วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

KM : เทคนิคในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนให้ประสบผลสำเร็จ โดยนางสาวพรรณิภา ไกรรักษ์

ชื่อความรู้           เทคนิคในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนให้ประสบผลสำเร็จ                 
เจ้าของความรู้      นางสาวพรรณิภา  ไกรรักษ์
ตำแหน่ง/สังกัด     พัฒนาการอำเภอแม่วงก์
                        สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่วงก์  จังหวัดนครสวรรค์ 
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ   การพัฒนาอาชีพครัวเรือน

๑.ส่วนนำ
          ตามที่กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเป้าหมาย ตามยุทธศาสตร์ที่ ๑ ของรัฐบาล ยุทธศาสตร์บูรณาการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๖๐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาผู้นำสัมมาชีพชุมชน ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของครัวเรือนตามแนวสัมมาชีพชุมชน โดยการขับเคลื่อนภายใต้ประชารัฐ ด้วยกระบวนการคัดเลือกผู้นำอาชีพปราชญ์หมู่บ้านละ ๑ คน  ฝึกอบรมเป็นวิทยากรสัมมาชีพ และเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรผู้ช่วย (ผู้นำอาชีพ) หรือปราชญ์ที่ขึ้นทะเบียนไว้หมู่บ้านละ ๔ คน และดำเนินการฝึกอบรมอาชีพแก่กลุ่มเป้าหมายตามความต้องการที่ขึ้นทะเบียนไว้ในพื้นที่หมู่บ้านละ ๒๐ คน โดยผู้นำ(วิทยากรสัมมาชีพ)
และทีมวิทยากรผู้ช่วยเป็นผู้ฝึกอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมายตามศักยภาพของหมู่บ้าน โดยใช้ศูนย์เรียนรู้ชุมชนและบ้านปราชญ์ เป็นสถานที่ฝึกอบรม และมีทีมสนับสนุนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอเป็นกลไกในการขับเคลื่อน ประกอบด้วยคณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอ (กพสอ.) ให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาอาชีพ คณะกรรมการศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนระดับอำเภอ (ศอช.อ.) ให้การสนับสนุนด้านการจัดทำแผนชุมชนเชื่อมแผนท้องถิ่น  ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนภายใต้ชมรมอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) ให้การสนับสนุนการยกระดับครัวเรือนยากจน และเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งทุนชุมชน ในการขับเคลื่อนตามกระบวนการดังกล่าวตัวชี้วัดผลสำเร็จสุดท้ายคือกลุ่มเป้าหมายร้อยละ ๘๕ ของประชาชนที่ได้รับการส่งเสริมอาชีพประกอบอาชีพตามแนวทางสัมมมาชีพ ผู้ประกอบอาชีพเดียวกันในพื้นที่เป้าหมายรวมตัว จัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพ เพื่อให้เกิดพลังในการดำเนินงานด้านการผลิต การตลาดและการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานสามารถขึ้นทะเบียน OTOP ได้ทำให้ประชาชนได้มีอาชีพอย่างแท้จริง
                                                
