1. ส่วนนำ กรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวมาขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใน
ชนบทมีวิถีชีวิตบนความพอ ประมาณ ดำเนินชีวิตบนพื้นฐานความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งภายใน และภายนอก โดยการใช้ความรู้อย่างมีเหตุผลคู่กับคุณธรรมเป็นเงื่อนไขในการดำเนินชีวิต โดยดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
2. ส่วนขยาย บ้านบางฉ่า หมู่ที่ ๕ ตำบลโกรกพระ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
ได้รับงบประมาณดำเนินการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ซึ่งต้องมีการประเมินความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน มีการค้นหาความเป็นอยู่ของชุมชนด้วยตัวชี้วัด ๖ x ๒ การประเมินความเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วมตามเกณฑ์ชี้วัด ๔ ด้าน ๒๓ ตัวชี้วัด และวัดความสุขมวลรวมของชุมชน (Gross Village Happiness) โดยมีองค์ประกอบตัวชี้วัด ๖ องค์ประกอบ ๒๒ ตัวชี้วัด
ครัวเรือนที่เข้าร่วมเวทีประเมินความสุขมวลรวม คือ ครัวเรือนต้นแบบจำนวน ๓๐ ครัวเรือน เป็นการประเมินความสุขโดยนำเอาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก รูปแบบการประเมินความสุขมวลรวม ของหมู่บ้าน เริ่มแรกวิทยากรกระบวนการสลับหมุนเวียนเล่าประสบการณ์/ความสุขภายในครัวเรือนของแต่ละคนให้ครัวเรือนผู้เข้ารับการประเมินได้เป็นข้อคิด/ตัวอย่าง สร้างความรู้ ความเข้าใจในองค์ประกอบของแต่ละตัวชี้วัด ให้เวทีประชาคมร่วมกันกำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัดใช้วัดในแต่ละตัวชี้วัด จำนวน ๒๒ ตัวชี้วัด และค่าคะแนนที่ใช้วัดความ สุข จากนั้นให้ที่ประชุมร่วมกันกำหนดรูปแบบในการประเมินความสุขมวลรวม (การประเมินแบบรายบุคคล และหาค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวม ประเมินโดยใช้มติที่ประชุมยกมือให้คะแนนความสุข และหาค่าเฉลี่ยมวลรวมในแต่ละตัว ชี้วัด ประเมินโดยใช้มติที่ประชุมกำหนดค่าคะแนนรวมของแต่ละตัวชี้วัด)
3. ส่วนสรุป การประเมินความสุขมวลรวม ทำให้เรารู้ว่าในหมู่บ้านนั้นมีความสุขในแต่ละเรื่องมากน้อยแค่ไหน คะแนนที่ได้นำมาเปรียบเทียบว่า หมู่บ้านนั้นเป็นหมู่บ้าน อยู่ร้อนนอนทุกข์ อยู่เย็น เป็นสุข หรืออยู่ดี กินดี แล้วแจ้งให้ประชาชนทราบว่าหมู่บ้านเขาจัดอยู่ในระดับใด ปัญหาข้อไหนที่มีคะแนนน้อยก็นำมาเข้าเวทีหาทางแก้ไข ทำ แล้วนำเข้าแผนชุมชน ขับเคลื่อนการดำเนินการแก้ไขต่อไป
4. ที่อยู่/เบอร์โทร 0-5629-1252
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
กระบวนการวัดความสุขมวลรวมบ้านบางฉ่า มีองค์ประกอบที่สาคัญ ดังนี้
๑. คัดเลือกตัวแทนครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน ๓๐ คน
๒. วิทยากรกระบวนการ (พัฒนากรประจำตำบล/ทีมงาน/ภาคีการพัฒนา) ร่วมกันทำความ
เข้าใจในการประเมินความสุขมวลรวม
๓. กำหนดบทบาทหน้าที่ของวิทยากรกระบวนการของแต่ละคน
๔. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และดำเนินการวัดความสุขมวลรวมตามตัวชี้วัด และเปรียบเทียบ
สภาพความอยู่เย็นเป็นสุข
๕. เวทีร่วมกันวิเคราะห์ องค์ประกอบที่มีค่าคะแนนต่ำ เพื่อวางแผนในการพัฒนาหมู่บ้านให้ดีขึ้น
ต่อไป
๖. การบริหารจัดการ โดยยึดหลักมีส่วนร่วมของประชาชน ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วม
รับผิดชอบ ร่วมรับประโยชน์ และ ร่วมติดตามผล
แก่นความรู้ (Core Competency)
๑. ประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการประเมินความสุขมวลรวม
๒. การมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมเวทีประเมินความสุข ในการกำหนดเกณฑ์ที่ใช้วัด ในแต่ละ
องค์ประกอบ
๓. เวทีประชาคมใช้รูปแบบเวทีประชาธิปไตย เคารพซึ่งกันและกัน มีสิทธิออกเสียงเท่าเทียมกันใน
การแสดงออก และให้ค่าคะแนนของการประมวลความสุข
๔. การวัดความสุขมวลรวมของชุมชนจะเกิดประโยชน์ต่อมาก หากชุมชนได้ร่วมกันวิเคราะห์องค์ประกอบที่มีค่าคะแนนต่ำ หรือมีค่าคะแนนลดลงเพื่อวางแผนแก้ไข
ข้อพึงระมัดระวังในการประเมินความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน ต้องปราศจากการชี้นำ ต้องให้
ผู้เข้าร่วมเวทีแสดงออกทางความคิดได้อย่างอิสระ
กลยุทธในการทำงาน
๑. สร้างความสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย และมีบรรยากาศแบบสบาย ๆ แบบมีส่วนร่วม
๒. การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์กระตุ้นความคิดให้กับชุมชน
๓. ใช้หลักประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม
๔. มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
๑. แนวคิดการ “สร้างพลังชุมชน ใช้พลังชุมชน ในการพัฒนาชุมชน
๒. ตัวชี้วัดความ “อยู่เย็น เป็นสุข” ของชุมชน หรือความสุขมวลรวมชุมชน (Gross Village Happiness) ของกรมการพัฒนาชุมชน
เจ้าของความรู้ นางอรัญญา คำไพเราะ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ การจัดทำความสุขมวลรวมในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น