มาจากทุกคุ้มบ้านจำนวนเท่าๆกัน ซึ่งเป็นการกระจายครอบคลุมทั้งหมู่บ้าน  จาก ๓๐ ครัวเรือน ขยายไปยังครัวเรือนใกล้เคียงโดยอัตโนมัติ                ซึ่งบุคคลเหล่านี้คือแม่ทัพใหญ่ ของการนำพาสมาชิกในหมู่บ้านร่วมกันขับเคลื่อนหมู่บ้านให้มีความเข้มแข็ง เกิดความรัก ความสามัคคีกันในขุมชน เนื่องจากทุกครัวเรือนได้เห็นแล้วว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาใช้ได้กับการดำเนินชีวิตประจำวันของตนเอง ค่อยๆทำ ทำไปเรื่อยๆ ไม่ต้องรีบ ประชาชนในหมู่บ้านเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติตามกระบวนการของโครงการฯ และที่สำคัญเกิดจากความต้องการของชุมชนเอง
3. ส่วนสรุป
  ผลจากการดำเนินโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ทำให้หมู่บ้านเกิดกระบวนการพัฒนามากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ เกิดทีมนักพัฒนาภาคประชาชนขึ้น บุคคลเหล่านี้จะเป็นแกนนำหลักในการพัฒนาหมู่บ้าน  การบริหารจัดการชุมชนที่ดีขึ้นภายใต้หลักการของการมีส่วนร่วมของชุมชนนั่นเอง
4. ขุมความรู้
  1. สร้างแกนนำจากอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการในการเป็นครัวเรือนต้นแบบจากทุกคุ้ม/กลุ่มบ้าน
         ครอบคลุมทุกคุ้มบ้าน
2. จัดประชุมให้ความรู้กับผู้นำ/อาสาสมัครครัวเรือนต้นแบบได้เข้าใจถึงความหมายของคำว่า
     เศรษฐกิจพอเพียง โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์หมู่บ้านร่วมกัน
3. นำทีมผู้นำ ตัวแทนครัวเรือนต้นแบบศึกษาดูงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเพื่อนำมาปรับ
     ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหมู่บ้าน
4. ผู้นำ/อาสาสมัครครัวเรือนต้นแบบปฏิบัติก่อนให้เห็นเป็นตัวอย่าง
5. แก่นความรู้
1. เกิดผู้นำชุมชนจากกระบวนพัฒนาหมู่บ้านตามโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบฯ
2. หมู่บ้านเกิดการพัฒนาที่ดีขึ้น การพึ่งพาตนเอง การยอมรับ ความเอื้ออาทรกันในชุมชน
3. ชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการร่วมคิด วางแผน และปฏิบัติ

ชื่อความรู้                  การสร้างทีมนักพัฒนาภาคประชาชน
เจ้าของความรู้   นางสาวศศิลักษณ์   คล้ายวิมุติ
ตำแหน่ง   นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด   สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่วงก์   อำเภอแม่วงก์  จังหวัดนครสวรรค์
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ         การพัฒนาหมู่บ้าน
ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์   สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่วงก์ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ 60150
                           โทร. 0 5623 8011

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น