วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

KM : การบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ โดย ณรงค์ จันทร์เมือง

เรื่องเล่า
  ๑. ส่วนนำ  ปัญหาและสาเหตุของความยากจนมาจากสาเหตุที่สำคัญ  ๒ ประการ  คือ     สาเหตุจากปัจจัยภายใน เช่น ขาดความรู้ การรับรู้ข่าวสาร ปัญหาด้านสุขภาพ มีครอบครัวขนาดใหญ่ มีทรัพย์สินน้อย
และสาเหตุจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบายของรัฐ เช่น เน้นการพัฒนาเมืองมากกว่าชนบท  ขาดการส่งเสริมทุนทางสังคม เน้นอุตสาหกรรมมากกว่าการเกษตร ระบบราชการไม่เอื้อ ความซ้ำซ้อนของหน่วยงาน  การแก้ไขปัญหาความยากจนดังกล่าวโดยให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดำเนินการแก้ไขปัญหาไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ เนื่องจากหน่วยงานแต่ละหน่วยงานมีความรู้เฉพาะด้านเท่านั้น
  ๒. ส่วนขยาย  ในการแก้ไขปัญหาความยากจนซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากสาเหตุที่หลากหลายทั้งสาเหตุภายในครัวเรือนและสาเหตุจากภายนอกครัวเรือน  และต้องอาศัยจากหลายๆ หน่วยงานมาร่วมกันแก้ไขปัญหา   หรือที่เราเรียกกันว่าการบูรณาการ
    ๒.๑ เรื่องข้อมูล   ข้อมูลครัวเรือนยากจนหรือครัวเรือนเป้าหมายจะต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนและ ทันสมัย ซึ่งได้จากการสำรวจข้อมูล จปฐ. และผ่านการประชาคมรับรองข้อมูลจากหมู่บ้าน
    ๒.๒ คณะทำงานขับเคลื่อน  มีการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานในทุกระดับ อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน  และครอบคลุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับสาเหตุของปัญหาในแต่ละด้าน เช่น สาธารณสุขด้านสุขภาพ เกษตรด้านอาชีพ กศน.ด้านการศึกษา พร้อมภาคประชาสังคม ผู้นำท้องถิ่น  โดยการบูรณาการหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
    ๒.๓ แผนการปฏิบัติการ กำหนดแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ทุกภาคส่วนร่วมกันกำหนดแผนปฏิบัติการ
    ๒.๔ การดำเนินงานตามแผน คณะทำงานดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ
    ๒.๕ การติดตามประเมินผล  มีการประชุม  การนำเสนอข้อมูลการดำเนินงานเพื่อรับทราบความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค และการหาแนวทางแก้ไข โดยดำเนินการในรูปคณะทำงาน
    ๒.๖ ประชาสัมพันธ์ มีการประชาสัมพันธ์ ในรูปแบบต่างๆ อย่างหลากหลาย เช่น ที่ประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทาง OA ทางเว็บไซต์ ทางไลน์ การสรุปผลงานในรูปเอกสารส่งให้หน่วยงานต่างๆ
  ๓. ส่วนสรุป จากการดำเนินงานตามกระบวนการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ โดยมีข้อมูลที่ถูกต้อง คณะทำงานที่ครอบคลุม มีแผนและดำเนินการตามแผน การติดตามผลการดำเนินงาน และมีรูปแบบการประสัมพันธ์หลายๆ ช่องทาง  ทำให้เกิดการบูรณาการการแก้ไขปัญหาความยากจน ครัวเรือนสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้ดีกว่าเดิมและสามารถผ่านเกณฑ์ จปฐ.
  ๔. ขุมความรู้ ปัญหาความยากจนเกิดจากหลายสาเหตุ  ในแต่ละครัวเรือนจะมีสาเหตุที่ทำให้เกิดความยากจนไม่เหมือนกันหรือสาเหตุจะแตกต่างกันออกไป   ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาจะต้องมีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานที่มีความรู้ ความชำนาญ ความสามารถ ในการแก้ไขปัญหา โดยจะต้องมีการดำเนินงานในรูปการบูรณาการ
  ๕. แก่นความรู้ ปัญหาความยากจนเกิดจากสาเหตุที่หลากหลายจะต้องบริหารจัดการในรูปแบบเชิงบูรณาการ
เจ้าของความรู้  นายณรงค์ จันทร์เมือง
ตำแหน่ง/สังกัด  พัฒนาการอำเภอแม่เปิน/สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่เปิน
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ  การแก้ไขปัญหาความยากจน
ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ โทร.๐-๕๖๘๘-๗๑๐๘

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น