1. ส่วนนำ
รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ โดยการสร้างโอกาสอาชีพและรายได้มีการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพทักษะฝีมือให้มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผู้ประกอบการOTOP
ที่ปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไม่ทั่วถึงและไม่ถาวร ซึ่งแนวทางช่วยเหลือดังกล่าวก่อเกิดเป็น “ตลาดนัดชุมชนไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้” และกรมพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการให้เกิดรูปธรรมชัดเจน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1) เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประกอบอาชีพทางการเกษตรและผู้ประกอบอาชีพกลุ่มOTOPได้มีสถานที่จำหน่ายสินค้าที่แน่นอนและมีระยะเวลาที่ต่อเนื่อง สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่เป็นธรรม
2) เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนที่ประกอบอาชีพทางการเกษตรและผู้ประกอบอาชีพกลุ่มOTOP และกระจายรายได้สู่ประชาชนโดยตรง และ
3) เพื่อให้ประชาชนได้ซื้อสินค้าราคาถูก มีความเหมาะสมกับสภาพการใช้งานในชุมชนและสามารถลดรายได้ของครัวเรือน
2. ส่วนขยาย
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงาน
“ตลาดนัดชุมชน ไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้” มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2558 โดยในระยะแรกได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชน และได้จัดเป็นประจำในวันประชุมกำนัน – ผู้ใหญ่บ้านโดยเครือข่าย OTOP อำเภอชุมแสง ร่วมกับหน่วยงานภาคีต่างๆเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพการเกษตรและผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP ให้มีการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าอีกช่องทางหนึ่ง ซื้อขายกันเองง่ายๆแบบพี่น้องจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคโดยตรง สินค้าชุมชนและสินค้าอุปโภคบริโภคราคาถูกกว่าท้องตลาดที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคได้มาพบกันโดยตรง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ผลการดำเนินงานได้รับการตอบรับอย่างดีทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค แม้ในระยะหลังจะไม่มีงบประมาณจากหน่วยงานราชการให้การสนับสนุนแต่เครือข่ายหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) อำเภอชุมแสง ได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานตลาดนัดชุมชนไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่าในวันประชุมกำนัน – ผู้ใหญ่บ้านของอำเภอชุมแสง จะต้องมีการจัดตลาดนัดชุมชน มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ผลผลิตทางการเกษตร
3. บทสรุป
จากผลการดำเนินงานเป็นระยะเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าตลาดนัดชุมชนสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ เป็นการใช้ทรัพยากรของท้องถิ่นโดยตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งการดำเนินงานนี้จะประสบผลสำเร็จไม่ได้ถ้าผู้บริหารระดับอำเภอ เครือข่าย OTOP ภาคีการพัฒนาและเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนให้ความใส่ใจ เห็นถึงประโยชน์ของการจัดตลาดนัด นอกจากนี้กลุ่มสัมมาชีพชุมชนที่กรมการพัฒนาชุมชนให้การสนับสนุนก็ได้นำสินค้าที่กลุ่มผลิตมาจำหน่ายในตลาดนัดชุมชนได้อีกด้วย
ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานตามแนวทาง ดังนี้
1. ประชุมสร้างความเข้าใจ รับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มองค์กร/ภาคีเครือข่าย
2. สำรวจข้อมูลผู้จำหน่าย และ ความต้องการของผู้บริโภค
3. ประชุมคณะทำงานเพื่อร่วมกำหนดแผนปฏิบัติงาน แบ่งภาระหน้าที่ และร่วมหารือการสร้างกติการ่วมกัน
4. นำข้อสรุปจากที่ประชุมเสนอผู้บริหาร
5. นำเรื่องเข้าที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการและและผู้นำชุมชน
6. ประชาสัมพันธ์เผยแพร่การดำเนินงานแก่ผู้สนใจทั่วไป
7. ดำเนินการเปิดตลาดนัดอย่างเป็นทางการ ติดตามประเมินผล ปรับปรุงแนวทางการทำงานให้มีความเหมาะสม
8. นำผลการดำเนินงานในครั้งแรกมากำหนดระเบียบข้อบังคับเพิ่มเติม และกิจกรรมส่งเสริมการขายประโยชน์ที่ชุมชนได้รับมีแหล่งจำหน่ายสินค้าและแหล่งเรียนรู้ด้านการตลาดของสมาชิกในชุมชน ต่อไป
เจ้าของความรู้ นางนิตติยา ทองยิ้ม
ตำแหน่ง/สังกัด นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สถานที่ติดต่อ/สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
หมายเลขโทรศัพท์ 081-2814198
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น