วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

KM : ครัวเรือนเป้าหมายกับการแก้ไขความยากจน โดย วันเพ็ญ บรรหารวุฒิไกร

          เมื่อประมาณเดือนเมษายน  พ.ศ. 2557  ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน  (กข.คจ.)   บ้านอ่างหิน  หมู่ที่  3  ตำบลหนองปลิง อ.เมืองฯ จ.นครสวรรค์  ว่าคณะกรรม
การฯ ไม่สามารถอนุมัติเงินยืมตั้งแต่ปี 2554   เพื่อจะนำไปประกอบอาชีพได้  จึงได้นัดหมายให้ประธานกองทุน กข.คจ. และคณะกรรมการส่วนหนึ่งพบปะเพื่อขอรับทราบข้อเท็จจริง  ปรากฏว่าสาเหตุที่ไม่สามารถอนุมัติเงินยืมได้เนื่องจาก  มีครัวเรือนค้างชำระ จำนวน 6  ราย  แยกเป็น  ยืมเงินในปี  2554  จำนวน  2  ราย  เป็นเงิน  4,000  บาท,  ในปี  2555  จำนวน  1  ราย เป็นเงิน   2,000 บาท,  ในปี  2556  จำนวน  3  ราย เป็นเงิน 14,000 บาท  รวมเงินยืมทั้งหมด  20,000 บาท  โดยที่ครัวเรือนที่ค้างชำระให้เหตุผลว่าต้องให้ครัวเรือนอื่นชำระเงินยืมก่อน  ตนถึงจะยอมชำระ
สาเหตุดังกล่าว ได้ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคณะกรรมการฯ และครัวเรือนที่ประสงค์จะยืมเงิน  การเข้าไปสอบถามในขั้นแรกยังไม่มีข้อเท็จจริงใดให้ตัดสินได้เนื่องจาก  แต่ละฝ่ายต่างไม่ให้ความจริง  จึงตัดสินใจใช้วิธีสอบถามจากกลุ่มชาวบ้านตามร้านค้าของในหมู่บ้านเพื่อให้เข้าถึง “ภูมิหลัง”  ของชุมชน ทำให้ได้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินในการดำเนินการ คือ
1. ครัวเรือนเป้าหมายขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
2. คณะกรรมการกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ขาดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานกองทุนโครงการ กข.คจ.
3.  เจ้าหน้าที่ขาดการติดตามการดำเนินงานกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)  อย่างต่อเนื่อง
4.  ครัวเรือนที่ค้างชำระเงินยืม  จำนวน  6 รายนั้น มีประธาน /คณะกรรมการ กข.คจ. รวมอยู่ด้วยโดยยืมเงินเป็นจำนวนมาก
5. คณะกรรมการฯ  บางส่วนไม่กล้าทวงถามหนี้ค้างชำระด้วยเหตุผลว่าเคยทวงถามหลายครั้งแล้วแต่ครัวเรือนเป้าหมายไม่ชำระคืนเงินยืม
6.  ครัวเรือนเป้าหมายจะชำระเงินก็ต่อเมื่อประธานคณะกรรมการ กข.คจ. ชำระเงินยืมก่อน
7.  คณะกรรมการ กข.คจ. มีหลายสมัย  ทำให้การดำเนินงานกองทุนโครงการ   กข.คจ. ไม่ต่อเนื่อง
        เมื่อได้รับทราบข้อมูลครบทุกด้านแล้วจึงนัดหมายคณะกรรมการ กข.คจ. และครัวเรือนเป้าหมายที่ค้างชำระเงินยืมมาประชุมทำความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน  (กข.คจ.) เพื่อให้คณะกรรมการฯ และครัวเรือนเป้าหมายเห็นความสำคัญและนำเงินกองทุนมาบริหารจัดการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ จากการประชุมของหมู่บ้าน ก็พบว่าแต่ละฝ่ายต่างยืนยันที่จะชำระก็ต่อเมื่ออีกฝ่ายชำระเงินคืนก่อน   จึงได้แจ้งเป็นหนังสือติดตามให้ชำระเงินคืนโดยกำหนดระยะเวลาไว้ภายใน  15  วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเตือน  และได้จัดประชุมกับสมาชิกกองทุน กข.คจ. ทุกครัวเรือน  โดยได้นำระเบียบต่าง ๆ กรณีตัวอย่างของหมู่บ้านอื่นทั้งที่ประสบผลสำเร็จและมีปัญหามาบอกเล่า และกระตุ้นให้ชำระเงินภายในกำหนดเพื่อการยืมเงินประกอบอาชีพในงวดต่อไป   ทั้งนี้ได้เน้นให้คณะกรรมการฯ    ต้องชำระเงินเป็นตัวอย่างแก่ครัวเรือนอื่น
