วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

KM : กระบวนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง "พออยู่ พอกิน" โดย วิมลรัตน์ ศรีผง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัส ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทาง
การดำรงชีวิตและการปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับประเทศ มุ่งให้เกิดความสมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งทางวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว พอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ ความระมัดระวัง ความซื่อสัตย์สุจริตและดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ มีปัญญาและความรอบคอบ
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Assets)
เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีความพอเพียงกันตัวเอง(Self Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น ซึ่งต้องสร้างพื้นฐาน ทางเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อน มีความพอกินพอใช้สามารถพึ่งตนเองได้ ย่อมสามารถ สร้างความเจริญก้าวหน้าและฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศได้ โดยดำเนินการในลักษณะของการส่งเสริมและสนับสนุนให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้เกณฑ์ชี้วัด 6 ด้าน ประกอบด้วย การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การออม การดำรงชีวิต การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเอื้ออาทร
ในปี พ.ศ. 2559 ได้มีการคัดสรรหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” และกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด ซึ่งอำเภอได้คัดเลือกให้บ้านเนินสำราญ หมู่ที่ 8 ตำบลวังมหากร อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ เป็นหมู่บ้านที่เข้าร่วมการพิจารณาคัดสรร โดยศึกษาหาความรู้ในเรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาจากระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ประเภทชุมชน ทั้ง 3 ด้าน 3 องค์ประกอบ 9 ตัวบ่งชี้
แก่นความรู้ ( Core Competency )
มีการกำหนดเป้าหมายในการทำงาน เพื่อการพัฒนาหมู่บ้านนำสู่ความสุขมวลรวมของชุมชน โดยใช้หลักการพัฒนาชุมนและกระบวนการพัฒนา 6 ขั้นตอน ดังนี้
1. การศึกษาวิเคราะห์ชุมชน เพื่อประเมินศักยภาพหมู่บ้านชุมชนโดยการวิเคราะห์ปัญหาและทุนทางสังคม รวมทั้งการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อชุมชน
2. กำหนดเป้าหมายหรือทิศทางการพัฒนาของหมู่บ้านชุมชน และวางแผนการพัฒนาร่วมกับคนในชุมชน
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ด้วยการจัดกิจกรรมเช่น สาธิตการสานตะกร้าเชือกมัดฟาง การทำน้ำยาเอนกประสงค์ การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น
4. ดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้
5. การจัดระบบสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาของกลุ่มองค์กรชุมชนหรือเครือข่ายองค์กรชุมชนตามแผนงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมาย
6. การติดตาม/ประเมินผลเพื่อทราบความก้าวหน้า ทบทวนผลการดำเนินงานที่ชุมชนดำเนินการว่ามีกิจกรรมใดที่ทำเพื่อตอบสนองความต้องการ มีการจัดเก็บข้อมูล บันทึกข้อมูลจากการติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อใช้เปรียบเทียบและประเมินผลรวมทั้งการสรุปบทเรียน(AAR) และการสรุปเป็นชุดองค์ความรู้เชิงประสบการณ์
กลยุทธ์ในการทำงาน
๑. ยึดหลักการพัฒนาชุมชน และกระบวนการพัฒนาชุมชนในการปฏิบัติงาน และศึกษาหาความรู้ด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมในหมู่บ้าน
         ๒. สร้างความรู้ ความเข้าใจการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนในหมู่บ้านได้เข้าใจเพื่อให้ครอบครัวที่มีความพร้อมสมัครใจเข้าสู่การเรียนรู้ สามารถพัฒนาตนเองและเป็นแบบอย่างที่ดีได้
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาทุกขั้นตอน
ชื่อ – สกุล นางสาววิมลรัตน์  ศรีผง
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะโก  จังหวัดนครสวรรค์
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก   081 - 2849238
ชื่อเรื่อง กระบวนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “พออยู่  พอกิน”
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ  การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ   ปี 2559
สถานที่เกิดเหตุ บ้านเนินสำราญ หมู่ที่ 8 ตำบลวังมหากร อำเภอท่าตะโก  จังหวัดนครสวรรค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น