วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

KM : การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ โดยนางดาริกา เทพธวัช


๑.       ชื่อองค์ความรู้  การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

๒.      ชื่อเจ้าขององค์ความรู้    นางดาริกา    เทพธวัช

      ตำแหน่ง   นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

           สังกัด   สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพยุหะคีรี   จังหวัดนครสวรรค์

 เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 0๙5-๔๙๘๖๘๙๙

๓.      องค์ความรู้ที่บ่งชี้   
/22
 
           หมวดที่ ๒  เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง


๔.      ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้   : กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย มีภารกิจในการเสริมสร้างการบริหารจัดการชุมชนให้ชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครองและสิ่งแวดล้อม และได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ในการทำงานไว้ 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ชุมชนพึ่งตนเอง 2) เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง        3) เสริมสร้างการมีส่วนร่วม 4) ชุมชนมีความสุข 
                    ปี พ.ศ. 25๖๒  ตำบลที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบ ได้รับงบประมาณดำเนินการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  จำนวน ๓ หมู่บ้าน คือ บ้านหนองไม้แดง  หมู่ที่ ๑  ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว,  บ้านประดู่เฒ่า  หมู่ที่ ๑๑  ตำบลเนินมะกอก และ บ้านสายหกพัฒนา  หมู่ที่ ๑๒  ตำบลเนินมะกอก  เป็นหมู่บ้านเป้าหมายในการพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ  จากการเข้าไปปฏิบัติงาน  พบว่า คนในหมู่บ้านดำรงชีวิตอย่างฟุ่มเฟือย  รักความสะดวกสบาย  เน้นการพึ่งพาภายนอก  ฉะนั้น การที่จะเข้าไปขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงให้ประสบผลสำเร็จ  เราจะต้องมีการสร้างจิตสำนึกในการพึ่งตนเอง  
และปรับทัศนคติของคนในหมู่บ้านนั้นก่อน

๕.       ปัญหาที่พบและแนวทางแก้ไข
          ๑) ชาวบ้านยังมีความรู้ความเข้าใจไม่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง  เรื่องของ   ภูมิปัญญา และเศรษฐกิจฐานราก ว่ามีประโยชน์ในการดำรงชีวิตอย่างไร  และยังคงมีความคิดว่าคนที่จะดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ต้องเป็นคนยากจน อดมื้อกินมื้อ ต้องกินน้อยใช้น้อย และอยู่ในภาคของเกษตรกรรมเท่านั้น
          ๒) แต่เดิมชุมชนเป็นหมู่บ้านวิถีทางการเกษตร  แต่ผลการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือการค้าเสรี ทำให้ค่านิยมในการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป โดยต้องการดำเนินชีวิตด้วยความศิวิไลซ์ จึงมีผลกระทบต่อการเลียนแบบของคนในชุมชนที่แข่งขันกันยกระดับคุณภาพชีวิตให้ทันสมัยด้วยสินค้า

ฟุ่มเฟือย ทำให้เกิดภาวะหนี้สิน ก่อให้เกิดความแตกแยก เพราะต้องดิ้นรนต่อสู้กับการจัดหาสิ่งของเพื่ออุปโภคบริโภคมากขึ้น  จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่มีราคาสูง  คุณภาพของดินถูกทำลายโดยการใช้สารเคมีเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิต  ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนเสื่อมโทรม
          สาเหตุดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาทับซ้อนมากมาย เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
          ๓) มีการเปลี่ยนแปลงผู้นำชุมชน โดยผู้นำรุ่นใหม่เข้ามาบริหารจัดการชุมชน แต่ยังขาดความรู้และแรงจูงใจในการทำงานเพื่อสาธารณะอย่างแท้จริง รวมทั้งไม่มีการมอบหมายงานที่สำคัญของหมู่บ้านระหว่างผู้นำอย่างชัดเจน ทำให้ระดับการพัฒนาหมู่บ้านช้ากว่าที่ควรจะเป็น
          ๔) การบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในทางปฏิบัติไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ เพราะแต่ละหน่วยงานต่างมีภารกิจของตนเองต้องปฏิบัติล้นมืออยู่แล้ว
แนวทางแก้ไข
          ๑) ดำเนินการจัดเวทีประชาคมโดยเน้นการมีส่วนร่วม และสร้างจิตสำนึกสาธารณะ  รวมทั้งสร้างความตะหนักถึงสุขภาพที่แข็งแรง  เพราะหากสุขภาพร่างกายแข็งแรงจะส่งผลให้จิตใจมีความเบิกบานเกิดสติปัญญาในการรับรู้และแก้ไขปัญหาของชุมชนได้
          ๒) พัฒนากรต้องลงทำงานในพื้นที่ร่วมกับชาวบ้าน หน่วยงานภาคีอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลงานคุณภาพ ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน  แต่ในปัจจุบันพัฒนากรทำงานจิปาถะมากเกินไป ทำให้เวลาในการลงไปทำงานกับประชาชนมีน้อย  วิธีการและกระบวนการพัฒนาชุมชนที่มีมาแต่ดั้งเดิมจึงไม่บังเกิดผลอย่างที่ควรจะเป็น
          ๓) กระตุ้นจิตสำนึกความเป็นผู้นำ ของผู้นำชุมชน โดยความร่วมมือของทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐ  หน่วยงานภาคี และประชาชนเอง
          ๔) พัฒนากรต้องศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องการทำงานให้มากขึ้น เพื่อความชัดเจนในการร่วมดำเนินการกับหน่วยงานภาคี และประชาชน รวมทั้งทำตัวเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิตแบบพอเพียง และทำงานแบบติดดิน คือลงพื้นที่เข้าหาประชาชนให้มากขึ้น       

๖.      ประโยชน์ขององค์ความรู้
๑)      ครัวเรือน มีความรู้ ความเข้าใจการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีความพอเพียงกันตัวเองอยู่ได้โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น  
๒)      ครัวเรือนตระหนักในการสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อน  มีความพอกินพอใช้สามารถพึ่งตนเองได้ ย่อมสามารถ สร้างความเจริญก้าวหน้าและฐานะทางเศรษฐกิจของหมู่บ้าน  ตำบล  อำเภอ  จังหวัด และประเทศได้

๗.      เทคนิคการปฏิบัติงาน

          ๑) เข้าร่วมประชุมประจำเดือนกับหมู่บ้านเป้าหมายเป็นประจำ เพื่อให้ความรู้และข่าวสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  การประยุกต์ใช้  การจัดทำบัญชีครัวเรือน ฯลฯ
          ๒) ดำเนินงานโครงการที่ได้รับงบประมาณ กิจกรรมตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ประจำปี พ.ศ.๒๕๖2  เพื่อกระตุ้นให้ชาวบ้านเกิดจิตสำนึกในการดำรงชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญลำดับแรก
          ๓) จัดประชาคมผู้นำเป็นกลุ่มย่อย เพื่อกำหนดแผนงานดำเนินการร่วมกัน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และรวบรวมบันทึกภูมิปัญญาของปราชญ์ประจำหมู่บ้าน โดยเน้นด้านการเกษตร และการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร รวมถึงการบริหารจัดการทุนในหมู่บ้าน
          ๔) ประสานหน่วยงานภาคี ร่วมดำเนินการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น