 ๒..ส่วนขยาย (กระบวนการ/วิธีการ/เทคนิค/ข้อพึงระวังที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน)
          กระบวนการ
          ๑.ศึกษาและทำความเข้าใจการดำเนินงานตามโครงการสัมมาชีพชุมชน
          ๒.ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจแก่ทีมงาน เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน
          ๓.วางแผนการดำเนินงานในการคัดเลือกปราชญ์ชุมชนเป้าหมายเพื่อเข้าอบรมหลักสูตรวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ณ ศูนย์ศึกษาพัฒนาชุมชนเขต
          ๔.วิทยากรสัมมาชีพชุมชนเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพระดับจังหวัด
          ๕.เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนร่วมกับวิทยากรสัมมาชีพชุมชนคัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มอีกบ้านละ ๔ คน เพื่อร่วมเป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมนระดับหมู่บ้าน
          ๖.วางแผนการเรียนรู้เตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจถ่ายทอดเทคนิคการเป็นวิทยากร มอบหมายภารกิจหน้าที่ในการหาครัวเรือนเป้าหมาย ๑ คนต่อ ๔ ครัวเรือน ทบทวนจัดทำแผนปฏิบัติการฝึกอบรมอาชีพแก่ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน
๗.ส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ๕ วัน     
๘.พัฒนาชุมชนสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ
          ๙.ส่งเสริมสนับสนุนให้นำผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่ม ลงทะเบียน OTOP
          ๑๐.สร้างทีมส่งเสริมสนับสนุนสัมมาชีพชุมชนระดับตำบลในการติดตามสนับสนุนการดำเนินงาน
๑๑.ส่งเสริมสนับสนุนกองทุนชุมชนหนุนเสริมการประกอบอาชีพตามโครงการสัมมาชีพชุมชน
          ๑๒.ถอดองค์ความรู้ปราชญ์สัมมาชีพชุมชน
          ๑๓.สร้างและพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนเพื่อสร้างสัมมาชีพชุมชน
ข้อพึงระวัง
          ๑.การคัดเลือกปราชญ์ชุมชนต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญกด้านอาชีพที่แท้จริง
          ๒.การคัดเลือกทีมวิทยากรปราชญ์สัมมาชีพชุมชน ต้องได้บุคคลที่มีองค์ความรู้และเสียสละในการทำงาน    ๓.การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ๒๐ ครัวเรือน ต้องเป็นบุคคลที่มีความตั้งใจในการเข้าร่วมในการดำเนินงานตามกระบวนการของโครงการ
เทคนิค
          ๑.พัฒนาการอำเภอและทีมงานจะต้องให้กำลังใจโดยไปเยี่ยม ติตตามถามไถ่ ให้กำลังใจ เพื่อเป็นการกระตุ้นทีมปราชญ์และครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน
          ๒.การสร้างความภาคภูมิใจของปราชญ์สัมมาชีพชุมชน เช่นการแนะนำในที่ประชุม การมอบใบประกาศเกียรติคุณ
          ๓.การสร้างการยอมรับในตัวปราชญ์ชุมชน โดยเจ้าหน้าที่ต้องมีบทบาทหน้าที่ในการวางแผน การคัดเลือกทีมปราชญ์ คัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพ
          ๔.การยกย่องเชิดชุเกียรติในชุมชน
๓..ส่วนสรุป (ผลของการแก้ปัญหา/พัฒนา)
          ๑.การแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานในทุกระดับ ตั้งแต่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในการคัดเลือกปราชญ์วิทยากรสัมมาชีพชุมชน ตลอดจนครอบครัวสัมมาชีพชุมชน
          ๒.วางแผนการดำเนินงานในทุกขั้นตอน
          ๓.กำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบาย         
๔..ขุมความรู้ (ประเด็นหลักที่วิเคราะห์ได้จากเนื้อหา)
          ๑.การคัดเลือกปราชญ์ สัมมาชีพชุมชนต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ
๒.การสร้างองค์ความรู้ กระบวนการขั้นตอนในการดำเนินงาน แก่ปราชญ์สัมมาชีพชุมชนหมู่บ้านละ  ๕ คน
๓.มีทีมติดตามสนับสนุนการดำเนินงานระดับตำบล สตรี ศอช.ต. ผู้นำ อช. กลุ่มออมทรัพย์ที่เข้มแข็ง
๔.หน่วยงานภาคี สนับสนุนการดำเนินงาน
๕.แก่นความรู้ (การวิเคราะห์จากขุมความรู้ กำหนดเป็นคำสั้นๆ หรือคำสำคัญที่เป็นแก่นความรู้

          -ขยายผลองค์ความรู้ สู่ชุมชน ทำให้คนมีอาชีพและรายได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น