วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

KM : เทคนิคการทบทวนข้อมูลความต้องการด้านอาชีพ โดยนางสาวพัชชา เชิญขวัญ


ชื่อความรู้   เทคนิคการทบทวนข้อมูลความต้องการด้านอาชีพ
ชื่อเจ้าขององค์ความรู้    นางสาวพัชชา  เชิญขวัญ    ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
                   สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่วงก์  อำเภอแม่วงก์  จังหวัดนครสวรรค์

หมวดองค์ความรู้ที่บ่งชี้   การพัฒนาอาชีพครัวเรือนตามแนวทางสัมมาชีพ
ที่มาและเป้าหมายของการจัดการความรู้     
          การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ
          กระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะ การถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชนเพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นอาชีพที่มีความเข้มแข็ง  เพื่อให้เป็นจุดตัวอย่างในการพัฒนาอาชีพให้กับครัวเรือนสัมมาชีพ  จึงได้จัดเก็บองค์ความรู้เทคนิคการทบทวนข้อมูลความต้องการด้านอาชีพ

วิธีการ/ขั้นตอนการจัดการความรู้
กระบวนการ/วิธีการ
1. สร้างและพัฒนาผู้นำและองค์กรขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยให้ผู้นำและประชาชนในหมู่บ้านคัดเลือกปราชญ์ที่มีความรู้ความสามารถถ่ายทอดความรู้ จำนวน ๑ คน และ สร้างทีมสนับสนุน/ผู้นำชุมชน จำนวน ๔ คน รวมทั้งสิ้น ๕ คน เป้าหมาย คือผู้นำสัมมาชีพชุมชนได้การยกระดับ ผู้นำชุมชนต้นแบบ
          2. คัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพ จำนวน 26 ครัวเรือน ซึ่งเป็นครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2560 ที่สามารถพัฒนาตนเองได้  หรือผู้ที่มีรายได้น้อย พร้อมทั้งจัดทำทะเบียนความต้องการฝึกอาชีพของครัวเรือนเป้าหมาย
          3. ส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยพัฒนาอาชีพจากภูมิปัญญาหรือองค์ความรู้ที่มีอยู่ ในหมู่บ้าน/ชุมชน (ปราชญ์ชุมชน) โดยใช้องค์ความรู้ แนวคิด จากความสำเร็จของปราชญ์ ที่ประสบความสำเร็จมาใช้ปรับปรุงและพัฒนาอาชีพ และสามารถสร้างเครือข่ายอาชีพให้เติบโต
          4. ดำเนินการศึกษาดูงานการประสบความสำเร็จจากการประกอบอาชีพ ของปราชญ์ชุมชนในหมู่บ้าน
          5. ฝึกอาชีพตามความต้องการ  ทั้งนี้มุ่งเน้นในอาชีพที่สามารถเลี้ยงชีพ สร้างรายได้  และพัฒนาเป็นกลุ่มได้ 

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้
          1. เทคนิคและแนวทางในการทำงาน
                   เน้นการให้ความรู้โดยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน เข้าไปเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ  และมอบเวทีให้ผู้นำหมู่บ้าน และปราชญ์สัมมาชีพของหมู่บ้านดำเนินการถ่ายทอดความรู้     
          2. ข้อพึงระวัง
                   สร้างความมั่นใจแก่ปราชญ์สัมมาชีพของหมู่บ้าน โดยการให้เกียรติยกย่องให้เป็นผู้รู้
มีความสามารถเป็นบุคคล สำคัญในการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน เป็นแกนหลักในการสร้างอาชีพ
และทำให้หมู่บ้านมีรายได้ เพิ่มขึ้น โดยกระบวนการชาวบ้านสอนชาวบ้าน ซึ่งความสำเร็จอยู่ที่หมู่บ้าน
          3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
-การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพเป้าหมาย ที่สมัครใจ มีความพร้อม และมีความตั้งใจจริงในการ
ฝึกอาชีพ
                   -อาชีพที่ครัวเรือนสัมมาชีพเลือก เป็นอาชีพที่เกิดจากความต้องการของชุมชนเองบนพื้นฐานของความรู้  
-เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ติดตามสนับสนุนอย่างใกล้ชิด และสนับสนุนองค์ความรู้ต่างๆ
          4. ปัญหาและวิธีการแก้ไข
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น