วันอังคารที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

KM : การส่งเสริมอาชีพการทำเปลผ้าหนังในหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชน โดย นางชนัษฎา เกิดปาน

1. ส่วนนำ
การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ  โดยกำหนดพื้นที่
เป้าหมายในการดำเนินงานจากพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายที่ผ่านการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ 1) ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับ ปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีมและจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชน หรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้   เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

2. ส่วนขยาย
1) คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมฝึกอาชีพ โดยพิจารณาจากทะเบียนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นอันดับแรก และจากแบบสำรวจความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่สมัครใจและตั้งใจฝึกอาชีพเพื่อประกอบอาชีพนั้นให้เกิดรายได้ จำนวน 20 ครัวเรือน (ครัวเรือนละ 1 คน)
2) วิเคราะห์ประเภทอาชีพ เพื่อฝึกอบรมและกำหนดสถานที่ศึกษาดูงาน โดยพิจารณาว่าเป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้จริง    
3) ประสานขอรับการสนับสนุนจากวิทยากรสัมมาชีพชุมชนที่จังหวัดได้จัดกลุ่มประเภทอาชีพไว้ และในการศึกษาดูงานให้เน้นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ หรือศูนย์เรียนรู้ชุมชน หรือบ้านปราชญ์ชุมชนในอำเภอเดียวกัน        
4) จัดซื้อวัสดุฝึกอาชีพเพื่อดำเนินการสนับสนุนการฝึกอาชีพ ให้ครัวเรือนเป้าหมายนำไปฝึกอาชีพได้จริง ก่อนเริ่มดำเนินการฝึกอบรม
5) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ติดตามเยี่ยมเยียนครัวเรือนสัมมาชีพ (1 : 5 ครัวเรือน)
6) ดำเนินการสนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน โดยใช้หลักการ 4 ก (กรรมการ/กติกา/กองทุน/กิจกรรม)
7) สนับสนุนกลุ่มอาชีพในการสร้างผลิตภัณฑ์เข้าสู่ระบบ OTOP โดยการลงทะเบียน OTOP  ในนาม  “กลุ่มอาชีพบ้านดงขมิ้น” หมู่ที่ 4 ตำบลพันลาน อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

3. บทสรุป
กลุ่มอาชีพบ้านดงขมิ้น เกิดจากการรวมกลุ่มของครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน จำนวน 20 ครัวเรือน ที่ได้รับการฝึกอาชีพ การทำเปลเกลียวจากผ้าหนังและเศษผ้า ทำให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยมีการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามงานต่าง ๆ และวางจำหน่ายร้านค้าริมทาง สายนครสวรรค์-ชุมแสง   ซึ่งความสำเร็จเกิดจากการสนับสนุน/ส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน โดยวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ทำให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนมีรายได้อย่างยั่งยืน

 เจ้าของความรู้  :  นางชนัษฎา  เกิดปาน
    ตำแหน่ง :   นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ  
    สถานที่ติดต่อ/สังกัด  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชุมแสง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น