วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

KM : กาารพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดย ประภา หลวงกิจจา

      สถานการณ์ปัญหา กรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดกิจกรรมยุทธศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๖ โดยมีเป้าหมาย “ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง”  โดยโครงการขยายผลหมู่บ้านพัฒนา
ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้หมู่บ้านมีระบบบริหารจัดการชุมชนโดยใช้ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาหมู่บ้าน  มีแนวทางการดำเนินงานและกิจกรรม ตามเกณฑ์ประเมินผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงมหาดไทย
โดยหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบ คือ หมู่ที่ ๒ ตำบลหูกวาง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ นั้น   ซึ่งหมู่บ้านนี้โดยส่วนใหญ่แล้วประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา  ทำให้เมื่อพ้นจากฤดูทำนาจะเกิดภาวะว่างงาน ขาดรายได้
วิธีการ/กระบวนการ/เทคนิค/กลเม็ดเคล็ดลับ
๑) ยึดหลักกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
๒) ใช้กลุ่มองค์กรในชุมชนเป็นแกนนำในการขับเคลื่อน
๓) นำความคิดเห็นภายในชุมชนมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา
๔) ติดตามสอบถามการดำเนินงานต่างๆ ภายในชุมชนด้วยตนเอง ไม่ใช้วิธีโทรศัพท์ในการสอบถามหรือชี้แจงรายละเอียดต่างๆ
๕) เน้นการปฏิบัติร่วมร่วมกับชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ
ชาวบ้านในชุมชนมีรายได้จากการประกอบอาชีพเสริม และค่าใช้จ่ายในครัวเรือนลดลงจากการปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคเอง ทำให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (ขุมความรู้/แก่นความรู้)
ขุมความรู้
๑) กระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
๒) การจัดเวทีประชาคม
๓) แผนและเป้าหมายในการดำเนินงาน
๔) การติดตามอย่างสม่ำเสมอ
๕) องค์ความรู้ของเจ้าหน้าที่
แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรอบแนวคิดในการขับเคลื่อน ของกรมฯ และของจังหวัด หลักการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา  เทคนิคการกระตุ้นความคิด เริ่มต้นด้วยตัวชี้วัด 6X2   การประสานงาน  
ชื่อ-สกุล           นางประภา    หลวงกิจจา                                                              
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบรรพตพิสัย   จังหวัดนครสวรรค์
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ที่อยู่ที่ติดต่อได้  497/1  หมู่ ๗  ตำบลเจริญผล  อำเภอบรรพตพิสัย   จังหวัดนครสวรรค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น