ชื่อความรู้ เทคนิคการสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนให้ประสบผลสำเร็จ
เจ้าของความรู้ นายพีรวัฒน์
ช่องท้วม
ตำแหน่ง
นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอตาคลี
จังหวัดนครสวรรค์
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ การขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน
เรื่องเล่า
1. ส่วนนำ
ในปัจจุบัน
สถานการณ์การประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชน ประสบกับภาวะความเสี่ยงของการประกอบอาชีพเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม
เช่น การปลูกพืชเชิงเดี่ยว ราคาผลผลิตตกต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง สภาวะอากาศที่แปรปรวน
ประกอบกับการไม่มีอาชีพและรายได้เสริมของคนในชุมชน หลังฤดูกาลผลิตและยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย
และยังไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเพียงพอ ทั้งในเรื่องของโอกาส รายได้
ความเป็นอยู่ซึ่งยังคงไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ ซึ่งทุกรัฐบาลได้พยายามหาทางแก้ไขปัญหา
สร้างโอกาส สร้างอาชีพ ให้กับคนในชุมชน
เพื่อให้เกิดกระบวนการแก้ปัญหาอย่างได้ผลและยั่งยืนต่อไป
กรมการพัฒนาชุมชนได้จัดทำโครงการการส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน
ตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง
การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ
โดยมีการสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชนแก่เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน
เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในระดับจังหวัด/อำเภอ ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน
2. ส่วนขยาย เทคนิคสำคัญที่ทำให้การสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนประสบผลสำเร็จ
๑. ศึกษาและทำความเข้าใจในแนวทางการดำเนินกิจกรรม/โครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน
๒. กำหนดแผนงานการดำเนินกิจกรรม/โครงการให้ชัดเจน
๓. ประสานความร่วมมือผู้นำชุมชนสัมมาชีพและปราชญ์ชุมชน
ผู้นำชุมชน และประธานกลุ่มองค์การในชุมชน
ตลอดจนบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาคี และเชื่อมโยงการดำเนินงานของหน่วยงานในทุกระดับ
๔. จัดเวทีประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน
เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการ และเป้าหมายการดำเนินงาน
๕. ให้การสนับสนุนกิจกรรมตามที่ปราชญ์ชุมชนได้เตรียมจัดเตรียมไว้
และครัวเรือนเป้าหมายให้ความสนใจผ่านกระบวนการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เพื่อศึกษาขั้นตอนกระบวนการในการประกอบอาชีพประเภทเดียวกัน
หรือมีความใกล้เคียงกัน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในหมู่บ้านชุมชน
๖. ศึกษาดูงานการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพจากกลุ่ม/องค์กร
หรือหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จ หรือเป็นศูนย์เรียนรู้ในการสร้างงานสร้างอาชีพของหมู่บ้านชุมชนอื่นๆ
๗. เสริมสร้างและสนับสนุนกระบวนการบริหารจัดการดำเนินงานสัมมาชีพในรูปแบบกลุ่มอาชีพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
๘. ส่งเสริมและสนับสนุนวัสดุในการสาธิตอาชีพตามแผนงาน
๙. การติดตามให้คำปรึกษาและการสนับสนุน กลุ่มเป้าหมายสัมมาชีพอย่างต่อเนื่อง
3. ส่วนสรุป
การสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนถือเป็นเป้าหมายหลักที่สำคัญของการดำเนินโครงการสัมมาชีพชุมชน
ซึ่งจะต้องมีการกำหนดแผนการดำเนินงานที่และเป้าหมายที่ชัดเจน
ประกอบกับเป็นอาชีพที่เกิดจากความต้องการของคนในหมู่บ้านอย่างแท้จริง
สามารถปฏิบัติได้จริง สามารถสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างยั่งยืน
4. บันทึกขุมความรู้ ( Knowledge
Assets )
1.
การร่วมกันสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินโครงการของคนในชุมชน
2. การสร้างกระบวนการร่วมกันคิดและร่วมกันแก้ไขปัญหาของคนในชุมชน
3.
การพัฒนาและฝึกอบรมอาชีพจนสามารถต่อยอดเป็นกลุ่มอาชีพได้
4. การติดตามสนับสนุนและให้คำปรึกษาโดยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง
5. แก่นความรู้ (Core
Competency)
การสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่วิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน
โดยอาศัยการทำงานแบบมีส่วนร่วม ร่วมกันคิดและแก้ไขปัญหาในชุมชน มุ่งเน้นให้คนในชุมชนพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
รวมถึงการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
โดยมีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนติดตามสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนงานอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
เพื่อให้เกิดการพัฒนาอาชีพและรายได้ของคนในชุมชนอย่างยั่งยืน
ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์ 08-3039-6475
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น