วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

KM : การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดย นายวีระศักดิ์ พลบม่วง


1.ชื่อองค์ความรู้  การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
2.ชื่อเจ้าขององค์ความรู้ นายวีระศักดิ์   พลบม่วง   ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
3.องค์ความรู้ที่บ่งชี้ หมวดที่ 2 เทคนิคการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือน ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
4.ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเป็นการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง                
มาใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนระบบคิดในการเสริมสร้างวิธีคิดที่เหมาะสมเป็นชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ ซึ่งพัฒนากรเป็นเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนผู้ปฏิบัติงานอยู่ในหมู่บ้านตำบลเป็นผู้นำนโยบายแนวทางการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ไปปฏิบัติสู่เป้าหมายให้  ชุมชนเข้มแข็ง(ความสุขมวลรวมชุมชน) ประชาชนพึ่งตนเองได้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่ม

ในปีงบประมาณ 2562 อำเภอชุมตาบง ได้รับงบประมาณจัดสรรตามโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
จากจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 6 หมู่บ้าน เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนได้ร่วมกันพิจารณาหมู่บ้านเข้าร่วมดำเนินการตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด โดยข้าพเจ้าได้รับผิดชอบหมู่บ้าน เป้าหมายจำนวน 3 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่  2 บ้านถังตั้ง ตำบลปางสวรรค์ หมู่ 3 บ้านปางสวรรค์ ตำบลปางสวรรค์ หมู่ที่ 10 บ้านเขานางฟ้า ตำบลปางสวรรค์ โดยมีขั้นตอนกระบวนการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนเป้าหมาย ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้
1.ศึกษาข้อมูล สภาพทั่วไปชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยการวิเคราะห์จากการจัดทำบัญชีครัวเรือน
2.นำข้อมูลรายครัวเรือน ที่เป็นครัวเรือนต้นแบบ(ครัวเรือนอาสาสมัคร) มาวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหา และกำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต
3.ให้ครัวเรือนต้นแบบ 30 ครัวเรือน นำกระบวนการนี้ มาวิเคราะห์ ครัวเรือนต้นเอง พร้อมทั้ง หาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนตนเอง
4.นำแนวทาง มาร่วมเวทีประชาคม หารือ ถึงแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตร่วมกัน จัดทำเป็นแผนการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณและแผนชุมชน ต่อไป
5ในส่วนของแผนงาน โครงการฯ ที่สามารถทำเองได้ ก็ดำเนินการได้เลย
5ปัญหาที่พบและแนวทางแก้ไขปัญหา
1.การวิเคราะห์ข้อมูลบางครั้งก็ยาก เพราะครัวเรือนมักจะแยกสิ่งจำเป็นกับสิ่งไม่จำเป็นได้ยาก ต้องกระตุ้นให้เห็นถึง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงๆ เช่น ขาดแล้วตายแน่ๆ เป็นต้น
2.การวิเคราะห์ถึงแนวทางการแก้ปัญหา หรือพัฒนาคุณภาพชีวิต มักจะมองเรื่องภายนอก มากกว่า การทำด้วยตนเองช่วงต้องกระตุ้นให้เห็นถึงศักยภาพของตนเอง และให้กำลังใจเพื่อให้มีความมั่นใจในการดำเนินการด้วยตนเอง

6.ประโยชน์ขององค์ความรู้
- ครัวเรือนมีส่วนเรียนรู้วางแผนชีวิต โดยกระบวนการแผนชุมชน
7.เทคนิคในการปฏิบัติงาน วิธีการ/กระบวนการ ที่ส่งผลให้การดำเนินงานพัฒนาการคุณภาพชีวิตครัวเรือนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงประสบผลสำเร็จ ใช้หลักการมีส่วนร่วม โดย พัฒนากรผู้ประสานงานตำบล จะต้องยึดหลักการทำงาน ดังนี้  
1 เชื่อมั่นในศักยภาพของครัวเรือนเป้าหมาย  
2 นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีเป้าหมาย คือชุมชนเข้มแข็ง (ความสุขมวลรวมชุมชน) ประชาชนพึ่งตนเองได้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่ม
3 ชมเชย ให้กำลังใจแก่ผู้นำชุมชน และครัวเรือนต้นแบบ ที่ประสพผลสำเร็จเข้ามาบรรยาย
เคล็ดลับแห่งความสำเร็จ
7.พัฒนากรจะต้อง เกาะติดพื้นที่ พัฒนากรผู้ประสานงานตำบล จะต้องทำงาน
ร่วมกันกับผู้นำชุมชนและ ครัวเรือนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงภายในหมู่บ้าน เพื่อให้คำปรึกษาและสนับสนุนการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสม่ำเสมอ
8.มีเครื่องมือในการทำงาน เช่นการนำศึกษาดูงานจากหมู่บ้านที่ประสบผลสำเร็จเป็นแนวทาง
ในการขยายผล การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อให้เกิดมุมมองในด้านใหม่ๆ การปรับเปลี่ยนทัศนคติในการดำรงชีวิต -ร่วมสร้างปณิธานในการตั้งมั่นน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต เรียนรู้การวางแผนชีวิตครัวเรือน-ตัวชี้วัด 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด เป็นตัวขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมาย และการประเมินความอยู่เย็นเป็นสุขของชุมชน(GVH) เป็นเครื่องมือ ในการปรับแผนชุมชนนำไปสู่การกำหนดกิจกรรม/แผนงานโครงการในการพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น