การสนับสนุนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงานอำเภอชุมแสง จำนวน 21 หมู่บ้าน จากพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายยุทธศาสตร์ที่ 1
โดยกรมฯ ได้กำหนดให้องค์กรสำคัญ 4 องค์กรหลัก ทำหน้าที่เป็นทีมสนับสนุนการสร้างสัมมาชีพชุมชน ได้แก่ คณะกรรมการศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนระดับอำเภอ (ศอช.อ.)/คณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอ (กพสอ.)/ สมาคมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนไทยหรือคณะกรรมการชมรมอาสาพัฒนาชุมชนระดับจังหวัด/อำเภอ และสมาคมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตหรือคณะกรรมการเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตระดับจังหวัด/อำเภอหรือผู้แทนคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
2. ส่วนขยาย
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ได้ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ ประกอบด้วยองค์กร 4 องค์กร ที่เป็นทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ จำนวน 50 คน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน ในเรื่องการยกระดับครัวเรือนยากจน การบูรณาการแผนชุมชน และการเข้าถึงแหล่งทุน รวมทั้งการสนับสนุนการดำเนินงาน สัมมาชีพชุมชนระดับตำบล และหมู่บ้าน/ชุมชนและ กำหนดภารกิจองค์กรที่เป็นทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอตามความเหมาะสม โดยเน้นการสนับสนุน ดังนี้
1) คณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอ (กสพอ.) สนับสนุนการพัฒนาอาชีพของครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน และเป็นแกนหลักในการคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนตัวอย่าง
2) คณะกรรมการศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนระดับอำเภอ (ศอช.อ.) สนับสนุนการบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล และการเชื่อมโยงแผนท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน และกลุ่มอาชีพ
3) คณะกรรมการชมรมอาสาพัฒนาชุมชนระดับอำเภอ สนับสนุนการดำเนินงานของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน และการยกระดับครัวเรือนยากจนตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน
4) คณะกรรมการเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตระดับอำเภอ หรือผู้แทนคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต สนับสนุนครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน และครัวเรือนยากจนให้เข้าถึงแหล่งทุนชุมชน
และทั้ง 4 องค์กรได้จัดทำแผนปฏิบัติการขององค์กรที่เป็นทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนในระดับตำบล และหมู่บ้าน/ชุมชน
3. บทสรุป
จากผลการดำเนินงาน จะเห็นได้ว่าจะได้ครัวเรือนสัมมาชีพที่มีรายได้ มีอาชีพ มีเงินออม และมีครัวเรือนสัมมาชีพตัวอย่าง 1 ครัวเรือน และ แผนสัมมาชีพตำบลได้รับการบรรจุในแผนพัฒนาท้องถิ่น แผนยุทธศาสตร์ ข้อบัญญัติท้องถิ่น แผนพัฒนาจังหวัด ครัวเรือนสัมมาชีพมีแหล่งทุนในการผลิต เกิดแหล่งเรียนรู้
และมีวิทยากรถ่ายทอดความรู้ด้านสัมมาชีพและด้านเศรษฐกิจพอเพียง
ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานตามแนวทาง ดังนี้
1. เตรียมความพร้อม ประชุมสร้างความเข้าใจฯ
2. แต่ละองค์กรต้องมีการวางแผนการดำเนินงาน
3. องค์กรปฏิบัติตามแผนการดำเนินงาน
4. ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผน
5. สรุปผลการปฏิบัติงาน
เจ้าของความรู้ นางสาวศรัณยา คำดี
ตำแหน่ง/สังกัด นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สถานที่ติดต่อ/สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
หมายเลขโทรศัพท์ 081-9537406
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น