วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

KM : การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดย น.ส.อภิญญา หลวงกิจจา


1.ชื่อองค์ความรู้  การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
2.ชื่อเจ้าขององค์ความรู้ นางสาวอภิญญา   หลวงกิจจา ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
3.องค์ความรู้ที่บ่งชี้ หมวดที่ 2 เทคนิคการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
4.ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเป็นการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง                
มาใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนระบบคิดในการเสริมสร้างวิธีคิดที่เหมาะสมเป็นชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ ซึ่งพัฒนากรเป็นเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนผู้ปฏิบัติงานอยู่ในหมู่บ้านตำบลเป็นผู้นำนโยบายแนวทางการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ไปปฏิบัติสู่เป้าหมายให้  ชุมชนเข้มแข็ง(ความสุขมวลรวมชุมชน) ประชาชนพึ่งตนเองได้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่ม

ในปีงบประมาณ 2562 อำเภอชุมตาบง ได้รับงบประมาณจัดสรรตามโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
จากจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 6 หมู่บ้าน เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนได้ร่วมกันพิจารณาหมู่บ้านเข้าร่วมดำเนินการตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด โดยข้าพเจ้าได้รับผิดชอบหมู่บ้าน เป้าหมายจำนวน 3 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 5 บ้านเขาแดง ตำบลชุมตาบง หมู่ 7 บ้านชุมตาบงหนึ่ง ตำบลชุมตาบง หมู่ที่ 12 บ้านหนองกระโดน ตำบลชุมตาบงโดยมีขั้นตอนกระบวนการดังนี้
1.ศึกษาบริบทของหมู่บ้าน ข้อมูล สภาพทั่วไปชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยการวิเคราะห์
ศักยภาพชุมชนและการวิเคราะห์ทุนชุมชน
2.ร่วมเวทีประชาคมหมู่บ้านในการกำหนดทิศทางการพัฒนาและวางแผนการพัฒนาโดยยึด
กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
3.คัดเลือกครัวเรือนแกนนำพัฒนาต้นแบบ ที่เข้าร่วมโคตรงการอย่างสมัครใจ ผ่านเวที
ประชาคมหมู่บ้าน
4.กำหนดเทคนิควิธีการ สื่อ ที่ใช้ในการฝึกอบรม ที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
5ดำเนินกิจกรรมฝึกอบรมตามขั้นตอนกิจกรรม
6.ติดตามประเมินผล
7.รายงานผลการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน
5ปัญหาที่พบและแนวทางแก้ไขปัญหา
1.การดำเนินงานของหมู่บ้านถูกกำหนดด้วยเงื่อนไขระยะเวลา ของการเบิก จ่ายงบประมาณ
ที่เร่งรัดทำให้การดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนด เร่งรัด เร่งรีบ อันส่งผลต่อคุณภาพของงาน
2.ช่วงระยะเวลาที่ดำเนินการในเขตพื้นที่ตรงกับการเร่งรัดของการประกอบอาชีพของประชาชน
(การตัดอ้อย/การทำนา)ซึ่งมีระยะเวลาในการประกอบอาชีพส่วนใหญ่จะตรองกับการดำเนินงานตามโครงการ
3.ค่านิยมในสังคม/กระแสสังคมในปัจจุบัน

6.ประโยชน์ขององค์ความรู้
- กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน (ครัวเรือนมีส่วนเรียบรู้วางแผนชีวิต และเรียนรู้การ
พึ่งตนเอง ชุมชนกำหนดทิศทางการพัฒนา โดยกระบวนการแผนชุมชน)
-ผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็ง เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
7.เทคนิคในการปฏิบัติงาน วิธีการ/กระบวนการ ที่ส่งผลให้การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงประสบผลสำเร็จ ใช้หลักการมีส่วนร่วม โดย พัฒนากรผู้ประสานงานตำบล จะต้องยึดหลักการทำงาน ดังนี้  
1 ชี้เป้าหมาย โดยร่วมกันพิจารณาคัดเลือกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเป้าหมาย  
2 ชี้แจง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือชุมชนเข้มแข็ง(ความสุขมวลรวม
ชุมชน) ประชาชนพึ่งตนเองได้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่ม
3 ชัดเจน จะต้องเข้าใจกระบวนการพัฒนาหมู่บ้านตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4 ช่วยสนับสนุน วิชาการและกระบวนการพัฒนาหมู่บ้านตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   
5 ชมเชย ให้กำลังใจแก่ผู้นำชุมชน และครัวเรือนต้นแบบ ที่ประสพผลสำเร็จเข้ามาบรรยาย
เคล็ดลับแห่งความสำเร็จ
6. กระบวนการชุมชน 5 ร่วม ได้แก่ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ร่วมรับประโยชน์โดย
ให้ชาวบ้าน ร่วมวางแผนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตโดยยึดแผนชุมชนเป็นแนวทาง ร่วมตัดสินใจ ดำเนินกิจกรรม ตามแผนที่วางไว้ และทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งได้แก่ การส่งเสริมอาชีพการจัดทำศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ร่วมรับประโยชน์ร่วมกัน คือ กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน  30  ครัวเรือน  ทุกคนมี ความสุข อยู่อย่างพอเพียง ไม่เป็นหนี้นอกระบบ ร่วมกัน คิดวิเคราะห์-สังเคราะห์ปัญหาของชุมชน โดยใช้ข้อมูล จปฐ. /กชช.2ค และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและสภาพปัญหาปัจจุบัน หาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขปัญหา ตลอดทั้งพาไปศึกษาดูงานหมู่บ้านที่ประสบผลสำเร็จนอกพื้นที่ และนำมา เปรียบเทียบกับหมู่บ้านของตน
7.พัฒนากรจะต้อง เกาะติดพื้นที่ พัฒนากรผู้ประสานงานตำบล จะต้องทำงาน
ร่วมกันกับผู้นำชุมชนและ ครัวเรือนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงภายในหมู่บ้าน เพื่อให้คำปรึกษาและสนับสนุนการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสม่ำเสมอ
8.มีเครื่องมือในการทำงาน เช่นการนำศึกษาดูงานจากหมู่บ้านที่ประสบผลสำเร็จเป็นแนวทาง
ในการขยายผล การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อให้เกิดมุมมองในด้านใหม่ๆ การปรับเปลี่ยนทัศนคติในการดำรงชีวิต -ร่วมสร้างปณิธานในการตั้งมั่นน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต เรียนรู้การวางแผนชีวิตครัวเรือน-ตัวชี้วัด 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด เป็นตัวขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมาย และการประเมินความอยู่เย็นเป็นสุขของชุมชน(GVH) เป็นเครื่องมือ ในการปรับแผนชุมชนนำไปสู่การกำหนดกิจกรรม/แผนงานโครงการในการพัฒนา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น