วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

KM : การจัดเก็บข้อมูล จปฐ. โดย ไพศาล คำดวง

   ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบทให้ดียิ่งขึ้น  โดยเฉพาะประชาชนที่ยังมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็น
พื้นฐานซึ่งกรมการพัฒนาชุมชนถือว่าเป็นภารกิจหลักที่สำคัญ ที่ต้องดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนเกิดความเชื่อถือต่อทุกหน่วยทุกองค์กร
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
   ขั้นตอนที่ ๑ การสำรวจข้อมูล
    แบบสำรวจแบ่งเป็น ๒ แบบ
   ๑.แบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน เรียกว่า จปฐ.๑
   ๒.แบบประมวลผลและเทียบเป้าหมายข้อมูล จปฐ. ของชุมชน
   ขั้นตอนที่ ๒ รู้ปัญหาชุมชน
    ประชาชนจะรู้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต โดยดูจากเครื่องชี้วัดข้อมูล จปฐ. ที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย
    ขั้นตอนที่ ๓ วิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดสาเหตุของปัญหา
    การวิเคราะห์ปัญหา คือ การคิดคำนึงถึงต้นตอสาเหตุของปัญหาและความเกี่ยวพันของปัญหาต่างๆเพื่อกำหนดแนวทางและวิธีแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง
   ขั้นตอนที่ ๔ จัดลำดับก่อนหลังและวางแผนแก้ไข
   แบ่งเป็น ๓ ประเภท
   ๑) ประชาชนทำเอง  ๒)รัฐและประชาชนร่วมกันทำ  ๓)รัฐทำ.ให้
   ขั้นตอนที่ ๕ ดำเนินการตามแผน
   แผนของชุมชนหรือแนวทางแก้ไขปัญหาที่ชาวบ้านสามารถทำเองได้ให้ดำเนินการได้ตามกำหนดเวลาที่ตั้งไว้เลยโดยไม่ต้องรอ
   ขั้นตอนที่ ๖ ประเมินผล
   เมื่อดำเนินโครงการในชุมชนเป็นระยะเวลา ๑ ปีแล้วควรประเมินผลโดยการสำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานใหม่ ซึ่งทำให้เราทราบว่า
  ๑) ผลการปฏิบัติงานตามโครงการนั้นบรรลุผลสำเร็จแค่ไหน
 ๒) หมู่บ้านนี้ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหา ทำให้ จปฐ.บรรลุเป้าหมายไปแล้วกี่ข้อ
  ๓) ทำให้ทราบปัญหาอุปสรรคต่างๆ ของการดำเนินงานตามโครงการ
  ๔) ในส่วนของรัฐเองทราบว่า ประสิทธิภาพของรัฐในการดำเนินงานนี้มีมากน้อยเพียงใด สอดคล้องเหมาะสมกับชุมชนหรือไม่
แก่นความรู้ (Core Competency)
ข้อมูล จปฐ. ต้องมีคุณภาพและประสิทธิภาพครบ 4 องค์ประกอบดังนี้
    1)  ข้อมูลต้องมีความถูกต้องครบถ้วนและสมบูรณ์
    2)  ข้อมูลต้องมีความเชื่อถือได้
   3)  ข้อมูลต้องมีความเกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน
    4)  ข้อมูลต้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์ในการทำงาน
1. กรณีข้อเท็จจริงที่ตรวจพบแตกต่างจากเกณฑ์ที่ควรจะเป็น จะต้องวิเคราะห์ต่อไปว่า  หากไม่ทำการแก้ไขหรือปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้อง จะส่งผลกระทบทางตรงหรือทางอ้อมอะไรบ้าง
2. หลักเกณฑ์/สิ่งที่ควรจะเป็น จะต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้องและใช้เป็นหลักในการดำเนินการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ได้
3. ข้อเท็จจริง/สิ่งที่เป็นอยู่  คือการที่พัฒนากรได้ค้นพบและได้ตรวจสอบ   แน่ชัดแล้วว่าเป็นข้อมูลที่มีความถูกต้องและเที่ยงตรง
4. ผลกระทบ  เมื่อข้อเท็จจริงพบว่าข้อมูลไม่มีความถูกต้องหรือมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง อัน เนื่องมาจากสิ่งที่เป็นอยู่แตกต่างจากสิ่ง ที่ควรจะเป็น  พัฒนากรต้องรีบทำการแก้ไขปรับปรุงข้อมูลให้มีความถูกต้องทันที  เพื่อมิให้ส่งผลกระทบไปยังภาพรวม
กฎระเบียบแนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
         ทฤษฎีการมีส่วนร่วม (Participation Theory)                                                                                                                                                                                          
 เจ้าของความรู้ นายไพศาล  คำดวง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
  ปีที่ดำเนินการจัดการความรู้    พ.ศ. ๒๕๕๙
  สถานที่ดำเนินการจัดการความรู้   สำนักงานอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น