ผู้นำและชาวบ้านยังไม่ค่อยเข้าใจในการดำเนินการ ว่าจะเป็นไปในแนวทางอย่างไร ทำให้ผู้นำชุมชน ประชาชน และพัฒนากรผู้รับผิดชอบตำบล ร่วมกันสร้างกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนเกี่ยวกับข้อมูลที่มีอยู่ในชุมชน รู้จักการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาหมู่บ้าน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ภาคีเครือข่ายการพัฒนาทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน ได้เห็นคุณค่า และประโยชน์ของข้อมูล
๒. กระบวนการ / วิธีการ
แนวทางและวิธีการ
หมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต มีเจตนารมณ์สำคัญที่จะส่งเสริมให้ชุมชน นำข้อมูลที่มีอยู่ในหมู่บ้านมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน อย่างกว้างขวาง สามารถจัดทำข้อมูลสารสนเทศชุมชนแบบบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วน ดังนั้น ทุกกระบวนการในหมู่บ้านจะต้องให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยดำเนินการดังนี้
๑. ประชุมประชาคมคัดเลือกคณะทำงาน
๒. สร้างความเข้าใจร่วมกัน หมู่บ้านมีข้อมูลอะไรบ้าง เช่น ข้อมูล จปฐ. ข้อมูล กชช.๒ ค ทุนในชุมชน แผนงาน โครงการ ข้อมูลที่บอกให้ทราบถึง สภาพหมู่บ้าน คุณภาพชีวิต สภาพปัญหาต่างๆ สถานะทางเศรษฐกิจ ระดับการพัฒนาหมู่บ้าน
๓. กำหนดความต้องการร่วมกัน หมู่บ้านร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ของหมู่บ้าน วิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศของคนในหมู่บ้าน และออกแบบระบบสารสนเทศของหมู่บ้าน
๔. ร่วมกันจัดทำสารสนเทศ รวบรวมข้อมูลที่มีในหมู่บ้าน จัดประเภทข้อมูล เลือกรูปแบบสารสนเทศที่หมู่บ้านต้องการจัดทำ (เอกสาร บอร์ด แผนภาพ ฯลฯ) แล้วนำสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ โดยการประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชน หน่วยงานและองค์กรในชุมชนและนอกชุมชน ได้เข้ามาใช้ข้อมูลภายในหมู่บ้าน และมีผู้รับผิดชอบดำเนินการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางการสื่อสารทางหอกระจายข่าวหมู่บ้านให้ได้รับข้อมูลข่าวสาร
ข้อพึงระวังในการดำเนินงาน การดำเนินงานหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มากที่สุดเพราะถ้าไม่ได้รับความร่วมมือ ความมีส่วนร่วมจากคนในชุมชนแล้ว เราจะไม่สามารถดำเนินการให้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีได้
3. ส่วนสรุป
จากการจัดทำข้อมูลสารสนเทศของหมู่บ้าน และได้เผยแพร่ข้อมูลประชาสัมพันธ์ส่งผลให้ครัวเรือนและคนในชุมชนได้รับประโยชน์ เช่น คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ข้อมูลจากแผนพัฒนาหมู่บ้าน ขับเคลื่อนเป็นกิจกรรม/โครงการต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรมประเพณีของชุมชน ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้ข้อมูลของหมู่บ้านเกิดการรับรู้ในวงกว้าง ชุมชนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายในการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินในด้านการจัดการทุนชุมชน
4. ที่อยู่ / เบอร์โทรศัพท์
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอลาดยาว ชั้น 3 ที่ว่าการอำเภอลาดยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 60150 โทร. 056-271002
ชื่อความรู้ การดำเนินงานหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบ
เจ้าของความรู้ นางสาวนลินี คงมั่น
สังกัด นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอลาดยาว
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ การดำเนินงานหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบบ้านน้ำผึ้ง
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2559
สถานที่เกิดเหตุการณ์ บ้านน้ำผึ้ง หมู่ที่ 11 ตำบลเนินขี้เหล็ก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
เจ้าของความรู้ นางสาวนลินี คงมั่น
สังกัด นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอลาดยาว
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ การดำเนินงานหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบบ้านน้ำผึ้ง
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2559
สถานที่เกิดเหตุการณ์ บ้านน้ำผึ้ง หมู่ที่ 11 ตำบลเนินขี้เหล็ก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น