วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

KM : SE กบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดย นางสาววารินทร์ อยู่สบาย


ชื่อความรู้        SE กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์      
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ SE
สถานที่เกิดเหตุการณ์  บ้านประชาสรรค์ หมู่ที่  9 ตำบลหนองพิกุล  อำเภอตากฟ้า  จังหวัดนครสวรรค์
ส่วนนำ 
                    บ้านประชาสรรค์  หมู่ที่ 9  ตำบลหนองพิกุล อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการอบรมตามโครงการสัมมาชีพหมู่บ้านโดยมีการนำปราชญ์ไปอบรมที่จังหวัดนครนายก เพื่อฝึกเป็นวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน โดยได้นำความรู้มีถ่ายทอดในการฝึกอบรมโดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการฝึกอาชีพการทำมะนาวแปรรูป เนื่องจากในหมู่บ้านตำบลมีการปลูกมะนาวจำนวนมาก ราคาในท้องตลาดมาราคาถูกลงทำให้ขายมะนาวไม่ได้ราคา จึงได้จัดเวทีประชาคม 20  ครัวเรือน เพื่อหาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ในชุมชน
แต่เนื่องจากผลิตภัณฑ์มะนาวแปรรูปที่ทำขึ้นในชุมชนยังเป็นเพียงอาชีพที่รวมกันทำในช่วงเวลาที่ว่างงานจากการทำไร่ และทุนในการนำมาหมุนเวียนก็ได้จากสมาชิกที่ระดมทุนกันเป็นบางส่วนเท่านั้น จึงทำให้ไม่มีทุนในการทำต่อถึงแม้ว่าปริมาณความต้องการซื้อที่เพิ่มมากขึ้น แต่สมาชิกกลุ่มกลับไม่ค่อยมารวมกลุ่มกันทำมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ยังคงอยู่ จากการเข้าไปติดตามโครงการสัมมาชีพในหมู่บ้านจึงได้ไปสอบถามข้อมูลจึงพบว่า สมาชิกไม่มีทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน ไม่มีวัสดุอุปกรณ์ในการผลิต ไม่มีบรรจุภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน                    
 ส่วนขยาย
                    1.   ให้ความรู้ด้านการจัดตั้งกลุ่มอาชีพให้มีคณะกรรมการในการบริหารกลุ่ม\
                   2.   ความสามัคคีในชุมชน
                   3.   เป็นการใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกขั้นตอน
                   4.   มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมายิ่งขึ้น  
                    5.   มีการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง 
บันทึกขุมความรู้
                   1.  กิจกรรมพัฒนาชุมชนมีทั้งที่เกิดจากปัญหาความต้องการของชุมชน และนโยบายภาครัฐ
                   2.  กิจกรรมพัฒนาจะประสบความสำเร็จหากมีการประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่หรือชุมชน
                   3.  การวางแผนเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาในทุกระดับ
                   4.  หมู่บ้านที่มีสมาชิก เข้มแข็ง  รู้รัก สามัคคี   การพัฒนาต่างๆ จะเกิดสัมฤทธิผลได้มากกว่าหมู่บ้านที่สมาชิกมีความขัดแย้ง                 
 แก่นความรู้
                   1. ชาวบ้านจะเกิดการยอมรับ  หากมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกิจกรรม
                   2. ชาวบ้านจะเห็นความสำคัญหากกิจกรรมนั้นส่งผลประโยชน์ให้กับตนเองอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม
                   3. การทำกิจกรรมร่วมกัน  ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน   สร้างความเข้าใจ และความสามัคคีในชุมชน
กฎระเบียบ/แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
                   1.   กระบวนการมีส่วนร่วม
                   2.  ทฤษฏีภาวะผู้นำ
                   3.  ทฤษฏีการติดต่อสื่อสาร
                    4.  เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

เจ้าขององค์ความรู้        นางสาววารินทร์  อยู่สบาย
ตำแหน่ง          เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนชำนาญงาน
สังกัด             สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น