บ้านหัวโปร่ง หมู่ที่ 6 ตำบลนากลาง อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ในยุคนั้นการคมนาคมไม่สะดวกสบาย ห่างไกลความเจริญและไกลจากอำเภอมาก ชุมชนอยู่กันแบบพอเพียงจริงๆไม่มีสิ่งอำนวย
ความสะดวกใดๆ อาศัยพึ่งพาตนเองเป็นหลัก และต่อมาเกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงภายในหมู่บ้านขึ้นเรื่อยๆ กับชุมชน ถนนหนทาง การคมนาคม สะดวกขึ้น มีถนนคอนกรีต มีไฟฟ้า มีร้านรวงเกิดขึ้นมากมาย วิถีชีวิตของคนในชุมชนเริ่มเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมกับชุมชนอย่างรุนแรง บ้านหัวโปร่ง หมู่ที่ 6 ตำบลนากลาง ก็เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่โดนผลกระทบนี้เช่นกันแต่ บ้านหัวโปร่ง เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของอำเภอโกรกพระ ได้ผ่านการฝึกอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ทำแผนชีวิต และทำบัญชีครัวเรือนโดยเริ่มจากครัวเรือนเป้าหมาย ๓๐ ครัวเรือนและขยายเป็น ๖๐ ครัวเรือนในที่สุด และสิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้คนในชุมชนรู้ทันอนาคตเพื่อจะปรับตัวให้ทันความเจริญที่ถาโถมเข้ามา คือ การจัดทำบัญชีครัวเรือน ซึ่งหมายถึงการบันทึกรายการและจำนวนเงินส่วนที่เป็นรายรับและรายการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในครัวเรือน เป็นประจำทุกวันที่มีการรับและจ่าย พร้อมทั้งสรุปผลเพื่อเป็นสถิติเปรียบเทียบ เพื่อใช้ในการพิจารณาถึงงบดุลของครัวเรือน การใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยไม่จำเป็นและเป็นอันตรายต่อครอบครัว เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผน กำหนดแนวทางการใช้จ่ายของครอบครัวอย่างพอประมาณและสามารถนำข้อมูลของทุกครัวเรือนมาสรุปเป็นภาพรวมของหมู่บ้านในการจัดทำแผนชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครัวเรือนในหมู่บ้านมีกิจกรรมเพื่อลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้ หลังจากทำบัญชีครัวเรือนแล้วผล ที่เกิดขึ้นกับบ้านหัวโปร่ง ได้แก่
๑. การกำหนดแนวทางการใช้จ่ายลดค่าอบายมุขลงอย่างได้ผล
๒. ครอบครัวมีการดัดแปลงการผลิตของกิน ของใช้ ใช้ทดแทนเพื่อลดรายจ่าย
๓. ครอบครัวอบอุ่นได้ร่วมกันคิดและเขียนบัญชี
๔. ครอบครัวได้ศึกษาความรู้ด้วยกัน
๕. ชุมชนเกิดมีการออมหลายรูปแบบ
เมื่อชุมชนรู้ว่าเรื่องใดควรแก้ไข เรื่องใดควรรักษาไว้ก็จะปรับปรุงแผนชุมชนเพื่อการพัฒนาและแก้ปัญหาของชุมชนได้ด้วยสาเหตุและแนวทางแก้ไขร่วมกัน จึงทำให้ชุมชนสามารถอยู่กันอย่างมีความสุขและปรับตัวเข้าทันกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่กำลังเจออยู่ในปัจจุบัน บันทึกขุมความรู้ -การปฏิบัติตามขั้นตอนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ -การส่งเสริมการทำบัญชีครัวเรือนและหมั่นตรวจให้กำลังใจครัวเรือน -การประเมินผู้เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิในหมู่บ้าน -ชี้แจงสาเหตุ สร้างความเข้าใจ ความถูกต้องและประโยชน์ของชุมชน -สร้างความพอใจให้ทุกฝ่าย -กรรมการสามารถบริหารงานได้อย่ามีประสิทธิภาพ
แก่นความรู้ -ศึกษาปัญหา หาข้อมูล -ปรึกษาหารือ -ศึกษา ทำความเข้าใจกับวิธีการ วัตถุประสงค์การทำบัญชีครัวเรือน -สร้างความพึงพอใจของทุกฝ่าย
เจ้าของความรู้ นางสาวรัชดาวรรณ หิรัญยวง
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนชำนาญงาน
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น