ภายหลังจากการประชุม 1 สัปดาห์ประธาน/คณะกรรมการฯจึงนำเงินมาชำระ และมีครัวเรือน  เข้ามาชำระเงินคืนรวมเป็นจำนวน  6  ราย  ครบทุกครัวเรือน
บันทึกขุมความรู้
- การสืบค้นข้อเท็จจริงเพื่อให้เข้าถึงภูมิหลังของชุมชน
- การจัดประชุมทุกฝ่ายโดยเปิดเผยเพื่อหาข้อยุติร่วมกัน
แก่นความรู้
-  คณะกรรมการ ฯ ต้องเป็นผู้ที่ยึดถือระเบียบ/หน้าที่โดยเคร่งครัด
-  การร่วมแก้ไขปัญหาโดยสมาชิกในชุมชน
-  ภูมิหลังของชุมชน
กลยุทธ์ในการทำงาน
1.  คณะกรรมการ ฯ ต้องเป็นผู้ที่ยึดถือระเบียบ/หน้าที่โดยเคร่งครัด
พัฒนากรผู้ประสานงานประจำตำบลต้องติดตามการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ/การช่วยแก้ไขปัญหา การจัดประชุมเพื่อทบทวนบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการเพื่อสร้างความตระหนักและแสดงความรับผิดชอบหากปัญหาเกิดขึ้นจากคณะกรรมการฯ
2. การร่วมแก้ไขปัญหาโดยสมาชิกในชุมชน
การจัดประชุมเป็นวิธีแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดโดยการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นของแต่ละฝ่ายและการประนีประนอมข้อเรียกร้องของแต่ละฝ่ายเพื่อหาแนวทางที่สันติและเป็นที่ยอมรับได้ทุกคน
3.  ภูมิหลังของชุมชน
ข้อมูลและสภาพของชุมชนในการรับรู้ขั้นต้นของผู้ที่เข้าไปสอบถาม/แก้ไขปัญหา ยังเป็นข้อมูลที่ไม่เพียงพอต่อการตัดสิน  ดังนั้นจึงควรศึกษาชุมชนให้อย่างถ่องแท้จึงจะสามารถประเมิน/วินิจฉัยประเด็นปัญหาหรือข้อพิพาทในชุมชนได้อย่างเที่ยงตรง
๔.  การติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
พัฒนากรผู้ประสานงานตำบลต้องติดตามการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ อย่างต่อเนื่อง การสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของกองทุน กข.คจ. แก่คณะกรรมการฯ และครัวเรือนเป้าหมาย เพื่อให้คณะกรรมการฯ และครัวเรือนเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของกองทุน กข.คจ. และเพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานของกองทุน กข.คจ.  จะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้
กฎระเบียบ  แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง
1.  ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารและการใช้จ่ายเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน  พ.ศ. 2553
2.  แนวคิดจากการวิจัยภาคสนาม เรื่อง เบื้องหลังหน้ากาก (Behind Many Masks: Ethnography and Impression Management) โดย เจอรัลด์ ดี แบรีแมน
ชื่อ – สกุล นางวันเพ็ญ บรรหารวุฒิไกร                                
ตำแหน่ง         นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองนครสวรรค์
หมายเลขโทรศัพท์   083-9558538
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ การชำระเงินยืมกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน  (กข.คจ.)  
บ้านอ่างหิน  หมู่ที่  3  ตำบลหนองปลิง  อ.เมืองฯ จ.หวัดนครสวรรค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น